WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ

GOV 13

ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในนามอาเซียนตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 ธันวาคม 2565) รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน1 (AEM) ครั้งที่ 54 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 14 - 18 กันยายน 2565 ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ พณ. เสนอ โดยที่ประชุมดังกล่าวมีการหารือร่วมกันของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (นาย Daren Tang) ถึงแนวทางการขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO)2 และเห็นชอบให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างอาเซียนและ WIPO

          2. เรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าด้วยการขยายความร่วมมือในสาขาเฉพาะ (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ซึ่งจะมีการลงนามในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting: AEM) ครั้งที่ 55 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2566 โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: MIPO) ในด้านทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องใหม่นอกเหนือจากที่ดำเนินการอยู่แล้วตามแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2559 - 2568 (The ASEAN Intellectual Property Rights Action Plan 2016 - 2025: AIPRAP) ที่อาเซียนดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยดำเนินการใน 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และสตาร์ทอัพในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาสนับสนุนการค้าภายในภูมิภาคอาเซียนและระหว่างภูมิภาค เช่น การอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (2) การยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจด้วยการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้พัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ วิดีโอเกม เพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ (3) การสนับสนุนการนำทรัพย์สินทางปัญญาและสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้มาใช้ค้ำประกันเงินกู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ และ (4) การสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยร่างบันทึกความเข้าใจมีผลบังคับใช้ 5 ปี และไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันด้านงบประมาณ ในกรณีที่ต้องใช้งบประมาณจะต้องมีการทำความตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นรายกรณี ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่าการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และประสบการณ์ในด้านที่ประเทศไทยยังมีความพร้อมไม่มากพอ เช่น ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น

          3. กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและกระทรวงยุติธรรมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง ส่วนกระทรวงการต่างประเทศ (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่เป็นการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และโดยที่เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทยตามนัยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 มาตรา 4 (7) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การให้ความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่เป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

_____________________________

1การประชุมรัฐนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อวางนโยบายและกำหนดแนวทางในการขยายขอบเขตความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน โดยแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจะเวียนกันเป็นเจ้าภาพการประชุมตามลำดับอักษร

2องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WPO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศภายใต้องค์การสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 เพื่อส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยปัจจุบันมีสมาชิก 192 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ราชอาณาจักรสวีเดน ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น โดยในส่วนของประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2532

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7892

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!