WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

GOV 5

รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป 

          กค. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 75 วรรคสาม บัญญัติให้ กค. เสนอรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณพร้อมด้วยรายงานผลการตรวจสอบของ สตง. ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาภายในสองร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ จึงได้เสนอรายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบรับรองแล้ว (ครบกำหนดวันที่ 27 เมษายน 2566) 

          สาระสำคัญของรายงานฯ

          1. รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐสำหรับบัญชีการเงินแผ่นดินซึ่งใช้หลักเกณฑ์คงค้างแบบผสม (Modified Accrual Basis) ยกเว้นงบกระแสเงินสดและรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณใช้เกณฑ์เงินสด ประกอบด้วย

                  1) งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน

                  2) งบแสดงฐานะการเงิน

                  3) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน

                  4) งบกระแสเงินสด

                  5) รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณ

                  6) หมายเหตุประกอบงบการเงิน

          2. สาระสำคัญของรายงานการเงินแผ่นดิน

                  2.1 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564

(หน่วย:ล้านบาท)

 

ปีงบประมาณ ..

เพิ่ม (ลด)

 

2565

2564

จำนวนเงิน

ร้อยละ

รายได้

        รายได้แผ่นดินจากหน่วยงาน (หักถอนคืนรายได้

 

2,379,978.60

 

2,205,738.91

 

174,239.69

 

7.90

        เงินนำส่งกำไรและเงินปันผล 150,733.09 160,069.85 (9,336.76) (5.83)

        รวมรายได้แผ่นดิน

2,530,711.69

2,365,808.76

164,902.93

6.97

        รายได้อื่น 123,917.14 180,672.75 (56,755.61) (31.41)

รวมรายได้

2,654,628.83

2,546,481.51

108,147.32

4.25

ค่าใช้จ่าย

        รายจ่ายจากเงินงบประมาณจากหน่วยงาน

 

3,076,004.97

 

3,138,543.67

 

(62,538.70)

 

(1.99)

        ค่าใช้จ่ายอุดหนุน-หน่วยงานภาครัฐ

                - เพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

 

375.75

 

734.94

 

(359.19)

 

(48.87)

                - เพื่อแก้ปัญหา COVID-19 435,980.97 785,334.46 (349,353.49) (44.48)
        ค่าใช้จ่ายอื่น 51,030.10 36,934.76 14,095.34 38.16

รวมค่าใช้จ่าย

3,563,391.79

3,961,547.83

(398,156.04)

(10.05)

รายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ

(908,762.96)

(1,415,066.32)

506,303.36

35.78

 

                  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 108,147.32 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.25 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและอื่นๆ และรัฐบาลมีค่าใช้จ่ายลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 398,156.04 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.05 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินอุดหนุนเพื่อการก่อสร้างทางสายหลักระยะที่ 2 (ADB) และค่าใช้จ่ายอุดหนุนเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิจำนวน 506,303.36 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.78 ซึ่งเกิดจากการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย

                  2.2 งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564 

(หน่วย : ล้านบาท)

 

ปีงบประมาณ ..

เพิ่ม (ลด)

 

2565

2564

จำนวนเงิน

ร้อยละ

สินทรัพย์

สินทรัพย์หมุนเวียน

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

 

779,746.89

7,513,750.89

 

829,996.47

7,494,345.65

 

(50,249.58)

19,405.24

 

(6.05)

0.26

รวมสินทรัพย์

8,293,497.78

8,324,342.12

(30,844.34)

(0.37)

หนี้สิน

       หนี้สินหมุนเวียน

       หนี้สินไม่หมุนเวียน

 

1,822,787.20

7,954,172.03

 

1,633,936.07

7,286,112.93

 

188,851.13

668,059.10

 

11.56

9.17

รวมหนี้สิน

9,776,959.23

8,920,049.00

856,910.23

9.61

       ทุน

       รายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสะสม

       กำไร/ขาดทุนที่ยังไม่เกิดจากเงินลงทุน

สุทธิ

4,264,479.37

(5,796,697.93)

48,739.11

4,231,474.49

(4,888,772.70)

61,591.33

33,022.88

(907,925.23)

(12,852.22)

0.78

(18.57)

(20.87)

รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน

(1,483,461.45)

(595,706.88)

(887,754.57)

(149.03)

รวมหนี้สินและสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน

8,293,497.78

8,324,342.12

(30,844.34)

(0.37)

 

                  รัฐบาลมีสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน ณ วันสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลดลงจำนวน 1,483,461.45 ล้านบาท สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 887,754.57 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 149.03 ซึ่งเป็นผลจากมีการปรับปรุงทุนของหน่วยงานจากการตีราคาเพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดินราชพัสดุโดยกรมธนารักษ์ การดำเนินงานประจำปีที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายและการปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่ายของปีก่อนเข้าบัญชีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสะสม และการปรับมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดระยะยาวลดลงตามมูลค่ายุติธรรม

                  2.3 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564

(หน่วย : ล้านบาท)

รายการเคลื่อนไหว

ปีงบประมาณ ..

เพิ่ม (ลด)

 

2565

2564

จำนวนเงิน

ร้อยละ

สินทรัพย์สุทธิ วันที่ 30 กันยายน 2564 ก่อนปรับปรุง

(595,706.88)

517,640.03

(1,113,346.91)

(215.08)

ปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่ายของปีก่อน

837.73

(3,301.61)

4,139.34

125.37

ยอดคงเหลือ วันที่ 30 กันยายน 2564 หลังปรับปรุง

(594,869.15)

514,338.42

(1,109,207.57)

(215.66)

การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน

สำหรับปี 2565

       

ส่วนเกินทุนจากการปรับมูลค่าที่ดินราชพัสดุ

33,022.88

221,866.60

(188,843.72)

(85.12)

ผลจากการดำเนินงานประจำปีที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย

(908,762.96)

(1,415,066.32)

506,303.36

35.78

กำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุนสุทธิ (12,852.22) 83,154.42 (96,006.64) (115.46)

สินทรัทย์สุทธิ วันที่ 30 กันยายน 2565

(1,483,461.45)

(595,706.88)

(887,754.57)

(149.03)

 

                  2.4 งบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564

(หน่วย : ล้านบาท)

 

ปีงบประมาณ ..

เพิ่ม (ลด)

 

2565

2564

จำนวนเงิน

ร้อยละ

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน

       เงินสดรับ

       เงินสดจ่าย

 

3,760,951.63

4,192,358.69

 

3,907,954.77

4,465,442.40

 

(147,003.44)

(273,083.71)

 

(3.76)

(6.12)

กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

(431,407.36)

(557,487.63)

126,080.27

22.62

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน

       เงินสดรับ

       เงินสดจ่าย

 

29.07

2,231.33

 

1,854.79

5,760.30

 

(1,852.72)

(3,528.97)

 

(98.43)

(61.26)

กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน

(2,202.26)

(3,905.51)

1,703.25

43.61

กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน

       เงินสดรับ

       เงินสดจ่าย

 

2,447,896.76

2,003,297.97

 

2,392,304.54

1,820,236.73

 

55,592.22

183,061.24

 

2.32

10.06

กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน

444,598.79

572,067.81

(127,469.02)

(22.28)

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น

(ลดลง) สุทธิ

10,989.17

10,674.67

314.50

2.95

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

คงเหลือ วันต้นงวด

622,056.00

611,381.33

10,674.67

1.75

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

คงเหลือ วันปลายงวด

633,045.17

622,056.00

10,989.17

1.77

 

                  2.5 รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณ สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2565 และ 2564

(หน่วย : ล้านบาท)

 

ปีงบประมาณ ..

เพิ่ม (ลด)

 

2565

2564

จำนวนเงิน

ร้อยละ

รายรับ

        1. รายได้แผ่นดิน

        2. เงินกู้

        3. เงินนอกงบประมาณ

 

2,639,865.15

652,552.56

943,294.88

 

2,502,531.09

734,703.39

1,294,210.89

 

137,334.06

(82,150.83)

(350,916.01)

 

5.49

(11.18)

(27.11)

รวมรายรับ

4,235,712.59

4,531,445.37

(295,732.78)

(6.53)

รายจ่าย

        4. รายจ่ายเงินในงบประมาณ

        5. รายจ่ายเงินนอกงบประมาณ

 

2,871,529.05

1,328,910.70

 

2,889,127.20

1,625,675.86

 

(17,598.15)

(296,765.16)

 

(0.61)

(18.25)

รวมรายจ่าย

4,200,439.75

4,514,803.06

(314,363.31)

(6.96)

รายรับสูงกว่ารายจ่าย

35,272.84

16,642.31

18,630.53

111.95

 

                  2.6 ผลการวิเคราะห์

                  รัฐบาลมีรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 4.25 มีค่าใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 10.05 และผลการดำเนินงานทางการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลมีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย แต่ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 35.78 อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้ (Going Concern) เนื่องจากมีแนวโน้มในการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย มีการผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้อย่างต่อเนื่องด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ดำเนินการบริหารเงินคงคลังให้มีเพียงพอต่อการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐในแต่ละช่วงเวลา บริหารที่ราชพัสดุให้เกิดความคุ้มค่า เหมาะสมกับศักยภาพที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริหารเงินลงทุนโดยมีการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องโดยให้ความสำคัญกับการพิจารณาการลงทุนให้ครอบคลุมจากทุกแหล่งเงิน และบริหารหนี้สินโดยการวางแผนการชำระหนี้ให้เหมาะสมกับการบริหารสภาพคล่องหรือฐานะการคลังของแผ่นดินโดยไม่เป็นภาระการคลังในระยะยาว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 เมษายน 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A4840

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!