WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคม 2566 และไตรมาสแรกของ ปี 2566

GOV 27

รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคม 2566 และไตรมาสแรกของ ปี 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคม 2566 และไตรมาสแรกของปี 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ 

          สาระสำคัญ 

          1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนมีนาคม 2566

                  การส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2566 มีมูลค่า 27,654.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (942,939 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 4.2 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 0.01 โดยการส่งออกเดือนนี้ หดตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ ทำมูลค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี (23,904.9 ล้านเหรียญสหรัฐ) และมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 12 เดือน การส่งออกในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงถือได้ว่าทำได้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญหลายรายการมีสัญญาณที่ดีจากการกลับมาเป็นบวกในตลาดที่มีสัดส่วนสำคัญต่อการส่งออกของไทย อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย อีกทั้งยังกลับมาเกินดุลการค้าในรอบ 12 เดือน อย่างไรก็ตามภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนจากภาวะเงินเฟ้อที่แม้จะผ่อนคลายลงแต่ยังคงทรงตัวในระดับสูง นอกจากนี้ การเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมายังคงส่งผลกระทบต่อภาคธนาคาร ภาคธุรกิจ และกำลังซื้อของประชาชน ขณะที่การย่อตัวลงของราคาน้ำมันตามอุปสงค์ตลาดโลกที่ชะลอตัว ได้ส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันหดตัวลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ การส่งออกไทย ไตรมาสแรก หดตัวร้อยละ 4.5 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 0.9

                  มูลค่าการค้ารวม

                  มูลค่าการค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนมีนาคม 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 52,589.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกมีมูลค่า 27,654.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.2 การนำเข้า มีมูลค่า 24,935.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.1 ดุลการค้า เกินดุล 2,718.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม ไตรมาสแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 143,604.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.5 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกมีมูลค่า 70,280.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.5 การนำเข้า มีมูลค่า 73,324.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 0.5 ดุลการค้า ไตรมาสแรกของปี 2566 ขาดดุล 3,044.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

                  มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมีนาคม 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 1,803,474 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 942,939 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.2 การนำเข้า มีมูลค่า 860,535 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 1.0 ดุลการค้า เกินดุ 82,403 ล้านบาท ภาพรวมไตรมาสแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 4,881,579 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 2,373,189 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 1.1 การนำเข้า มีมูลค่า 2,508,390 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 2.9 ดุลการค้า ไตรมาสแรกของปี 2566 ขาดดุล 135,201 ล้านบาท

                  การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

                  มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.2 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 73.9 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเชีย ฟิสิปปินส์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และลิเบีย) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 5.7 (ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้และสหรัฐฯ) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 7.2 (ขยายตัวในตลาดอิรัก แอฟริกาใต้ แองโกลา เซเนกัล และแทนซาเนีย) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 94.5 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 6.2 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา เกาหลีใต้ กัมพูชา และจีน) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 13.2 (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม จีน ลาว มาเลเซีย และอินโดนีเชีย) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 47.9 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่ หดตัว อาทิ ยางพารา หดตัวร้อยละ 41.1 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 25.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลียและอิตาลี) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 17.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และมาเลเซีย) ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.9

                  การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

                  มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.9 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 1.4 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 16.7 (ขยายตัวในสหรัฐฯ อิตาลี ฝรั่งเศส อินเดีย และอินโดนีเซีย) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 66.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย แคนาดา และจีน) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 27.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เม็กซิโก ฮ่องกง และแคนาดา) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 5.0 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และฟิลิปินส์) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 55.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เยอรมนี และมาเลเซีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 14.2 (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม กัมพูชา อินเดีย และญี่ปุ่น) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 6.0 (หดตัวในตลาดฮ่องกง จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และไต้หวัน) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบหดตัวร้อยละ 13.7 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 3.5 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์) ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.8

                  ตลาดส่งออกสำคัญ

                  การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวน้อยลงในหลายตลาด อาทิ จีน อาเซียน (5) และ CLMV และบางตลาดสำคัญเริ่มกลับมาขยายตัว อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น รัสเซียและกลุ่ม CIS สะท้อนว่า อุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น แม้ว่าจะยังอยู่ในทิศทางชะลอตัว ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่างๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 0.8 หดตัวในตลาดจีน ร้อยละ 3.9 CLMV ร้อยละ 3.5 อาเซียน (5) ร้อยละ 2.1 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 7.3 ขณะที่ สหรัฐฯและญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 1.7 และ 10.2 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 3.4 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ร้อยละ 6.9 ทวีปออสตรเลีย ร้อยละ 23.3 แต่ขยายตัวในตลาดรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 228.0 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 3.0 แอฟริกา ร้อยละ 2.1 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 5.9 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 5.8 (3) ตลาดอื่นๆ หดตัวร้อยละ 39.5 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 43.5

                  มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป

                  การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก ปี 2566 เพื่อรับมือกับผลไม้ที่จะออกสู่ตลาด 6.78 ล้านตัน โดยแบ่งแผนงานออกเป็น 4 ด้าน คือ แผนการผลิต แผนการตลาดในประเทศ แผนการตลาดต่างประเทศ และแผนดูแลด้านกฎหมาย ผ่าน 22 มาตรการเชิงรุก เช่น การดูแลมาตรฐานสินค้าเพื่อการส่งออก การช่วยเหลือดอกเบี้ยและเงินช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออกผลไม้ การเจรจาและจับคู่ซื้อขายทั้งแบบออนไสน์และออนไลน์ รวมไปถึง การจัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ เป็นต้น โดยตั้งเป้าส่งออกผลไม้ปีนี้ไว้ที่ 4.4 ล้านตัน (2) การอำนวยความสะดวกส่งสินค้าผ่านแดนไปยังจีน โดยคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ได้เดินทางไปสำรวจด่านรถไฟโม่ฮาน และได้หารือกับผู้บริหารด่านศุลกากรเพื่อขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งออกผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดจีน รองรับฤดูกาลผลิตผลไม้ไทยปี 2566 ที่กำลังจะออกสู่ตลาด พร้อมตรวจสอบพื้นที่ลานตรวจสอบจำเพาะของสินค้าผลไม้ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการขนส่งผลไม้ของไทยผ่านด่านสำคัญของจีน และ (3) โครงการพัฒนาผู้ส่งออกรุ่นใหม่ : Young Exporter from Local to Global (YELG) ประจำปี 2566 ให้ความสำคัญกับการสร้างความพร้อมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในภูมิภาคให้สามารถก้าวสู่ตลาดโลกอย่างมั่นคง โดยอบรมความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการส่งออกให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยของไทย

                  แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัวเนื่องจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ ทั้งจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในแต่ละภูมิภาคของโลกยังคงอยู่ในระดับสูง ภาวะวิกฤตของสถาบันการเงินยังเป็นปัจจัยบั่นทอนต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ รวมไปถึงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อความผันผวนของราคาพลังงาน อย่างไรก็ตามจากการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในใตรมาสแรกของปี 2566 ทั้งการรื้อฟื้นความสัมพันธ์และการเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และการทำความตกลงทางการค้าในระดับท้องถิ่นกับตลาดศักยภาพในจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย ช่วยสนับสนุนการนำรายได้เข้าสู่ประเทศ และคาดว่าจะช่วยประคับประคองการส่งออกของไทยให้ผ่านพ้นภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A51223

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!