WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2566

GOV5 copy copy

ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2565 เช่น

                  1.1 กรมบัญชีกลางได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีมีหนี้ผูกพันถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2566 ทุกรายการ ให้สามารถใช้จ่ายได้ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนกันยายน 2566

                  1.2 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เช่น กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 การปรับกรอบงบลงทุนระหว่างปี 2566 ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 1 และการปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี

          2. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ

                  2.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 มีการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 1,955,667 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

วงเงินงบประมาณ/

แผนการใช้จ่าย

เบิกจ่ายแล้ว

ร้อยละเบิกจ่าย

งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ .. 25661

3,185,000

1,691,980

53.12

เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี

190,348

103,443

54.34

เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ)2

222,460

111,385

50.07

โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง (กค.) กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 (พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ .. 2563) (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท)3

820

421

51.34

โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 2564 (พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม .. 2564) (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท)3

66,045

48,438

73.34

รวม

3,664,673

1,955,667

53.37

 

                  ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีโครงการลงทุนที่มูลค่าโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รวม 112 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2.68 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 68,817 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.12 ของแผนการใช้จ่ายเงิน (1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566)

                  2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย (จากระบบ GFMIS)

                          2.2.1 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,691,980 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53.12 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.12 (เป้าหมายร้อยละ 52) ใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว) จำนวน 1,870,777 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.74 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.50 (เป้าหมายร้อยละ 56.24) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

รายการ

เบิกจ่ายแล้ว

ใช้จ่ายแล้ว

ล้านบาท

ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

รายจ่ายประจำ

1,459,291

57.88

1,472,082

58.39

รายจ่ายลงทุน

232,689

35.05

396,695

60.06

 

                          2.2.2 งบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี (งบประมาณ พ.ศ. 2565) มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 103,443 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54.34 มีการใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว) จำนวน 104,774 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.04 (ของวงเงินงบประมาณ 190,348 ล้านบาท)

                          2.2.3 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจำแนกตามขนาดของวงเงินงบประมาณ สรุปได้ ดังนี้

 

หน่วยงาน

วงเงินรวม

(ล้านบาท)

เบิกจ่ายแล้ว

ใช้จ่ายแล้ว

ล้านบาท

ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท4

3,213

579

18.02

1,461

45.47

กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท5

26,799

12,628

47.12

19,312

72.06

กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนมากกว่า 10,000 ล้านบาท6

462,234

171,788

37.16

314,240

67.98

หน่วยงานอื่นๆ7

171,539

47,694

27.80

63,682

37.12

 

                          2.2.4 ปัญหาและอุปสรรค มีดังนี้ (1) ด้านกระบวนการดำเนินงาน เช่น หน่วยงานเบิกจ่ายเงินรายการผูกพันเดิมจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีก่อน แล้วจึงเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณปีปัจจุบัน หรือความล่าช้าในการดำเนินงานกรณีเป็นรายการปีเดียว/รายการผูกพันใหม่ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานและการกำหนดราคากลาง และ (2) ด้านการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนดำเนินการ เช่น อยู่ในระหว่างการปรับปรุงแบบรูปรายการแบบแปลนงานก่อสร้าง และมีการแก้ไขรายละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ/พื้นที่จริง

                          ข้อเสนอแนะ เช่น (1) หน่วยรับงบประมาณควรจัดทำแผนการดำเนินงานของแต่ละงาน/โครงการโดยระบุวันที่ดำเนินการให้ชัดเจน เช่น วันที่ส่งราคากลาง วันที่ส่งมอบงาน และหากการดำเนินการตามสัญญามีความล่าช้าและไม่เป็นไปตามแผนหรือระยะเวลาที่กำหนด ให้หน่วยงานทำหนังสือเร่งรัดให้คู่สัญญาและหากคู่สัญญายังมีความล่าช้า หน่วยงานของรัฐควรใช้ดุลพินิจในการพิจารณาบอกเลิกสัญญา (2) หัวหน้าส่วนราชการต้องให้ความสำคัญในการกำกับดูแลการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนเริ่มดำเนินการ เช่น การกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ คุณสมบัติผู้เสนอราคา และเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้าง รูปแบบและเนื้อหาของสัญญาที่จะลงนามเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความรวดเร็ว สามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และ (3) ให้กรมบัญชีกลางรับข้อสังเกตกรณีการอุทธรณ์ที่ไม่สมเหตุสมผลซึ่งทำให้หน่วยงานของรัฐเสียโอกาสจากการดำเนินโครงการล่าช้า และควรกำหนดมาตรการลงโทษโดยขึ้น Blacklist ผู้อุทธรณ์หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้อุทธรณ์กรณีดังกล่าว

                  2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

                          2.3.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2566 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 รัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุน จำนวน 77,154 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 114 ของแผนการเบิกจ่าย สรุปได้ ดังนี้

 

ประเภท

รัฐวิสาหกิจ

แผนการเบิกจ่าย/เป้าหมาย

(ล้านบาท)

ผลการเบิกจ่าย

ผลการเบิกจ่ายจำแนกรายแห่ง (3 อันดับ)

ล้านบาท

ร้อยละ

สูงสุด

ต่ำสุด

ปีงบประมาณ

50,381

55,003

109

(1) การรถไฟแห่งประเทศไทย

(2) การรถไฟฟ้า

ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

(3) การประปานครหลวง

(1) การท่าเรือแห่งประเทศไทย

(2) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

(3) การเคหะแห่งชาติ

ปีปฏิทิน

17,247

22,151

128

(1) การไฟฟ้าฝ่าย

ผลิตแห่งประเทศไทย

(2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

(3) บริษัท ปตท.

จำกัด (มหาชน)

(1) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

(2) บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด

(3) บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

รวม

67,628

77,154

114

-

-

 

                          2.3.2 ผลการดำเนินการตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น (1) รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ของกรอบงบลงทุน (2) รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณและรัฐวิสาหกิจปีปฏิทินส่วนใหญ่มีการลงนามในสัญญาแล้ว คิดเป็นมูลค่ามากกว่าร้อยละ 80 และร้อยละ 65 ของกรอบลงทุน ตามลำดับ (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566) (3) รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ไม่มีแผนในการปรับกรอบงบลงทุนภายหลังจากเดือนมีนาคม 2566 และ (4) รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีประมาณการการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสที่ 4 สูงกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุน แต่พบว่ามีรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณทั้งหมดจำนวน 20 แห่ง ที่มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนในรอบ 6 เดือนแรก ต่ำกว่าร้อยละ 35 ของกรอบลงทุนและมีประมาณการการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสที่ 4 สูงกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุน

                          2.3.3 ข้อเสนอแนะ ให้กระทรวงเจ้าสังกัด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการ เช่น (1) กำกับติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีประมาณการการเบิกจ่ายลงทุนในไตรมาสที่ 4 สูงกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามเป้าหมาย และ (2) ให้จัดทำแนวทางกำกับติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายสำหรับรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณในกลุ่มที่มีกรอบงบลงทุนสูงสุด 10 อันดับแรก และมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566 ต่ำกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุน และมีประมาณการการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสที่ 4 สูงกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของงบลงทุน

                  2.4 ความคืบหน้าโครงการลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ)

                          2.4.1 โครงการลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีจำนวน 112 โครงการ มูลค่ารวม 2.68 ล้านล้านบาท โดยมีวงเงินเบิกจ่ายลงทุนในปี 2566 จำนวน 149,203 ล้านบาท และแหล่งเงินทุนสำคัญที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ได้แก่ เงินกู้ในประเทศและเงินที่เอกชนร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

                          2.4.2 สถานะการดำเนินการโครงการ สรุปได้ ดังนี้

 

โครงการ

จำนวน (โครงการ)

มูลค่า (ล้านบาท)

โครงการที่รัฐดำเนินการเอง

87

2,160,000

- ลงนามในสัญญาแล้ว

35

794,483

- ลงนามในสัญญายังไม่ครบ8

50

1,340,000

- ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา

2

16,847

โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

25

541,850

- ลงนามในสัญญาแล้ว

5

141,486

- ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา

20

400,364

 

                  2.5 การเบิกจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท)

                          2.5.1 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 จำนวน 1,087 โครงการ วงเงิน 982,228 ล้านบาท โดยหน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 950,557 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97 ของวงเงินอนุมัติ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566) ทั้งนี้ การดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายของโครงการภายใต้พระราชกำหนดดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดนในปีงบประมาณ 25669 มีแผนการเบิกจ่ายรวม 820 ล้านบาท โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566) วงเงินรวม 421.09 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51 ของแผนเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และแผนการเบิกจ่ายสะสม

                          2.5.2 การส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายภายหลังเสร็จสิ้นแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีผลการเบิกจ่ายเงินกู้ของโครงการ จำนวน 950,557 ล้านบาท คงค้างยอดเงินที่อยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องจากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ จำนวน 98,300 บาท และมีเงินกู้ดอลลาร์สหรัฐที่อยู่ระหว่างปิดบัญชีและส่งคืนคลัง จำนวน 2,983.98 บาท ซึ่งคาดว่าจะคงเหลือเงินกู้ที่จะนำส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวน 13,896 ล้านบาท ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องของผลการเบิกจ่ายเงินกู้ของหน่วยงานและจะแจ้งให้ สบน. ทราบ ภายในเดือนพฤษภาคม 256610 เพื่อ สบน. จะได้นำเงินกู้คงเหลือส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป

                  2.6 การเบิกจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 จำนวน 2,445 โครงการ วงเงิน 499,736 ล้านบาท โดยหน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 474,737 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95 ของวงเงินอนุมัติ และคงเหลือโครงการที่อยู่ระหว่างการเบิกจ่าย จำนวน 190 โครงการ วงเงิน 43,604 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 34,573 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีแผนการเบิกจ่ายวงเงินรวม 66,045 ล้านบาท และมีแผนเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2565 - 18 มีนาคม 2566) วงเงินรวม 57,983 ล้านบาท โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566) วงเงินรวม 48,438 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 73 และร้อยละ 84 ของแผนเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และแผนการเบิกจ่ายสะสมตามลำดับ ทั้งนี้ พบปัญหาอุปสรรคในขั้นตอนการดำเนินโครงการที่ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและไม่สามารถดำเนินโครงการได้ทันตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เช่น

 

โครงการ

 

ปัญหา/อุปสรรค

 

แนวทางแก้ไข

โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ChulaCov19 mRNA เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน

 

การทดสอบวัคซีนใช้ระยะเวลานาน เนื่องจากความล่าช้าในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติให้ทดสอบวัคซีนในมนุษย์ โดยคาดว่าจะสามารถขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ภายในสิ้นปี 2566

 

ขยายระยะเวลาในการทดสอบวัคซีนออกไปถึงเดือนธันวาคม 2566 และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงการใช้จ่ายเงินกู้เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.)

โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565

 

ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เนื่องจากระยะเวลาเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามแผนและมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสัญญาจ้าง

 

ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการและเร่งรัดดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จและหากไม่สามารถดำเนินโครงการได้เห็นควรให้แจ้งขอยกเลิกโครงการไปยัง คกง. โดยเร็ว

 

_____________________

1 งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นวงเงินประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง สำหรับเป้าหมายการใช้จ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เดือนมีนาคม 2566 รายจ่ายภาพรวม ร้อยละ 56.24 รายจ่ายประจำ ร้อยละ 55.78 และรายจ่ายลงทุน ร้อยละ 58.15 เป้าหมายการเบิกจ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เดือนมีนาคม 2566 รายจ่ายภาพรวม ร้อยละ 52 รายจ่ายประจำ ร้อยละ 55 และรายจ่ายลงทุน ร้อยละ 39

2 ข้อมูลเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566

3 ข้อมูลการกู้เงินและวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2566 และผลเบิกจ่ายสะสมถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566

4 กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม

5 กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรี

6 กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนมากกว่า 10,000 ล้านบาท ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข

7 หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล หน่วยงานอิสระของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทย หน่วยงานอื่นของรัฐ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน และงบกลาง

8 ลงนามในสัญญายังไม่ครบ เช่น ในกรณีการดำเนินการโครงการจะต้องมีการลงนามสัญญาทั้งสิ้น 10 สัญญา แต่ขณะนี้สามารถลงนามในสัญญาแล้วเพียง 5 สัญญา

9 เป็นการเบิกจ่ายในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565

10 กรมบัญชีกลางยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ โดยยังอยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องของผลการเบิกจ่าย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 27 มิถุนายน 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A6891

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!