WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานสรุปผลการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์

GOV 26

รายงานสรุปผลการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอรายงานสรุปผลการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 

          1. ปัจจุบันปรากฏข่าวสารในสื่อสังคม (Social Media) ต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาการลาออกของบุคลากรทางการแพทย์ของ สธ. ซึ่งสำนักงาน ก.พ. และ สธ. ได้รับรู้ปัญหาเชิงระบบ และข้อกังวลของบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับประเด็นปัญหาการลาออกดังกล่าวและปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ของ สธ. มาโดยตลอด ทั้งสองหน่วยงานจึงได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ถึงปัจจุบัน โดยเห็นพ้องกันว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการแพทย์ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปมีความท้าทายในหลายประเด็น และการแก้ปัญหาดังกล่าวทั้งสองหน่วยงานตกลงที่จะแก้ปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ เหมาะสม และเป็นธรรม 

          2. สธ. และสำนักงาน ก.พ. ได้ประชุมหารือร่วมกัน เพื่อพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของ สธ. ในระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงปัจจุบัน รวม 3 ครั้ง มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 

                  2.1 การบริหารทรัพยากรบุคคลของ สธ. มีประเด็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนอัตรากำลัง การพัฒนาความก้าวหน้าในสายงาน การเพิ่มอัตราการผลิตของบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดแคลน การปรับปรุงการจ่ายค่าตอบแทน และการปรับปรุงสวัสดิการให้แก่บุคลากร 

                  2.2 การปรับปรุงการบริหารทรัพยากรบุคคลของ สธ. จำเป็นต้องดำเนินการในภาพรวม ทั้งประเด็นหลักและประเด็นย่อย เนื่องจาก สธ. มีความหลากหลายของสายงาน มีบุคลากรจำนวนมาก และกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศ ปัญหาจึงอาจเกิดขึ้นได้ในหลากหลายมิติ ทั้งในมิติของระบบบริหารจัดการ มิติของผู้รับบริการ และมิติของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน โดยเห็นควรตั้งคณะทำงานร่วมของทั้งสองหน่วยงาน ในการกำหนดกรอบประเด็นปัญหาในภาพรวม และประเด็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเร่งด่วน (Priority Issues) เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันการณ์ เหมาะสม และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากร 

                  2.3 แนวทางการแก้ปัญหาได้กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ 

                          2.3.1 ระยะเร่งด่วน เช่น การแก้ปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ การพิจารณากำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ในราชการส่วนภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น โดยอาจดำเนินการนำร่องกับสายงานพยาบาลวิชาชีพ ใน สธ. ก่อน แล้วขยายผลต่อไปยังสายงานอื่นๆ และส่วนราชการอื่นต่อไป 

                          2.3.2 ระยะยาว เช่น การเพิ่มกำลังการผลิตนักศึกษาในสายงานบุคลากรทางการแพทย์ การปรับปรุงพัฒนาระบบสวัสดิการและค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ 

          3. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในคราวประชุม ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ได้พิจารณาเรื่องการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ และได้ให้ข้อคิดเห็นและแนวทางดำเนินการ ตลอดจนการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมที่ควรมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากหน่วยงานทั้งสอง รวมทั้งมีมติให้สำนักงาน ก.พ. จัดทำรายงานสรุปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบผลการประชุมหารือเรื่องการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ 

          4. ปัจจุบัน สธ. ได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของ สธ. เพื่อให้เกิดการปรับปรุงเครื่องมือหรือกระบวนการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้แก่ สธ. 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7905

Click Donate Support Web  

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!