WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนนายาง – หนองจอก จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....

GOV4

ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนนายาง – หนองจอก จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนนายาง - หนองจอก จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับ ผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองจอก และตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง ตำบลหนองศาลา ตำบลบางเก่า ตำบลนายาง ตำบลดอนขุนห้วย และตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม เป็นศูนย์กลางหลักการค้าและบริการรับซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ให้บริการแก่ชุมชนโดยรอบ รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเล การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประวัติศาสตร์ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 11 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้นๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง และกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง รวมทั้งกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว 

          สาระสำคัญของร่างประกาศ

          กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลหนองจอก และตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง ตำบลหนองศาลา ตำบลบางเก่า ตำบลนายาง ตำบลดอนขุนห้วย และตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนนายาง - หนองจอก ให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืนรองรับการขยายตัวจากพื้นที่ชุมชนหลักของจังหวัดเพชรบุรี ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการผลิตทางด้านเกษตรกรรมแบบผสมผสาน การพัฒนาการท่องเที่ยว การชลประทาน และการระบายน้ำ ตลอดจนการดำรงรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในพื้นที่ราบลุ่มและชายฝั่งทะเล ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

          1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนนายาง - หนองจอก จังหวัดเพชรบุรี มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

                    1.1 ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชุมชนนายาง - หนองจอก ให้เป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ และการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรี

                    1.2 ส่งเสริมการพัฒนาและรักษาพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชนโดยพัฒนาการเกษตรและรักษาพื้นที่เกษตรกรรมชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการเกษตรและพื้นที่ตามโครงการพระราชประสงค์ และส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และพัฒนาด้านการเกษตรเพื่อสร้างฐานราก ทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนให้ประชากรในพื้นที่

                    1.3 ส่งเสริมการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัว ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรีและภูมิภาคที่สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของพื้นที่

                    1.4 ดำรงรักษาและควบคุมพื้นที่อ่อนไหวต่อการพัฒนา ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้และภูเขาสูง พื้นที่เพื่อการเก็บกัก และระบายน้ำ และพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อการป้องกันภัยพิบัติ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน การลดการใช้พลังงาน และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

                    1.5 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

                    1.6 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งปลอดมลพิษ และเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม อาทิ อุตสาหกรรมการเกษตรการผลิตอาหาร ขนม ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้าสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน 

          2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 11 ประเภท ดังนี้

 

ประเภท

 

วัตถุประสงค์

1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) จำแนกเป็นที่ดินประเภท . 1 และ . 2 ดังนี้

   

        1.1 ที่ดินประเภท . 1

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยของชุมชนในบริเวณพื้นที่ตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร เว้นแต่บริเวณ . 1 - 2 และ . 1 - 3 ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสานฌาปนสถาน กำจัดมูลฝอย และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำขนมเค้ก ซ่อมรองเท้า ซักรีด เป็นต้น

        1.2 ที่ดินประเภท . 2

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยของชุมชนบริเวณพื้นที่พัฒนาใหม่ และเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัยบริเวณริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 18 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน กำจัดวัตถุอันตราย และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำไอศกรีม การทำน้ำดื่ม เป็นต้น

2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง 

(สีส้ม) จำแนกเป็นที่ดินประเภท . 3

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการอยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลาง สำหรับเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนจากการพัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์กลางหลักด้านการค้า การบริการ การท่องเที่ยวและนันทนาการแก่ชุมชนและภูมิภาค ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร ห้ามการใช้ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน กำจัดมูลฝอย และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำน้ำแข็ง การพิมพ์หรือทำแฟ้มเอกสาร เป็นต้น

3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) จำแนกเป็นที่ดินประเภท . 1 และ . 2

 

 

        3.1 ที่ดินประเภท . 1

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมรองที่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าและบริการแก่ชุมชนในระดับท้องถิ่น ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม กำจัดวัตถุอันตราย และโรงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำขนมปัง น้ำดื่ม การบรรจุสินค้า เป็นต้น

        3.2 ที่ดินประเภท . 2

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักที่มีบทบาทการเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการและการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรีและภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คลังเชื้อเพลิง สุสาน ฌาปนสถาน กำจัดมูลฝอย และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การพาสเจอร์ไรส์นมสด ทำขนมเค้ก ทำน้ำดื่ม เป็นต้น

4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) จำแนกเป็นที่ดินประเภท .

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเกษตรกรรม การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติ และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ คลังเชื้อเพลิง จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมการอยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมประเภทห้องแถว ตึกแถว และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น การทำเครื่องประดับ ซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง เป็นต้น

5. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงเขียว) จำแนกเป็นที่ดินประเภท อก.

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมพัฒนาเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรและพื้นที่เกษตรกรรมตามโครงการพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ โรงงานทุกจำพวกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โรงแรม การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก เป็นต้น

6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) จำแนกเป็นที่ดินประเภท .

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนรักษาพื้นที่โล่งเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการของชุมชน เพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมของลำคลองและชายฝั่ง และเพื่อการระบายน้ำ ในที่ดินเอกชนให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ เช่น การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การอยู่อาศัยประเภทห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว กำจัดมูลฝอย เป็นต้น

7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว) จำแนกเป็นที่ดินประเภท อป.

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงรักษาป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี ในที่ดินเอกชนให้ก่อสร้างอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 6 เมตร โดยให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวที่มีใช่การจัดสรรที่ดิน

8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ศษ.

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาบันการศึกษาเพื่อให้บริการด้านวิชาการความรู้ เพื่อเป็นบริการขั้นพื้นฐานแก่ชุมชน การศึกษา หรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค ที่เป็นของรัฐหรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงเรียบ้านบ่อโพง โรงเรียนหนองจอกวิทยา โรงเรียนบ้านนายาง เป็นต้น

9. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ลส.

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือเกี่ยวข้องกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การรักษาทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ การประมงชายฝั่ง การคมนาคมและขนส่งทางน้ำ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ และสาธารณประโยชน์ คือ บริเวณเส้นขนานระยะ 500 เมตร กับริมฝั่งทะเล อ่าวไทย ฝั่งตะวันออก

10. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) จำแนกเป็นที่ดินประเภท ศน.

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันศาสนา การศึกษา สถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น เช่น วัดหนองจอก วัดนายาง วัดหุบกะพง เป็นต้น

11. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) จำแนกเป็นที่ดินประเภท .

 

- มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการของรัฐ กิจการเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปึกเตียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนิคมพัฒนาตนเอง เป็นต้น

 

          3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท

          4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงที่โล่ง ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

                    4.1 ที่โล่งประเภท ลร. ให้เป็นที่โล่งเพื่อการสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติจำแนกเป็นบริเวณ ลร. - 1 ถึง ลร. - 7 

                    4.2 ที่โล่งประเภท ลส. ให้เป็นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมฃายฝั่งทะเล จำแนกเป็นบริเวณ ลส. 

          5. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ค 3 ถนนสาย ค 4 ถนนสาย ค 5 ถนนสาย ค 6 ถนนสาย ง 1 ถนนสาย ง 2 ถนนสาย ง 3 ถนนสาย ง 4 ถนนสาย ง 5 และถนนสาย จ ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้

                    5.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

                    5.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง

                    5.3 เกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตรหรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

          6. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค ดังต่อไปนี้

                    6.1 ที่ดินประเภท สฆ. ที่กำหนดไว้เป็นสีเทาลายจุด ให้เป็นที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค ประเภทโรงฆ่าสัตว์ จำแนกเป็นบริเวณ สฆ. 

                    6.2 ที่ดินประเภท สบ. ที่กำหนดไว้เป็นสีม่วงลายจุด ให้เป็นที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค ประเภทโรงบำบัดน้ำเสีย จำแนกเป็นบริเวณ สบ. - 1 และ สบ. - 2 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 เมษายน 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A4844

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!