WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง – คงคา ครั้งที่ 12

GOV 11

ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง – คงคา ครั้งที่ 12

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ดังกล่าว ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา (Mekong - Ganga Cooperation: MGC) เป็นกรอบความร่วมมือแรกของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับประเทศนอกอนุภูมิภาคฯ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 วิเริ่มโดยสาธารณรัฐอินเดีย และประกอบด้วยประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปโตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพมียนมา ราชอาณาจักรไทย สารารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐอินเดีย โดย MGC มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระหว่างสาธารณรัฐอินเดียกับอนุภูมิภาคฯ ใน 10 สาขาความร่วมมือ ได้แก่ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุขและการแพทย์แผนดั้งเดิม การเกษตรและสาขาที่กี่ยวข้อง คมนาคมและการสื่อสาร วิสาทกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดย่อม การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาทักษะและการเสริมสร้างศักยภาพ โดยไทยมีบทบาทสำคัญในฐานะหุ้นส่วนให้ความร่วมมือร่วมกับสาธารณรัฐอินเดีย

          2. การประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 จะจัดขึ้นในวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ที่กรุงเทพฯ ในรูปแบบการประชุมแบบผสมผสาน (hybrid) โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินเดียเป็นประธานร่วม และที่ประชุมจะรับรองเอกสารมลสัพธิ์การประชุม จำนวน 1 ฉบับ คือ ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 (Joint Ministerial Statement of the 12th Mekong - Ganga Cooperation Ministerial Meeting) พร้อมด้วยเอกสารภาคผนวก (Annex) จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) เอกสารแนวคิดเรื่องกลไกประเทศผู้ขับเคลื่อนหลัก (Lead Country) ในแต่ละสาขาความร่วมมือภายใต้ MGC และ (2) เอกสารแนวคิดเรื่องการจัดตั้งสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา (MGC Business Council)

          3. ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีประเทศสมาชิก MGC ที่มุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น (1) ทบทวนความก้าวหน้าและย้ำความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความร่วมมือของ MGC ทั้ง 10 สาขา เพื่อฟื้นฟูพลวัตและขับเคลื่อนผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการฟื้นฟูกลไกประเทศผู้ขับเคลื่อนหลัก (Lead Country) ในแต่ละสาขาความร่วมมือ (2) ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการผลักดันการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงบทบาทของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดย่อม (MSMEs) ผ่านกลไกการสัมมนาทางธุรกิจ และการจัดตั้งสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือฯ (3) ย้ำความสำคัญของการเชื่อมโยงผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในอนุภูมิภาคฯ โดยเฉพาะโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย - เมียนมา - ไทย (โครงการถนนสามฝ่าย) และการให้ความสำคัญกับการสอดประสานการทำงานร่วมกันระหว่าง MGC กับยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC และอาเชียน (4) ย้ำการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการศึกษา การส่งเสริมทักษะและศักยภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม การเกษตร สาธารณสุข และการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 11 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7362

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!