WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop)

GOV 3

การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop)

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (27 กันยายน 2565) เรื่อง การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ระบบหักลบหน่วยไฟฟ้าตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง

          พน. รายงานว่า การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนดำเนินการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในครัวเรือนเป็นหลักและส่งไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้เข้าระบบเพื่อหักลบจากหน่วยไฟฟ้าที่ประชาชนใช้ไฟฟ้าในเดือนถัดไปยังไม่สามารถปฏิบัติได้เนื่องด้วยเหตุผล ดังนี้

          1. ด้านระเบียบและข้อกฎหมาย การส่งไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้เข้าระบบเพื่อหักลบจากหน่วยไฟฟ้าที่ประชาชนใช้ในเดือนถัดไป เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประชาชนและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายและเกิดภาระภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งธุรกรรมการซื้อและการขายโดยการดำเนินธุรกรรมดังกล่าวยังไม่มีระเบียบและข้อกฎหมายรองรับวิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างของแต่ละธุรกรรมที่เกิดขึ้น หากจะคำนวณภาษีของการดำเนินธุรกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องขอยกเว้นมูลค่าฐานภาษี ซึ่งเป็นอำนาจพิจารณาของอธิบดีกรมสรรพากร

          2. ด้านเทคนิคและวิธีการที่เกี่ยวข้อง การผลิตไฟฟ้าไหลย้อนกลับเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าจะส่งผลกระทบทำให้แรงดันไฟฟ้าในระบบไม่สมดุล เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์มีความผันผวนและไม่แน่นอน ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบเสียหาย ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานลดลง ทั้งนี้ หากมีการผลิตไฟฟ้าไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายเป็นจำนวนมากจะทำให้ต้องเปลี่ยนขนาดและพิกัดของอุปกรณ์ป้องกันในระบบไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงต้องมีระบบควบคุมและบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพไฟฟ้าและความมั่งคงของระบบไฟฟ้าในภาพรวม นอกจากนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้ง Solar Rooftop ยังต้องเปลี่ยนอุปกรณ์มิเตอร์เป็นแบบดิจิทัลมิเตอร์เพื่อให้สามารถตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้าและปริมาณไฟฟ้าที่ไหลย้อนกลับเข้ามาในระบบไฟฟ้าได้ ซึ่งจะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า

          3. ด้านผลกระทบต่อประเทศและประชาชนโดยรวม

                    3.1 ต้นทุนของหน่วยไฟฟ้าที่การไฟฟ้า1 จำหน่ายจะแปรผันไปตามต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของแต่ละช่วงเวลา หากมีการนำปริมาณไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบไปหักลบกับเดือนถัดไปจะส่งผลให้มีส่วนต่างราคาหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบ (ซึ่งแต่ละเดือนต้นทุนของหน่วยไฟฟ้ามีความแตกต่างกัน) รวมถึงการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้ในการซื้อขายด้วย

                    3.2 วิธีการนำปริมาณไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบหักลบหน่วยไฟฟ้าหมายถึงการที่ผู้ผลิตไฟฟ้าขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าในราคาที่เท่ากับราคาขายปลีกไฟฟ้าต่อหน่วยและรวมกับค่าไฟฟ้าผันแปร2 (ค่า Ft) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ปัจจุบันมีราคาประมาณ 4.72 บาทต่อหน่วย) ซึ่งเป็นราคารับซื้อที่สูงมากกว่าการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโซลาร์ภาคประชาชน (ปัจจุบันรับซื้อในราคา 2.20 บาทต่อหน่วย) ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยรวมทั้งประเทศต้องรับภาระต้นทุนจากการรับซื้อไฟฟ้าราคาสูงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีรายได้น้อยหรือบ้านอยู่อาศัยที่ไม่สามารถติดตั้ง Solar Rooftop เนื่องจากต้นทุนส่วนเพิ่มจากการรับซื้อไฟฟ้าจาก Solar Rooftop จะถูกกระจายกลับไปสู่ค่า Ft3 

                    3.3 ความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในปัจจุบันมีความมั่นคงสูงเนื่องจากการไฟฟ้าเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและลงทุนระบบส่งจำหน่ายไฟฟ้า รวมถึงรับผิดชอบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ซึ่งต่างจากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบ Solar Rooftop ที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน และไม่มีค่าใช้จ่ายในการเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า จึงทำให้อัตราค่าไฟฟ้ามีต้นทุนและความมั่นคงไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ในอนาคตอาจต้องพิจารณาเรื่องการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของการผลิตไฟฟ้าของกลุ่มผู้ผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer) ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้าโดยรวมในประเทศ

                    ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนเป็นนโยบายดังกล่าวต้องคำนึงถึงผลกระทบรอบด้าน ดังนั้น เพื่อให้โครงการโซลาร์ภาคประชาชนดำเนินต่อไปได้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศและไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยรวมเพิ่มมากขึ้น จึงเห็นควรให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย (โดยนำเงินค่าไฟฟ้าที่แต่ละครัวเรือนผลิตได้ในอัตรา 2.20 บาท/หน่วย หักลบกับเงินที่ประชาชนซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย4) และหากในอนาคตมีการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ควรปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนแฝง5 ที่เกิดขึ้นด้วย

________________

1 การไฟฟ้า หมายถึง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฟน. และ กฟภ.

2 ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) หมายถึง ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงต้นทุนที่อยู่ในค่าไฟฟ้าฐานซึ่งการไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบด้วย (1) ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และ (2) ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน

3 จากการประสานกับ พน. พบว่า ในกรณีหากใช้วิธีการหักลบหน่วยไฟฟ้า จะทำให้การไฟฟ้ามีต้นทุนค่าซื้อไฟฟ้าสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่า Ft ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้า

4 ข้อมูลจากการประสานกับ พน. 

5 เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 11 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7372

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!