WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

1AEEC

อธิบดี กพร. ระดมหัวกะทิเร่งขับเคลื่อน EEC Model Type B พัฒนาแรงงานเขต EEC

กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดสัมมนาระดมสมอง เร่ง Upskill แรงงานกว่าสองแสนคนในเขต EEC เดินหน้าการฝึกภายใต้ EEC Model Type B ส่งเสริมการลงทุนหนุนผู้ประกอบการ 37,000 แห่ง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รับนโยบาย'พิพัฒน์' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นางสาวบุปฝา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้จัด'โครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานชั้นสูงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)' ขึ้น ณ โรงแรม กราฟ (บางกอกชฎา) กรุงเทพมหานคร เพื่อระดมความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ พร้อมกำหนดแผนการดำเนินงาน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การกำหนดหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะให้แก่กำลังแรงงานในพื้นที่ EEC โดยนำฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความต้องการจากสถานประกอบกิจการ

รวมถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญต่อการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

โดยเฉพาะการส่งเสริมากรลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ขานรับนโยบายของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เร่งดำเนินการ Upskill แรงงานในเขตพื้นที่ EEC ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งมีสถานประกอบกิจการกว่า 37,000 แห่ง และมีแรงงานกว่า 1,500,000 คน

นางสาวบุปฝา เรืองสุด กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมากมีการดำเนินการพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานในเขต EEC ภายใต้โครงการ EEC Model Type B โดยร่วมกับภาคเอกชนกำหนดหลักสูตรที่เหมาะสมกับการทำงานในพื้นที่ บูรณาการร่วมกันตั้งแต่เครื่องมือ เครื่องจักร บุคลากรหรือวิทยากร และงบประมาณ เน้นกลุ่มเป้าหมายแรงงานในสถานประกอบกิจการ แรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรม SME การพัฒนาทักษะแรงงานเหล่านี้ มีทั้ง Re-skill และ Up-skill เน้นหลักสูตรที่เป็นความต้องการของสถานประกอบกิจการเป็นหลัก

โดยกรมดำเนินการเองประมาณ 2,200 คน ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557 อีกประมาณ 2.9 แสนคน การจัดสัมมนาในครั้งนี้ จึงต้องการระดมสมองกำหนดแนวทางการพัฒนาทักษะให้แก่แรงงาน ที่สอดรับกับอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ และดิจิทัล เพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมเป้าหมายและขยายผลตามนโยบายของรัฐบาล

“ในปี 2566 กรมจัดฝึกอบรมให้แก่แรงงานในเขต EEC จำนวน 5,740 คนและส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการดำเนินการ 297,380 คน หลักสูตรที่ได้รับความสนใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ การควบคุมและบำรุงรักษาหุ่นยนต์ Yaskawa, การควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (FANUC) , ซอฟต์แวร์ Product Design & Manufacturing Collection (PDMC),

การประยุกต์ใช้งาน PLC Mitsubishi ด้วยโปรแกรม GX Works2 ระดับพื้นฐาน/ระดับสูง สำหรับผู้ที่สนใจเข้าฝึกอบรมสามารถสมัครได้ที่ www.dsd.go.th เมนู สมัครฝึกอบรม จะมีหลายหลักสูตรให้เลือก หรือโทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4” อธิบดีบุปผา กล่าว

 

Click Donate Support Web  

gpf 720x100 66

CKPower 720x100

MTL 720x100kbank 720x100 66

SME 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

TVI 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!