WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2566 (ครบ 3 ปี 6 เดือน)

1aaaD

 

ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2566 (ครบ 3 ปี 6 เดือน)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2566 (ครบ 3 ปี 6 เดือน) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (17 มิถุนายน 2545) ที่ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) จัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลักๆ ของรัฐบาล แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ] โดย สสช. ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทุกจังหวัดทั่วประเทศจำนวน 6,970 คน ระหว่างวันที่ 25 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2566 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

          1. สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน

 

ประเด็น

 

สรุปผลสำรวจ

(1) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลหรือผลงานของรัฐบาล

 

ประชาชนร้อยละ 87.6 มีการติดตาม/รับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล (โดยร้อยละ 75.2 ติดตามผ่านทางโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือติดตามผ่านสื่อสังคมออนไลน์ร้อยละ 60.6) ขณะที่ร้อยละ 12.4 ไม่ติดตาม/ไม่รับรู้ โดยระบุว่าไม่สนใจและไม่มีเวลาว่าง ทั้งนี้ ประชาชนในกลุ่มอายุ 18-39 ปี ติดตาม/รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด ขณะที่กลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป ติดตาม/รับรู้จากโทรทัศน์มากที่สุดเช่นเดียวกับผู้ที่มีการศึกษาสูงติดตาม/รับรู้ข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์มากกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่า

(2) ความพึงพอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาล

 

ประชาชนร้อยละ 41.1 มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 41.3 มีความพึงพอใจพอใจในระดับปานกลาง และร้อยละ 15.6 มีความพึงพอใจในระดับน้อย-น้อยที่สุด ส่วนร้อยละ 2.0 ไม่พึงพอใจเลย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่า ประชาชนในภาคใต้และชายแดนภาคใต้มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 60.7 และ 69.4 ตามลำดับ) ขณะที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่ต่ำกว่าภาคอื่น ผู้ที่มีอายุมากมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า และกลุ่มอาชีพเกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น

(3) ความพึงพอใจต่อโครงการ/มาตรการของรัฐบาล

 

ประชาชนมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) โครงการคนละครึ่ง (ร้อยละ 63.1) 2) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ร้อยละ 62.3) 3) มาตรการลดค่าน้ำค่าไฟ (ร้อยละ 40.7) 4) มาตรการลดค่าครองชีพ (ร้อยละ 37.8) และ 5) มาตรการช่วยเหลือด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ร้อยละ 28.5)

(4) ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ

 

ประชาชนร้อยละ 32.9 มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 42.1 มีความเชื่อมั่นในระดับปานกลาง ขณะที่ร้อยละ 20.9 มีความเชื่อมั่นในระดับน้อย-น้อยที่สุด และร้อยละ 4.1 ไม่เชื่อมั่นเลย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่าประชาชนในภาคใต้และชายแดนภาคใต้มีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 52-56) ขณะที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่ต่ำกว่าภาคอื่น

(5) เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

 

5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค (ร้อยละ 87.3) 2) ลดค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำประปา (ร้อยละ 57.1) 3) ลดราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ (ร้อยละ 49.9) 4) แก้ปัญหาด้านการเกษตร เช่น ราคาพืชผลตกต่ำ จัดหาตลาดรองรับผลผลิตและราคาปุ๋ยแพง (ร้อยละ 36.5) และ 5) เพิ่มมาตรการ/สวัสดิการ/เงินช่วยเหลือเยียวยา เช่น โครงการคนละครึ่ง เพิ่มเงินผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มเบี้ยยังชีพคนชรา/ผู้พิการ (ร้อยละ 34.7)

(6) เรื่องที่ประชาชน ประสบปัญหาจากการ ถูกหลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์

 

ในปี 2565 มีประชาชนร้อยละ 20.3 ประสบปัญหาการถูกหลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยพบว่า เรื่องที่ประสบปัญหา 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัว 2) สูญเสียเงินจากข้อความ/อีเมลหลอกลวง/การเข้าถึงเว็บไซต์ปลอม และ 3) สูญเสียเงินจากการถูกโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต/เดบิต และแอปพลิเคชันทางการเงิน

(7) เรื่องที่ต้องการ ให้รัฐบาลดำเนินการสนับสนุนให้ประชาชนปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัล

 

5 อันดับแรก ได้แก่ 1) จัดหา WIFI ฟรี ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (ร้อยละ 69.3) 2) จัดหาอินเทอร์เน็ตให้ประชาชนในราคาถูก (ร้อยละ 67.0) 3) สร้างความเชื่อมั่นหรือไว้วางใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการทำธุรกรรมต่างๆ (ร้อยละ 39.2) 4) เพิ่มความรู้และทักษะทางดิจิทัลให้กับประชาชน (ร้อยละ 39.1) และ 5) จัดหาอุปกรณ์ให้ประชาชนในราคาถูก เช่น คอมพิวเตอร์ และโน้ตบุ๊ค ในราคาย่อมเยา (ร้อยละ 35.9)

 

          2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                  2.1 ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลผ่านช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง เหมาะสมและตรงตามกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของประชาชนทุกกลุ่ม

                  2.2 ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนรู้เท่าทันและสามารถป้องกันการถูกหลอกลวงจากสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ช่องทางการร้องเรียน/ร้องทุกข์ เมื่อประชาชนประสบปัญหาเรื่องการถูกหลอกลวง/ล่อลวง/ฉ้อโกงบนสื่อสังคมออนไลน์ เช่น สายด่วน 1212 และสายด่วน 1441 ตำรวจไซเบอร์

                  2.3 ควรจัดหาอินเทอร์เน็ตฟรีให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ เช่น การขายของออนไลน์ และยูทูบเบอร์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นโดยเพิ่มความรู้และทักษะให้ประชาชนสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้

                  2.4 ควรให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาตามความต้องการของประชาชนในแต่ละกลุ่มและพื้นที่ ผ่านนโยบายและมาตรการต่างๆ เช่น การขยายระยะเวลามาตรการลดค่าน้ำ-ค่าไฟ ขยายระยะเวลาโครงการคนละครึ่ง และจัดหาตลาดรองรับพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชน เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศและจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 4 เมษายน 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A4147

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!