WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

10510 NXPO

สอวช. ชี้แนวทางสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย มุ่งพัฒนาระบบนิเวศ การเข้าถึงเทคโนโลยี ปลดล็อกกฎระเบียบ หนุนสตาร์ทอัพในประเทศประกอบธุรกิจได้ง่ายและเติบโตต่อเนื่อง

          ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เข้าร่วมรับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนระบบนิเวศธุรกิจฐานวิจัยนวัตกรรมของประเทศไทย (Thailand Deep Tech Startup Ecosystem) และร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ “Opportunities and Ecosystem of Thailand Deep Tech Landscape” ในงาน Chula Deep Tech Demo Day 2023 จัดโดย ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องเพลนารี ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

          ดร.กิติพงค์ กล่าวถึงบทบาทของ สอวช. ในการสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprises: IDEs) โดยได้ตั้งเป้าเพิ่มจำนวน IDE ที่มีรายได้เฉลี่ย 1,000 ล้านบาท จำนวน 1,000 ราย ภายใน 5 ปี เป็นหนึ่งในแนวทางขับเคลื่อนประเทศไทยให้ออกจากการเป็นประเทศกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งผู้ประกอบการในกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep tech) ถือเป็นหนึ่งในกลุ่ม IDE เช่นกัน 

          สำหรับประเทศไทยมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในหลายสาขาอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและวัตถุดิบจากพืช เรามีแนวทางในการเปลี่ยนรูปแบบจากการทำการเกษตรแบบเดิมมาเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าสูง ซึ่งสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงจะต้องอาศัยนวัตกรรมเข้าไปช่วย นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบอัตโนมัติ (autonomous) การเปลี่ยนรูปแบบของยานพาหนะในประเทศ รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชกรรม (biopharmaceutical) ที่สตาร์ทอัพในประเทศไทยมีความสามารถทำได้เอง ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (The Board of Investment of Thailand: BOI) ก็ได้มีแนวทางสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในไทยเพื่อสร้างโอกาสให้กับสตาร์ทอัพในประเทศด้วย

          ดร.กิติพงค์ ยังได้กล่าวถึงการดำเนินการที่ผ่านมา สอวช. ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับสตาร์ทอัพ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยี การทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย และพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้กลุ่มสตาร์ทอัพได้เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในปีที่ผ่านมายังได้มีแนวทางปรับการสนับสนุนหลายส่วน เช่น การปรับวิธีการให้ทุนที่ลงไปถึงการพัฒนานวัตกรรมและออกไปสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง และสิ่งสำคัญคือการผลักดันให้กลุ่มสตาร์ทอัพเติบโตและประกอบธุรกิจได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ผ่านการปลดล็อกข้อจำกัดและกฎระเบียบต่างๆ โดยในอนาคตไทยเรากำลังจะมี Startup Act ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับสตาร์ทอัพโดยตรง

          “เราต้องตั้งเป้าหมายในการพัฒนาสตาร์ทอัพ และต้องให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยนั้นการพัฒนาสตาร์ทอัพถือว่าสามารถแข่งขันได้เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ในแง่ของสิ่งอำนวยความสะดวก รัฐบาลไทยได้ลงทุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานหลายอย่าง เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ศูนย์บ่มเพาะด้านเทคโนโลยี จึงอยากให้สตาร์ทอัพได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้มากขึ้น และในการเฉลิมฉลองปีใหม่ 2024 ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยควรเฉลิมฉลองเป็นปีแห่งโอกาสของ deep tech startups ของไทยด้วย” ดร.กิติพงค์ กล่าว

 

 

A10510

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!