WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

4177 SookAsok

ภาคีเครือข่ายสุขอโศก (SOOK ASOK) จับมือกรุงเทพมหานคร ร่วมพัฒนาพื้นที่ย่านอโศก เนรมิต 4 สุข มุ่งสู่ย่านน่าอยู่

          ภาคีเครือข่ายสุขอโศก (SOOK ASOK) โดยความร่วมมือขององค์กรภาคการศึกษาและภาคธุรกิจย่านถนนอโศกมนตรี ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ กรุงเทพมหานคร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ย่านอโศกสู่การเป็นย่านน่าอยู่ และนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาคมชาวอโศก ผ่านการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ 4 สุข คือ สุขสัญจร สุขวิถี สุขสิ่งแวดล้อม และสุขกิจกรรม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

          โครงการสุขอโศก (SOOK ASOK) ริเริ่มจากการรวมตัวขององค์กรที่อยู่ในพื้นที่ย่านอโศก โดยมีภาคี ตั้งต้น คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน, บริษัท เฮอริเทจ เอสเตทส์ จำกัด, บริษัท ฟิโก้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน), บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) และสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่อโศกที่เป็นย่านธุรกิจสำคัญ (Financial District) ของกรุงเทพมหานคร 

          รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “รู้สึกยินดีที่ได้มาร่วมเป็นสักขีพยานการลงนาม MOU ของภาคีเครือข่ายสุขอโศก (SOOK ASOK) ในครั้งนี้ เพราะการพัฒนาพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งให้ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ที่จะมาดำเนินการร่วมกัน ไม่ใช่ด้วยเพียงการกำหนดของกฎหมาย แต่ด้วย Social Contract หรือความรู้สึกผูกพันอยากตอบแทนส่วนต่างๆ ของชุมชนที่ตัวเองอยู่ ยิ่งกว่านั้น เมื่อความร่วมมือดังกล่าวประกอบครบไปด้วยแรงจาก 4 ภาคส่วนสำคัญของสังคม คือภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน ตลอดจนภาคประชาสังคม เหมือนเชือกที่ฟั่นเข้าด้วยกัน อย่างที่เรียกว่านวัตกรรมเชือกสี่เกลียว (Quadruple Helix Innovation) ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมจะแข็งแรงเป็นรูปธรรมกว่าเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งจะทำได้ และโมเดลนี้ก็ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าประสบความสำเร็จในพื้นที่อื่นๆ ที่ กทม. ได้ทำงานร่วมกันกับเอกชนและประชาสังคม ไม่ว่า ถนนสีลม คลองโอ่งอ่าง สะพานเหล็ก หรือถนนสารสิน ด้วยเหตุนี้ ถนนอโศก ที่มี มศว เป็นสถาบันการศึกษาแกนหลักของชุมชนที่เข้มแข็ง และได้รับความร่วมมือจากองค์กรภาคธุรกิจหลากหลายที่มาร่วมลงนามในวันนี้ อีกทั้งมีภาคประชาสังคมที่มีประสบการณ์และความชำนาญเข้าร่วมดูแล ย่อมน่าจะเป็นอีกหนึ่งโครงการความสำเร็จ ที่ทุกคนจะได้ใช้ประโยชน์ ภาคภูมิใจ อีกทั้งเป็นตัวอย่างสำหรับการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน”

          ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะแกนนำกลุ่มภาคีเครือข่ายสุขอโศก (SOOK ASOK) รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งในภาคีเครือข่ายสุขอโศก และได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการสุขอโศก ซึ่งเป็นการริเริ่มรวมตัวของภาคเอกชนที่ตั้งใจจะทำให้ชุมชนอโศกมีความสุขผ่านการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่วางไว้ว่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคม และยังสอดคล้องกับหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของมหาวิทยาลัยที่ต้องการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมให้กับนิสิต บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่อยู่ในย่านอโศกผ่านการดำเนินโครงการอโศกโมเดล (ASOK MODEL)”

          ทั้งนี้ โครงการสุขอโศก (SOOK ASOK) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปลายปี 2565 โดยมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน ตลอดจนศึกษาเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อม สัมภาษณ์ และประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยการสำรวจความต้องการของประชาชนกลุ่มต่างๆ บนถนนโศกมนตรี อาทิ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้งานในพื้นที่ และผู้อยู่อาศัย จำนวน 555 คน พบว่าปัญหาที่ถูกพูดถึงมากที่สุดเรื่องที่หนึ่งคือความปลอดภัย ประกอบด้วย ทางเท้า ทางข้าม ไฟส่องสว่าง เรื่องที่สองคือ เรื่องกายภาพ เช่น คุณภาพของทางเดิน สิ่งอำนวยความสะดวกและความกว้าง และสุดท้ายคือเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพอากาศ เสียง ความสะอาดจากร้านค้า และขยะ จากผลสำรวจทำให้โครงการสุขอโศก (SOOK ASOK) ได้มาซึ่งแนวทางในการพัฒนาย่านอโศกโดยมุ่งเน้นยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในย่าน ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ 4 สุข ประกอบด้วย

          ● สุขสัญจร ปลดล็อคการสัญจรถนน (Through Traffic) ถนนวงแหวนสัญจรสะดวก ขนส่งสาธารณะเชื่อมสู่ย่านต่างๆ 

          ● สุขวิถี เชื่อมต่อการเดินเท้า (Pedestrian-Friendly) ทางเดินสะดวกตลอดทาง เดินเชื่อมย่านปลอดภัย เดินทะลุย่านสะดวกสบาย 

          ● สุขสิ่งแวดล้อม สร้างสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตสาธารณะ (Promote Public-Life) สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเดินในพื้นที่กึ่งสาธารณะที่มีคุณภาพดี ส่งเสริมย่านสีเขียว 

          ● สุขกิจกรรม กระจายกิจกรรมทั่วย่าน (Vibrant District) เปิดพื้นที่หน้าอาคาร ส่งเสริมกิจกรรมหมุนเวียนในย่าน 

          การลงนามความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในการสร้างความร่วมมือของประชาคมชาวอโศกจากทุกภาคส่วน และจะนำไปสู่การขยายเครือข่ายความร่วมมือต่อไปในอนาคต เพื่อร่วมกันพัฒนาย่านอโศกให้เป็นพื้นที่เมืองน่าอยู่ ตลอดจนเป็นย่านต้นแบบแห่งความสุขของชาวกรุงเทพฯ 

 

 

4177

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!