WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ....

GOV

ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้

          1. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

          2. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          3. ให้สำนักงบประมาณรับความเห็นของกระทรวงพลังงานไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ เป็นการดำเนินการตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีที่มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ตามระเบียบหรือกฎหมายอื่นใดไว้แล้ว การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้คำนึงถึงผลการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ดังกล่าวด้วย โดยร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment. SEA) ไปใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการจัดทำแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ และแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี) เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ทั้งนี้ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีมติเห็นชอบแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการ โดยมีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผน กระบวนการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และการได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าการเสนอร่างระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทได้บัญญัติให้อำนาจไว้ และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) จึงเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร

          สาระสำคัญของร่างระเบียบฯ

 

ประเด็น

 

รายละเอียด

1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (กยส.) (ร่างข้อ 4 - 13)

 

● กำหนดให้ กสย. ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน มีกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน เช่น ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 9 คน เช่น ผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ SEA โดยมีรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม

● กำหนดให้ กสย. มีหน้าที่และอำนาจ เช่น (1) กำหนดนโยบาย แนวทางการพัฒนา และกลไกในการขับเคลื่อน SEA เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน แล้วเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ (2) กำหนดรายชื่อแผนที่ต้องทำ SEA และ (3) กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง คู่มือ และวิธีการ SEA ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

● สำนักงานเลขานุการของ กสย. คือ สศช. มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องจัดทำ SEA เพื่อให้การประเมินในด้านต่างๆ มีความสอดคล้อง และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็น หรือดำเนินการใดๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ กสย.

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายสำหรับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานดังกล่าว ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของ สศช.

2. แผนที่ต้องจัดทำ SEA (ร่างข้อ 14 - 16)

 

● กำหนดให้ กสย. ประกาศกำหนดรายชื่อแผนที่หน่วยงานของรัฐจะต้องทำ SEA ได้แก่ (1) คมนาคม (2) พลังงาน (3) อุตสาหกรรม (4) ทรัพยากรน้ำ (5) ทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ (6) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (7) ผังเมือง และ (8) เขตพัฒนาพิเศษและเขตเศรษฐกิจพิเศษ

● ให้ กสย. กำหนดรายชื่อหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดทำ SEA ตามรายชื่อแผนที่ กสย. ประกาศกำหนด โดย กสย. ต้องดำเนินการประกาศรายชื่อหน่วยงานของรัฐที่ต้องจัดทำ SEA ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่ร่างระเบียบนี้ใช้บังคับ (90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)

3. การจัดทำ SEA (ร่างข้อ 17 - 22)

 

● กำหนดให้หน่วยงานของรัฐใช้แนวทาง SEA ที่ กสย. ประกาศกำหนดเป็นกรอบในการดำเนินงาน และต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานของรัฐต้องจัดเตรียมงบประมาณและบุคลากรรองรับสำหรับ SEA ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐอาจจัดทำหรือปรับปรุงคู่มือ SEA รายสาขาหรือเชิงพื้นที่เพิ่มเติมก็ได้ เพื่อนำไปปรับใช้และบูรณาการให้เหมาะสมกับบริบทของการจัดทำแผนแต่ละประเภท

● กำหนดให้หน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและกำกับการจัดทำ SEA โดยให้มีตัวแทนของคณะอนุกรรมการที่ กสย. แต่งตั้งอยู่ในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำ SEA 

● กำหนดให้หน่วยงานของรัฐเสนอแผนที่บูรณาการ SEA ต่อคณะกรรมการระดับนโยบายและ/หรือคณะรัฐมนตรีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเสนอรายงาน SEA ให้ กสย. ทราบ เพื่อนำไปใช้ในการติดตามประเมินผล และพัฒนาระบบ SEA ของประเทศต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7631

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!