WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ....

GOV8

ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้

          1. เห็นชอบการทบทวนร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565

          2. อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ 

          3. ให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ ร่างกฎ ก.พ. ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติแล้ว (20 กันยายน 2565) แต่โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้วยโอกาส วุฒิสภา และสมาคมคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างกฎ ก.พ. ในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นราชการพลเรือนในส่วนลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ ซึ่งกำหนดเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorder) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏบัติงานในหน้าที่ ซึ่งส่งผลกระทบอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยโรคดังกล่าวไม่มีความสามารถในการทำงานใดๆ ทำให้ความเจ็บป่วยทางจิตเวชในสังคมมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งอาจไม่สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติที่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำนักงาน ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นควรปรับปรุงแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าว โดยตัดการกำหนดโรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorder) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ออก แต่ไปกำหนดวิธีการตรวจร่างกายให้ชัดเจนโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด และได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้างต้น ซึ่งเห็นชอบด้วย

          ร่างกฎ ก.พ. ในเรื่องนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การเสนอขออนุมัติร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทได้บัญญัติให้อำนาจไว้ และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงสามารถพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร

          สาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ. 

          1. ยกเลิกกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 

          2. กำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ ดังนี้ (1) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (2) โรคติดยาเสพติดให้โทษ (3) โรคพิษสุราเรื้อรัง (4) โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่

          3. กำหนดวิธีการตรวจโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7630

Click Donate Support Web  

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100sme 720x100ธกส 720x100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!