WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)

GOV2 copy copy

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 ขององค์การกระจายเสียงและ แพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ตามที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เสนอ 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ส.ส.ท. รายงานว่า ส.ส.ท. ได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. ภาพรวมผลงาน ประจำปี 2565

                  1.1 สร้างความแตกต่างจากจุดแข็ง ได้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์ของสื่อสาธารณะ โดยให้ความสำคัญกับประชากรทุกกลุ่มและคำนึงถึงพฤติกรรมและรสนิยมของผู้ชมและผู้ฟัง การนำเสนอข่าวเป็นไปตามหลักจรรยาบรรณบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ครบถ้วน รอบด้าน ไม่แทรกความคิดเห็น ไม่บิดเบือน ไม่ชี้นำ ส่งผลให้เนื้อหาหรือภาพข่าวของไทยพีบีเอสได้รับการอ้างอิงต่อทั้งสื่อไทยและสื่อต่างประเทศหลายสำนัก สำหรับรายการใหม่ด้านการเรียนรู้ที่นำเสนอในปี 2565 มาจากการคัดสรรรายการจากผู้ผลิตอิสระ ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดผู้ผลิตรายการหน้าใหม่สำหรับวงการสื่อด้วย เช่น รายการ Mascot News ข่าวสำหรับเด็ก รายการสวัสดีหนีห่าว ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจีน และรายการพนักงานใหม่หัวใจซน ส่งเสริมทักษะชีวิต นอกจากนี้ ไทยพีบีเอสมีเป้าหมายนำเสนอเนื้อหาให้ผู้ชมได้รู้เท่าทันสถานการณ์และฉากทัศน์ของสังคมผ่านเนื้อหาที่สำคัญจากโจทย์ของประเทศในเรื่องสังคมสูงวัย ภัยพิบัติกับภาวะโลกร้อน คุ้มครองผู้บริโภค ความเหลื่อมล้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและแนะนำเตรียมการปรับตัวในอนาคต รวมทั้งการเป็นสื่อเพื่อสันติภาพและแสวงหาทางออกร่วมกัน นำเสนอผ่านการดำเนินรายการ “ฟังเสียงประเทศไทย” สื่อสร้างเสริมความเข้าใจ รูปแบบรายการที่มีการเปิดพื้นที่ให้มีกระบวนการพูดคุย สำรวจความคิดเห็นของประชาชน และรับฟังข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านกว่า 40 ตอน เช่น ล้อมวงคุยอนาคตของคนจะนะ จังหวัดสงขลา (กับ 3 ฉากทัศน์จากโอกาสการพัฒนาของ “นกเขาชวา เสียงแห่งอาเซียน” ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในอดีตปีละไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท) และอนาคตเมืองอุบลกับคนปลายน้ำ (การทำโครงการผันน้ำเลี่ยงเมืองอุบลราชธานี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม)

                  1.2 สร้างความคุ้มค่าจากการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง การสร้างสังคมที่เป็นธรรม โดยไทยพีบีเอสทำหน้าที่ชี้ให้สังคมเห็นบริบทปัญหาของความเหลื่อมล้ำมุ่งเป็นพื้นที่กลางระดมการหาทางออก การเพิ่มปัจจัยเชิงบวกและลดอุปสรรคปัญหา ร่วมผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การผลิตและนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ เช่น ข่าว รายงานพิเศษ สารคดี ละคร และรายการสารประโยชน์ รวมทั้งการจัดเวทีเสวนา/ระดมความคิดเห็นในการขับเคลื่อนประเด็นความเหลื่อมล้ำกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น เวทีคนจนเมือง เวทีปลดล็อคความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งได้รับการนำไปอ้างอิงเผยแพร่ต่อโดยสื่อต่างๆ

                  1.3 สร้างความยั่งยืนจากการต่อยอดและพลังเครือข่าย ได้ขยายฐานและระดับการมีส่วนร่วมของผู้ชม ผู้ฟัง และผู้ใช้ประโยชน์ภาคพลเมืองผ่านกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายที่สำคัญ 6 กิจกรรม ได้แก่ (1) สร้าง “วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง (Citizen Science)” (2) กิจกรรมร่วมเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลเบื้องต้น การวิจัยและพัฒนาระบบการติดตามความสัมพันธ์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงทางสังคมวัฒนธรรม (3) กิจกรรมพัฒนาระบบฝึกอบรมและ sound Check ขอฟังเสียงคนกรุงเทพฯ วาระเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปกับแอปพลิเคชัน C-site (4) กิจกรรมร่วมสร้างสังคมปัญญารวมหมู่กับเครือข่ายภูมิภาค (5) กิจกรรมเคลื่อนเชิงประเด็นของ Decode ร่วมกับภาคีเครือข่าย ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม Bangkok Tribune News เทียบกับนโยบายโลกร้อนไทยและโลก และ (6) กิจกรรมสร้างความยั่งยืนด้านองค์ความรู้ให้เครือข่าย

          2. แผนบริหารกิจการและแผนงบประมาณ ประจำปี 2566 เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรสื่อที่แตกต่างและคุ้มค่า ส่งมอบเนื้อหาและบริการที่เป็นประโยชน์เสนอทางเลือกทางออกของปัญหา ร่วมนำพาสังคมออกจากวิกฤต ควรค่าต่อความไว้วางใจจากสังคมให้เป็น “โรงเรียนของสังคม” โดยแผนบริหารกิจการ เน้นการเป็น “สื่อที่มีคุณค่ายึดโยงกับประชาชน” รวมถึงกำหนดทิศทางสำคัญ 3 ด้าน คือ (1) ทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Digital Transformation เพื่อไปสู่องค์กรดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ (2) ทิศทางการเงินและงบประมาณที่ก้าวสู่สมดุลและ (3) การทำงานแบบบูรณาการข้ามกลุ่มงาน (ntegration & Cross Function) ที่เน้นเป้าหมายเชิงผลลัพธ์และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (Outcome Oriented & IP-Based Management) ที่สามารถต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และนำมาออกแบบแผนงานเพื่อรองรับการขับเคลื่อนงานและบริหารงบประมาณ สำหรับแผนงบประมาณ ประจำปี 2566 ของ ส.ส.ท. ประกอบด้วยแผนประมาณการรายได้ 2,682 ล้านบาท (เช่น ค่าชดเชยโครงข่าย เงินบำรุงองค์กร และการบริการโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวก) และแผนงบประมาณรายจ่าย 2,840 ล้านบาท (เช่น งบการจัดทำแผนงานตามยุทธศาสตร์ งบบุคลากร และงบฉุกเฉิน)

          3. ผังรายการในปี 2565 เช่น รายการ Thai PBS NEWS จับตาสถานการณ์รายการตอบโจทย์ รายการทันโลกกับที่นี่ Thai PBS และรายการไทยบันเทิง [ตามผังรายการที่แนบในรายงานประจำปี 2565 (หน้า 134-135)] และแผนการจัดทำรายการ ประจำปี 2566 จะสะท้อนเป้าหมายการขับเคลื่อนของ ส.ส.ท. ในฐานะองค์กรสื่อสาธารณะ ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข่าวสารรายการที่เที่ยงตรง รอบด้าน สร้างสรรค์ ลดความแตกต่างและแตกแยก รวมถึงการฝ่าวิกฤตการณ์เหลื่อมล้ำเพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่ความเป็นธรรม และนำเสนอทางออกของปัญหาและผลกระทบจากสถานการณ์สำคัญของประเทศ โดยมุ่งที่การสื่อสารและบูรณาการเนื้อหาที่สามารถตอบสนองกลุ่มผู้รับสื่อที่หลากหลายในทุกช่องทาง นอกจากนี้ ส.ส.ท. ได้มีการจัดทำแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรไปเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเนื้อหา (Content Based) ผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร และวางแผนผลิตรายการให้เข้ากับแพลตฟอร์มที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายตามแผนที่วางไว้

          4. งบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนินการทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยบริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบบัญชีของ ส.ส.ท. ได้ตรวจสอบแล้ว เห็นว่า ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนดสรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

ปี 2565

ปี 2564

เพิ่ม/ลด

งบแสดงฐานะการเงิน

 

 

 

         รวมสินทรัพย์

7,371.67

7,560.74

(189.07)

          รวมหนี้สิน

904.84

917.02

(12.18)

งบแสดงผลการดำเนินการทางการเงิน

 

 

 

          รวมรายได้

2,663.40

2,671.80

(8.40)

          รวมค่าใช้จ่าย

2,915.21

2,826.95

88.26

          รายได้สูงกว่า (ต่ำกว่า) ค่าใช้จ่ายก่อนดอกเบี้ยจ่าย

(251.81)

(155.15)

(96.66)

หมายเหตุ เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น จึงส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง

 

          5. รายงานการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบ ส.ส.ท. ประจำปีพ.ศ. 2565 ได้ดำเนินการ ดังนี้ (1) การสอบทานรายงานทางการเงิน (ตามข้อ 4) (2) การสอบทานการบริหารความเสี่ยง โดยแนะนำให้ ส.ส.ท. ทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงการควบคุมภายในและประเมินผลให้สอดคล้องกับโครงสร้างของ ส.ส.ท. ในปัจจุบัน และติดตามความคืบหน้าการบริหารความเสี่ยงให้ครบถ้วนตามมาตรการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (3) การสอบทานระบบการควบคุมภายใน พบว่า มีความเพียงพอเหมาะสม โดยแนะนำให้ ส.ส.ท. ให้ความสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย (4) การสอบทานการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยแนะนำให้ ส.ส.ท. บูรณาการการทำงานร่วมกัน รวมทั้งสื่อสารและถ่ายทอดแผนงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) การกำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน โดยให้ข้อแนะนำและติดตามการดำเนินการแก้ไขในประเด็นที่มีนัยสำคัญตามรายงานผลการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และ (6) การรักษาคุณภาพของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยได้ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบทุกปีและรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการนโยบายทุกไตรมาส รวมทั้งได้ประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองตามหลักเกณฑ์ที่ กค. กำหนด โดยผลการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม

          6. รายงานของคณะกรรมการประเมินผล ได้แก่ (1) การประเมินผลด้านประสิทธิผลของการดำเนินการตามแผนงาน ประจำปี 25651 พบว่า ด้านความเชื่อถือและบทบาทสื่อสาธารณะ มีประสิทธิผลสูง ทั้งด้านความถูกต้องในการนำเสนอเนื้อหา (3.86 คะแนน) การออกแบบเนื้อหาที่เหมาะสมกับแพลตฟอร์มและกลุ่มเป้าหมายขององค์กร (3.64 คะแนน) และการเป็นหลักสำคัญด้านวารสารศาสตร์ภายใต้กระแส “ข้อมูลเป็นเท็จ กุขึ้นมา และบิดเบือน” (3.76 คะแนน) แต่การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและเนื้อหาสาระมีการปรับตามพฤติกรรมและรสนิยมของผู้ชมยังมีประสิทธิผลในระดับปานกลาง ขณะที่ด้านการสร้างความจดจำที่ยั่งยืนและด้านการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม จากสารคดี “คนจนเมือง” มีประสิทธิผลมาก (3.96 คะแนน และ 3.81 คะแนน ตามลำดับ) (2) การประเมินด้านความพึงพอใจของผู้ชมและการสนับสนุนจากประชาชน จากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้รับชมและผู้ฟังรายการของไทยพีบีเอสทุกภูมิภาคทั้งสิ้น 2,107 ราย พบว่า ช่องทางที่มีผู้ชมและผู้ฟังนิยมมากที่สุด 4 ลำดับแรก คือ โทรทัศน์ดิจิทัลช่องหมายเลข 3 Thai PBS (ร้อยละ 64.06) YouTube (ร้อยละ 60.29) TKTok (ร้อยละ 49.67) และ Facebook (ร้อยละ 44.89) ตามลำดับ โดยเนื้อหาสำคัญที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ได้แก่ สื่อสาธารณะกับการจัดวาระของสังคมและการสร้างความคุ้มค่าจากการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงผ่านช่องทาง Facebook จำนวน 19,923 ครั้ง ซึ่งผู้ชมและผู้ฟังที่มุ่งเน้นผลผลิตด้านวาระของสังคมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 17.85 มีความยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อสนับสนุน ส.ส.ท. เฉลี่ยประมาณ 690 บาทต่อคนต่อปี ขณะที่ร้อยละ 18.87 ยินดีสนับสนุนการดำเนินงานของ ส.ส.ท. ในรูปแบบอื่น เช่น ช่วยประชาสัมพันธ์ ติดตามรายการอย่างต่อเนื่องและอุดหนุนสินค้าที่ระลึก (3) การประเมินด้านประสิทธิภาพของการดำเนินการตามแผนงานประจำปี 2565 พบว่า ภาพรวมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภายในองค์กรอยู่ในระดับมาก (3.43 คะแนน) [สูงขึ้นจากระดับปานกลาง (3.28 คะแนน) ในปี 2564] โดยยังคงต้องพัฒนาในด้านการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม รวมถึงการปรับปรุงกลไกการทำงานและการใช้ข้อมูลที่ได้จากสภาผู้ชมผู้ฟังรายการสนับสนุนประสิทธิภาพในการผลิตเนื้อหาที่ผลคะแนนจากการประเมินยังคงอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับประสิทธิภาพการกระจายอำนาจและพลังเครือข่ายที่อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน (3.36 คะแนน) และ (4) การประเมินด้านการพัฒนาองค์การ พบว่า ยังคงอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกับในปี 2564 (3.29 คะแนน) โดยประเด็นที่ต้องได้รับการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน คือการสร้างความร่วมมือเพื่อการบรรลุผลตามเป้าหมายของแผนการหารายได้ การกำหนดแผนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขปัญหา การลาออกของบุคลากรและการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงาน

          ทั้งนี้ คณะกรรมการประเมินผลได้มีการเสนอแนะให้ ส.ส.ท. ควรมีการปรับเนื้อหาและจำนวนโพสต์ผ่าน TikTok Instagram และ Twitter ให้มากขึ้น เพื่อการเข้าถึงคนรุ่นใหม่ พร้อมทั้งควรกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ชมและผู้ฟังบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดการกล่าวถึงที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันควรตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของผู้ชม โดยเร่งศึกษาสาเหตุและถอดบทเรียนจากกรณีที่บทบาทสำคัญบางด้านเป็นรองสื่ออื่นคู่เปรียบเทียบ เพื่อปรับใช้กับการพัฒนารูปแบบเนื้อหาของ ส.ส.ท. ภายใต้กรอบจริยธรรม เพื่อทำให้เนื้อหาที่สร้างความโดดเด่นและสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น ด้านศิลปวัฒนธรรมและละครที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคมมีความต่อเนื่องและยั่งยืน ส่วนด้านการบริหารจัดการองค์กรควรมุ่งเน้นปรับปรุงการพัฒนาองค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแสวงหารายได้ การสื่อสารนโยบายแนวทางการปฏิบัติงาน และวัฒนธรรมองค์การเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร

          7. การรับฟังความคิดเห็นจากสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงเนื้อหาที่สำคัญ เช่น (1) ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายองค์การและยุทธศาสตร์ การสื่อสาร การพัฒนารายการ และการติดตามแนวทางการบริหารจัดการองค์การ (2) ตระหนักถึงการเข้าถึงสื่อสาธารณะของคนเล็กคนน้อยกลุ่มผู้พิการ กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น สร้างแพลตฟอร์มเฉพาะสำหรับให้แต่ละกลุ่มเข้าไปใช้ประโยชน์โดยตรง (3) ติดตามและนำเสนอประเด็นสภาวะโลกร้อน ประเด็นภัยพิบัติเป็น “วาระเร่งด่วน” โดยมีเนื้อหา ครอบคลุมสาเหตุที่เกิดจากการจัดการเชิงโครงสร้างต่อระบบนิเวศ วิถีชุมชน ภูมิปัญญา รวมถึง การปรับตัวและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ (สภาวะโลกร้อน น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า และฝุ่นควัน PM 2.5) ตลอดจนการชดเชยประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และ (4) ให้ความสำคัญกับการสื่อสารประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานและต่อยอดจากศักยภาพชุมชน ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต

          8. ความคิดเห็นของผู้ชมและผู้ฟังที่มีต่อรายการของไทยพีบีเอสและ ALTV2 จำนวนทั้งสิ้น 32,122 ความคิดเห็น ซึ่งส่วนใหญ่ (25,164 ความคิดเห็น) ชื่นชมการนำเสนอละครในด้านความสนุกเพลิดเพลิน ให้ความรู้และสะท้อนสังคม เช่น ละครเรื่อง “จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี” ให้ความรู้ ด้านประวัติศาสตร์ ภาษา เปลี่ยนความคิดให้ผู้ชมก้าวข้ามอคติที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้าน และเรื่อง “ความรัก ความทรงจำ” ให้ความรู้ความเข้าใจโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ด้านการนำเสนอข่าวในสถานการณ์เร่งด่วน ไทยพีบีเอสนำเสนอได้อย่างทันท่วงทีและเคารพในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เช่น กรณีกราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีการแทรกข่าวด่วนให้ผู้ชมได้รับทราบอย่างรวดเร็ว สำหรับความคิดเห็นในเชิงติติงการนำเสนอเนื้อหา เช่น ผู้ชมส่วนหนึ่งเห็นว่า การนำเสนอรายละเอียดในสถานการณ์พายุโนรูมีความเป็นวิชาการทำให้เข้าใจยาก ผู้ชมบางส่วนร่วมเสนอแนะทางออก เช่น ควรระบายน้ำสู่คลองย่อย และด้านความเห็นของผู้ชมผู้ฟังรายการช่อง ALTV จำนวน 6,958 ความคิดเห็น ส่วนใหญ่ชื่นชมที่รายการให้ความรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานชวนให้ติดตาม มีการแบ่งปันเรื่องราวของครูและเด็กที่สร้างแรงบันดาลใจและพลังแห่งการสร้างสรรค์

__________________

1การวัดประสิทธิผลของการดำเนินงานในปี 2565 พิจารณาจาก 2 องค์ประกอบหลัก คือ ความน่าเชื่อถือและบทบาทสื่อสาธารณะและการสร้างความจดจำที่ยั่งยืน จากกลุ่มตัวอย่างทั้งบุคลากร ผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส จำนวน 2,107 ตัวอย่างโดยกำหนดคะแนนเป็น 5 ระดับ โดยระดับ 1 เป็นระดับน้อยที่สุด ถึงระดับ 5 เป็นระดับมากที่สุด

2เป็นช่องโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้และบูรณาการการเรียนการสอนระหว่างบ้านและสถานศึกษา ดำเนินการโดย ส.ส.ท. ถือเป็นสถานีโทรทัศน์รองของไทยพีบีเอส เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7901

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!