WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กลุ่มสายงานไอที แอนด์ เทเลคอม ฮอตต่อเนื่อง ขึ้นแท่นอับดับ 3 AEC เร่งนักไอทีรุ่นใหม่พัฒนาภาษา เชื่อเป็นเบอร์หนึ่งได้ ถ้าภาครัฐสนับสนุนจริงจัง

      ในอดีตคำว่า IT & Telecom คงไม่มีใครเถียงว่า น้อยคนนักที่จะเข้าถึง และเข้าใจ เพราะด้วยเทคโนโลยีที่มีค่อนข้างจำกัด จึงทำให้จับต้องได้ยาก และเป็นเรื่องที่ห่างไกลตัว แต่ในปัจจุบันคำว่าไอที แทรกซึมเข้ามาในชีวิตประจำวันของเรา จนเป็นที่ต้องการมากขึ้น เข้าถึงได้ ในทุกกลุ่ม ทุกชนชั้น ของประเทศไทย เราเข้าถึงข่าวสารกันได้ง่ายขึ้น เป็นยุคที่อินเตอร์เน็ตเข้าถึงทุกหัวระแหง แม้ว่าเศรษฐกิจหรือการเมืองจะคุ้มดีคุ้มร้าย แต่ดูเหมือนว่า IT & Telecom ไม่มีผลกระทบแม้แต่น้อย จนเรียกได้ว่า เราเข้าสู่'ยุคของไอที'อย่างเต็มตัวแล้วก็ว่าได้ ซึ่งสายงานที่ต้องจับตามองคงหนีไม่พ้นสายงานด้าน IT & Telecom เพราะยุคนี้เป็นยุคทองของอาชีพนี้อย่างไร้ข้อกังขา

   ผลสรุปจากการศึกษาหรือสำรวจของ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย จากนางสาวสุธิดา กาญจนกันติกุล, ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้ให้ความเห็น อย่างน่าสนใจว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากสถานการณ์บ้านเมืองจะไม่มีผลกระทบต่อสายงานด้าน IT & Telecom แล้ว ในทางกลับกันอัตราความต้องการ ยังคงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 และฐานเงินเดือนสูงถึงร้อยละ 20 - 40 เมื่อเทียบกับเงินเดือนระดับมาตรฐาน (15,000 บาท) เนื่องจากภาคธุรกิจองค์กรต่างๆ ต้องอาศัยความทันสมัยจากไอที กันแทบทุกสาขา เพราะสามารถช่วยลดขั้นตอนต่างๆ ในการทำงานและช่วยลดต้นทุน พร้อมทั้งทำให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นความต้องการด้านไอที จึงมีการขยับตัวสูงขึ้นในทุกวัน จากกระแสของความต้องการเทคโนโลยี ก้าวไปสู่จุดของภาพรวมของเทคโนโลยีทางด้านไอทีในปัจจุบัน มีการทำงานที่ง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อน อินเตอร์เน็ตแพร่หลาย นักพัฒนาด้านไอที ได้คิดค้นและปรับปรุง เพื่อให้ง่ายในการเข้าถึง และสามารถนำมาใช้ได้กับทุกส่วนงานและทุกธุรกิจ

    ประเภทของสายงานที่ต้องจับตามอง จนสามารถจัดอันดับ TOP5 ได้แก่ อันดับ 1 คือ ERP ซึ่งมีความสำคัญและมาแรงที่สุด เพราะสามารถนำมาปรับใช้ได้กับงานทุกชนิด โดย ERP เป็นการนำเอาระบบของแผนกต่างๆ มาทำงานร่วมกันส่งผลให้การทำงานขององค์กร มีความสอดคล้องกันทั้งระบบ อันดับ 2 คือInfrastructure and Network เป็นสายงานที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี โดยสังเกตจากความต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่มีเพิ่มขึ้น จึงต้องการบุคลากรเข้ามาเพื่อดูแล และแก้ไขปัญหาให้ได้ทันท่วงที อันดับ 3 คือ Application and Software โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับโทรศัพท์มือถือ เช่น แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงเกมส์ การขายสินค้าและการให้บริการต่างๆ เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญซึ่งทำให้ธุรกิจนี้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด

      ดังนั้น บุคคลที่เข้ามามีส่วนในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ จึงเป็นที่ต้องการในตลาด อันดับ 4 คือ Database Administrator and Developer เป็นสายงานที่สืบเนื่องจากอันดับ  3 เพราะเมื่อมีแอพพลิเคชั่นมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรเข้ามาจัดการข้อมูล พร้อมจัดเก็บระบบฐานข้อมูล เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาด อันดับ 5 คือ Project Management เป็นสายงานที่เป็นคนกลางในการการจัดการทรัพยากรต่างๆ ซึ่งจากการที่จะสร้างสรรค์ผลงานด้าน ITออกมาซักชิ้นหนึ่ง จะมีหลายส่วนงานที่จะต้องทำงานร่วมกัน โดยมี Project Manager เป็นผู้ที่คอยดูแลบริหารการทำงานส่วนต่างๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่น ตามแผนงานของบริษัทและสอดคล้องกับทิศทางที่ตั้งไว้

การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้สายงานด้าน IT & Telecom ของไทยมีการตื่นตัวมากขึ้น ซึ่งคาดว่าความต้องการแรงงานด้าน IT & Telecom ในประเทศไทย อาจมีการขยับตัวขึ้นเป็นร้อยละ 30 และน่าจะเป็นทั้งโอกาสที่ดีหากไทยสามารถดึงตัวเองขึ้นสู่การเป็น Hub ของ IT & Telecom ของ AEC ได้ โดยภายหลังจากการเปิดเสรี AEC คาดว่า ผลกระทบจากการเข้ามาของแรงงานด้าน IT & Telecomยังคงไม่น่าเป็นห่วงนัก เพราะเปอร์เซ็นต์ของการดึงเข้าและไหลออกของแรงงานด้านนี้อยู่ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งแรงงานที่ประเทศไทยจะดึงเข้ามานั้น คือผู้มีทักษะเฉพาะด้านและผู้มีความสามารถทางภาษา เช่น ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน เพราะเมื่อมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา การสื่อสารถือเป็นสิ่งสำคัญ และถือเป็นข้อด้อยของสายงาน IT & Telecom ของไทย

"จากการจัดอันดับสายงานด้าน IT & Telecom ของอาเซียน อันดับ 1 คือ สิงค์โปร์, อันดับ 2 คือมาเลเซีย และไทยตามมาเป็นอันดับ 3 ซึ่งแรงงานด้าน IT & Telecom ของไทย มีความเก่งและชำนาญงานด้านนี้มาก เป็นโชคดีที่การศึกษาทางด้าน IT ของประเทศไทยมีความหลากหลาย ทำให้บุคลากรของเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายส่วนงาน แต่แรงงานด้านนี้ของไทย มีข้อเสียเปรียบในเรื่องของภาษา กล่าวคือ สามารถสื่อสารได้ เข้าใจได้ แต่ไม่สามารถนำเสนอ ในเชิง Presentation ได้ดีเท่ากับสายงานอื่นๆ อีกทั้งยังขาดการรวมกลุ่มในการพัฒนาร่วมกันในมุมมองที่เป็นภาพรวมในระดับประเทศ ซึ่งเราเชื่อเหลือเกินว่า ประเทศไทยสามารถขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้ หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ และมีการรวมกลุ่มกันพัฒนาทางด้านไอทีกันอย่างต่อเนื่อง" สุธิดากล่าวสรุป

  *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   *   

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : บริษัท เจพี วัน คอนซัลแทนท์ จำกัด

นางสาวนันท์นภัส เลิศเจริญสกุล (ป๊อบ) 086 309 9831

นางสาวณิชา ใบวิวัฒนา (ทราย) 083 443 4064

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!