WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2566

GOV 3

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2566

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2566 และแนวโน้ม ไตรมาสที่ 2/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ 

          สาระสำคัญ 

          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1/2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 3.9 ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4/2565 ที่หดตัวร้อยละ 6.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิตเพื่อส่งออกในหลายกลุ่มหดตัวลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศรวมถึงที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 1/2566 อาทิ Hard Disk Drive ปัจจัยหลักจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่องและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ปรับลดลงหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เฟอร์นิเจอร์ จากสินค้าเครื่องเรือนทำด้วยไม้และเครื่องเรือนที่ทำด้วยโลหะ เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าชะลอตัวลง เม็ดพลาสติก เนื่องจากการส่งออกลดลง ประกอบกับผู้ผลิตชะลอการผลิตลง เพื่อดูทิศทางตลาดรวมถึงยังคงมีการปิดซ่อมบำรุงในโรงงานบางโรงอยู่ สำหรับอุตสาหกรรม ที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 1/2566 อาทิ รถยนต์ จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของตลาดส่งออก ในขณะที่ตลาดในประเทศยังคงชะลอตัว การกลั่นน้ำมัน เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลังจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่กลางปีก่อนเป็นต้นมา ทำให้การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ เพื่อการเดินทางขนส่งสามารถฟื้นตัวขึ้นกลับสู่ระดับใกล้ปกติ

          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนเมษายน 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ

          1. Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 41.59 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุ ทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ

          2. เหล็กและเหล็กกล้า หดตัวร้อยละ 23.36 ลดลงจากเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระป๋อง รวมทั้งมีการชะลอคำสั่งซื้อ เนื่องจากความผันผวนของราคา

          3. เฟอร์นิเจอร์ หดตัวร้อยละ 36.03 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้และทำด้วยโลหะโดยการผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในเดือนเมษายน 2566 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 เป็นผลจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศของผู้ผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ยางพาราที่ปรับลดลง 

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนเมษายน 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

          1. น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 19.15 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงปีนี้ผลผลิตของน้ำตาลต่อตันอ้อยโดยเฉลี่ยสูงขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อินโดนีเซีย

          2. การกลั่นน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 1.87 ตามปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นสู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เช่นเดียวกับการเดินทางในประเทศที่กลับสู่ระดับปกติเช่นกัน

          แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2/2566

          อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่มีความผันผวน ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกมีการปรับตัว และอาจส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐมีความต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

          อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 5.0 เนื่องจากราคาพลังงานที่ยังคงผันผวน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ อย่างไรก็ตามชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

          อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม และยางรถยนต์จะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในส่วนของปริมาณการผลิตถุงมือยาง คาดการณ์ว่าจะยังคงชะลอตัวจากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา

          อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานของปีก่อนค่อนข้างสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวยังส่งสัญญาณที่ดี รวมถึงอุปสงค์การนำเข้าสินค้าจากตลาดต่างประเทศ ในส่วนของน้ำมันปาล์มและน้ำตาลยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7898

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!