WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

1Aเลือกตั้งประกันสังคม

รมว.แรงงาน 'พิพัฒน์' ขอเชิญชวน นายจ้าง ผู้ประกันตน ‘ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม 12-31 ตุลาคม 2566 นี้’

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการดำเนินการจัดการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งกำหนดจัดการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น.

โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 และนายจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม โดยลูกจ้าง 1 คน และนายจ้าง 1 คน สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทนได้ฝ่ายละ 7 คน” พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์ตามคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ

ผู้ประกันตน ต้องมีสัญชาติไทย ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนเดือนที่มีการประกาศให้มีการเลือกตั้ง (มีนาคม – สิงหาคม 2566) จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ภายใน 6 เดือนก่อนเดือนที่ประกาศเลือกตั้ง)

นายจ้าง มีสัญชาติไทย ขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนเดือนที่มีประกาศให้มีการเลือกตั้ง (มีนาคม-สิงหาคม 2566) จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ภายใน 6 เดือนก่อนเดือนที่ประกาศเลือกตั้ง) กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลผู้จะใช้สิทธิต้องอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจ/กรณีเป็นผู้มีอำนาจในนิติบุคคลมากกว่า 1 นิติบุคคลต้องเลือกใช้สิทธิได้เพียงแห่งเดียว

“รมว.แรงงาน กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมจะเปิดให้นายจ้าง และผู้ประกันตนที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th  หรือที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/ จังหวัด/ สาขา ตั้งแต่วันที่ 12 – 31 ตุลาคม 2566 และจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ผมจึงขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนนายจ้าง ผู้ประกันตน ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566

ด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจัดการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม (ศอ.กต.นจ.ผปต.) กล่าวถึงพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ได้กำหนดให้คณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ฝ่ายละ 7 คน มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งมีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการเสนอความคิดเห็นเพื่อกำหนดนโยบายการบริหารงานของกองทุนประกันสังคม

และวางระเบียบการรับจ่ายเงินและจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนฯ ดังนั้น วิธีการได้มาซึ่งคณะกรรมการประกันสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อรักษาผลประโยชน์อันสูงสุดของลูกจ้างผู้ประกันตน และความมั่นคงของระบบประกันสังคมไทย เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นคณะกรรมการประกันสังคม ว่า

“จะต้องมีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันปิดสมัครรับเลือกตั้ง ส่งเงินสมทบติดต่อกันไม่น้อยกว่า 36 เดือน นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือเลิกจ้างจากหน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบกิจการของเอกชนเพราะทุจริตต่อหน้าที่ ไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีประโยชน์ได้เสียในกิจการที่เป็นคู่สัญญาหรือมีธุรกิจเกี่ยวข้องกับสำนักงานไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม ไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการ ที่ปรึกษาของพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองเว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะเปิดรับสมัครให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในวันที่ 25-31 ตุลาคม 2566 ณ ที่ตั้งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา และประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งและหมายเลขผู้สมัครในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566”

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวในตอนท้ายว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ที่จะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้นี้ ขอให้นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน เชื่อมั่นในการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมที่คำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดกลับคืนไปสู่ลูกจ้าง ผู้ประกันตนเป็นสำคัญ

ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

 

Click Donate Support Web  

gpf 720x100 66

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!