WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะมาตรการการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและสิทธิเด็กในสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทย

GOV 26

รายงานสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะมาตรการการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและสิทธิเด็กในสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทย

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลสรุปการพิจารณาในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะมาตรการการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและสิทธิเด็กในสถานการณ์การใช้กัญชาในประเทศไทยของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. กสม. ได้พิจารณาถึงผลกระทบของการประกาศให้กัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษต่อสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนและสิทธิเด็ก นับแต่ที่ได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดในปี 2564 และต่อมา สธ. ได้ออกประกาศ เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 กสม. พบว่า มีรายงานการใช้กัญชานอกเหนือจากการใช้ทางการแพทย์ และรายงานผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการใช้กัญชาออกมาเป็นระยะ โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน สตรีตั้งครรภ์ บุคคลที่มีโรคประจำตัวบางโรค และผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงผลกระทบในด้านอื่นๆ

          2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า ประกาศ สธ. ตามข้อ 1 ที่ทำให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล เกินร้อยละ 0.2 ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงการบริโภคกัญชาได้อย่างแพร่หลาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดมาตรการและออกกฎหมายลำดับรองเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการใช้กัญชาหลายฉบับ แต่มาตรการส่วนใหญ่ไม่มีกลไกบังคับใช้ที่ชัดเจนและยังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะสามารถป้องกันผลกระทบจากการใช้หรือการบริโภคกัญชาหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาได้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้ จากการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้กัญชา ปรากฏรายงานผลกระทบจากการใช้กัญชาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดความรู้ความเข้าใจและการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอต่อการใช้กัญชาอย่างปลอดภัย กสม. จึงเห็นว่า การประกาศให้กัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ และการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและบริโภคกัญชา อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ผู้บริโภค รวมถึงเด็กและเยาวชนประกอบกับมาตรการในการคุ้มครองสุขภาพยังไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะสามารถป้องกันผลกระทบจากการใช้หรือการบริโภคกัญชา กัญชง หรือผลิตภัณฑ์ที่ส่วนผสมของกัญชา กัญชง ได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้น กสม. ได้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนรวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          4. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ สธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สธ. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับ อว. กษ. คค. มท. ยธ. ศธ. และ ตช. แล้ว เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของ กสม.

 

สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม

1. ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

 

 

        1.1 คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสุขภาพตามประกาศต่างๆ เช่น การปกป้องคุ้มครองเด็ก เยาวชน สตรีตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร และบุคคลที่มีความเปราะบางด้านสุขภาพ การควบคุมการผลิตและจำหน่ายหรือใช้กัญชา กัญชง ที่ไม่ใช่ทางการแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณกัญชา กัญชงที่ใช้ในอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ต่างๆ การควบคุมลักษณะบรรจุภัณฑ์และฉลากต้องไม่มีลักษณะจูงใจเด็กและเยาวชนในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ต้องให้ข้อมูลส่วนผสมของกัญชา กัญชง การมีคำเตือนด้านสุขภาพ การควบคุมการขาย การวางจำหน่าย และการโฆษณา เป็นต้น

 

สธ. มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ (...) และกฎหมายลำดับรองที่ออกมาเพื่อรองรับในส่วนของการปกป้องคุ้มครองเด็ก เยาวชน สตรีตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร การควบคุมการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชา กัญชง ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์โดยเฉพาะช่อดอกอย่างเคร่งครัดรวมถึงการควบคุมการใช้กัญชา กัญชงในอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ต่างๆ การควบคุมลักษณะบรรจุภัณฑ์ และฉลากต้องไม่มีลักษณะจูงใจเด็กและเยาวชน ซึ่งในกฎหมายลำดับรองที่อาศัยอำนาจตาม ... ดังกล่าวมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการโฆษณา ข้อกำหนดฉลาก ข้อกำหนดบรรจุภัณฑ์เพื่อเตือนเด็กและเยาวชน รวมถึงกลุ่มเปราะบางโดยกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประกาศ สธ. ประกาศกรมอนามัยและคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข

        1.2 คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ สธ. อว. ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ

 

สธ. ได้พัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรโดยการจัดอบรม และผลิตสื่อความรู้ต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยกรมต่างๆ

อว. มีประกาศเรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงในสถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัด และในกำกับของ อว. ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2565 ในส่วนการพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือสถาบันอุดมศึกษาได้ตระหนักและพัฒนาจัดหาเครื่องมือที่สามารถตรวจสารสำคัญกัญชา รวมถึงมีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านกัญชา

ศธ. ได้พัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชา กัญชง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งได้ร่วมกับสำนักงาน ... จัดทำคู่มือเพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้กับครู อาจารย์สอนในรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับใช้ในการสอนในแต่ละระดับชั้น โดยในคู่มือมีเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโทษพิษภัยของกัญชา มีแผนการสอนของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยาเสพติดในแต่ละระดับและมีสื่อการสอนเพื่อใช้ประกอบการสอน

        1.3 คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ สธ. กษ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการให้มีมาตรการส่งเสริมและควบคุมคุณภาพการปลูกกัญชา กัญชง เพื่อความปลอดภัย

 

สำนักงาน ... ยธ. อนุญาตให้ประชาชนปลูกกัญชาใช้เอง หากประชาชนขาดองค์ความรู้อาจส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง จึงควรมีมาตรฐาน/องค์ความรู้ให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามได้ครอบคลุมทั้งในส่วนของผู้ประกอบการรายใหญ่ รวมถึงประชาชนที่ปลูกกัญชาเองด้วย

สธ. ได้พัฒนาการตรวจสารปนเปื้อนโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ปริมาณสารสำคัญ ทั้งในพืช ผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องสำอาง รวมถึงการตรวจหาสารในปัสสาวะและในเลือด และพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจกัญชาของกรมวิทย์ฯ และเครือข่ายได้จัดทำคู่มือมาตรฐานการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวพืชกัญชาในประเทศไทยสำหรับอบรมเกษตรกรและเตรียมพร้อมกับการตรวจรับรองการเก็บเกี่ยว จัดอบรม อสม. ในเรื่องการปลูกและใช้กัญชาอย่างเข้าใจสำหรับภาคประชาชนจัดประชุมผ่านสื่อและถ่ายทอดให้เกษตรกรต่อไป

กษ. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรในส่วนของการปลูกและการดูแลรักษา เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และเศรษฐกิจต่อไป

        1.4 คณะรัฐมนตรีควรมอบหมาย สธ. อว. ศธ. และ มท. พิจารณาดำเนินการพัฒนากลไกในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้กัญชา กัญชง รวมทั้งเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการปลูกและการใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชง

 

อว. เห็นว่า ควรเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้เห็นความสำคัญของการรายงาน เพื่อให้เห็นมิติการละเมิดสิทธิได้ทันทีและเป็นการปกป้องสิทธิเด็กตามเจตนารมณ์

สธ. มีกลไกการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้กัญชาโดยการสำรวจ ส่วนผลกระทบปลายทางมีกลไกการเฝ้าระวังและติดตามข้อมูล โดยการกำกับติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชา อาการทางจิตเวช และการรายงานผ่านระบบ Online ผ่านแบบฟอร์มรายงานอาการไม่พึงประสงค์ และประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกเดือน ด้านความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทะเบียนปลูกกัญชาผ่านทาง application และให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนเพื่อปลูกกัญชาได้

ศธ. มีกลไกในการดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา

2. ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ สธ. และ คค. ปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้กัญชา กัญชง ดังนี้

 

 

        2.1 กำหนดระดับของการสูบหรือบริโภคกัญชา กัญชง ที่ห้ามขับขี่ยานพาหนะและห้ามทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูง หรือทำงานในลักษณะอื่นที่อาจก่อให้เกิดอุบัตเหตุ และพัฒนาอุปกรณ์การตรวจระดับการสูบหรือบริโภคกัญชา กัญชงรวมถึงกำหนดให้มีการตรวจวัดระดับการสูบหรือบริโภคกัญชา กัญชง ขณะขับขี่ยานพาหนะเช่นเดียวกับการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์   มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้กัญชา กัญชง ได้แก่ ... รถยนต์ .. 2522 และ ... การขนส่งทางบก .. 2522 โดยมาตรา 57 ทวิ แห่ง ... รถยนต์ .. 2522 ได้ให้อำนาจผู้ตรวจการสั่งให้ผู้ขับรถหยุดเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตาม ... นี้กับมีอำนาจปฏิบัติการเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบนั้นได้และมาตรา 102 ทวิ แห่ง ... การขนส่งทางบก .. 2522 ได้ให้อำนาจผู้ตรวจการหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าผู้ขับรถมีสารอันเกิดจากการเสพของมึนเมาอยู่ในร่างกายหรือไม่รวมถึงได้กำหนดไว้ใน ร่าง ... กัญชา กัญชง .. .... ซึ่งมีมาตราที่ห้ามขับรถขณะมึนเมากัญชาและมีการตรวจหาสาร

        2.2 พัฒนากฎหมาย มาตรการในการไม่ขับขี่ยานพาหนะ และการห้ามทำงานกับเครื่องจักร ทำงานในที่สูง หรือทำงานในลักษณะอื่นที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในขณะที่บริโภคกัญชา กัญชง ไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไข ... จราจรทางบก .. 2522 และ ... ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน .. 2554 ให้มีความชัดเจนครอบคลุมถึงการใช้กัญชา กัญชงของบุคคล เป็นต้น

 

... จราจรทางบก .. 2522 เป็นกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ตช. ตามมาตรา 43 (2) ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ขับขี่รับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ซึ่งใน ... รถยนต์ .. 2522 และ ... การขนส่งทางบก .. 2522 มีบทบัญญัติในทำนองเดียวกันกับ ... จราจรทางบก .. 2522 ดังนั้น จึงไม่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม ... รถยนต์ .. 2522 และ ... การขนส่งทางบก .. 2522 แต่อย่างใด

นอกจากนี้ คค. โดยกรมการขนส่งทางบก บริษัท ขนส่ง จำกัด กรมเจ้าท่า และสำนักงานการบินพลเรือนได้ออกประกาศแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงรวมทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้กำหนดมาตรการป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้กัญชาหรือกัญชง และมีแผนดำเนินการศึกษาแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างประเทศก่อนพิจารณาดำเนินการพัฒนากฎหมายต่อไป โดยบรรจุมาตราต่างๆ ไว้ ในร่าง ... กัญชา กัญชง .. .... ซึ่งได้มีการกำหนดในกฎหมายไว้โดยเฉพาะแล้ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 เมษายน 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A4837

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

MTL 720x100

TU 720 x 109

sme 720x100

ธกส 720x100

SPALAI 720x100

PF 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!