WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2566

GOV 4

รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป หรือตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2565 โดยมาตรา 165 บัญญัติให้ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ภายในวันที่ 16 ตุลาคม 2567) ให้ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาร่วมกันพิจารณา เพื่อดำเนินการให้หน่วยงานดังกล่าวรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปราม การสืบสวนและการสอบสวนการกระทำผิดความผิดเกี่ยวกับกฎหมายนั้นๆ ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่จะได้ตกลงกัน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและการบูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่และการแบ่งเบาภารกิจของ ตช. และให้สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบทุกสามเดือน

          2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 พฤษภาคม 2566) รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 โดยในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2565-มีนาคม 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้หารือร่วมกับ ทส. และกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ตช. ในเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ในการถ่ายโอนภารกิจจาก ตช. ไปยัง ทส. เพื่อรับผิดชอบงานการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแบ่งเบาภารกิจของ ตช.

          3. ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (นายวิษณุ เครืองาม) ได้เป็นประธาน ในการประชุมหารือร่วมกันระหว่าง ทส. ตช. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 ได้ข้อยุติร่วมกันในการกำหนดความรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปราม การสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 

                    3.1 การกำหนดบทบาทภารกิจ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการป้องกันและปราบปราม การสืบสวน และการสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                              3.1.1 การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจหลัก 5 ภารกิจ ได้แก่ (1) ภารกิจด้านการป้องกัน (2) ภารกิจด้านการปราบปราม (3) ภารกิจด้านการสืบสวน (ก่อนการจับกุม) (4) ภารกิจด้านการจับกุม และ (5) ภารกิจด้านการสอบสวน โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้

 

ภารกิจหลัก

 

กิจกรรม

(1) ภารกิจด้านการป้องกัน

 

- ฝึกอบรมให้ความรู้

- รณรงค์ ประชาสัมพันธ์

- พัฒนาเครือข่ายในพื้นที่

(2) ภารกิจด้านการปราบปราม

 

- ลาดตระเวน สำรวจพื้นที่

- ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด

- ตรวจสอบติดตามสถานประกอบการ

- ตรวจสอบการนำเข้าส่งออก

(3) ภารกิจด้านการสืบสวน (ก่อนการจับกุม)

 

- รวบรวมพยานหลักฐานการกระทำความผิด

- ขยายผลการกระทำความผิด

- พัฒนาระบบเครือข่ายฐานข้อมูลผู้กระทำผิด

(4) ภารกิจด้านการจับกุม

 

จำแนกเป็น 2 กรณี ประกอบด้วย

1) กรณีพบผู้กระทำความผิด

        - จับกุม ยึด อายัด

        - เก็บรักษาของกลาง

        - จัดทำบันทึกการตรวจยึด/จับกุม

        - แจ้งความดำเนินคดี

2) กรณีไม่พบผู้กระทำความผิด

        - ร้องทุกข์กล่าวโทษ

        - การรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อขอออกหมายจับ

(5) ภารกิจด้านการสอบสวน

 

- สอบสวน

- สืบสวน สอบปากคำ

- รวบรวมข้อมูลเอกสารและพยาน หลักฐาน

- จัดทำสำนวน

- จัดทำความเห็นควรสั่งฟ้อง/เห็นควรไม่ฟ้อง

 

                              3.1.2 ให้ตัดโอนภารกิจด้านการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวน (ก่อนการจับกุม) และการจับกุมให้ ทส. โดยให้ตำรวจช่วยดำเนินการในกรณีปฏิบัติการในภารกิจฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

                              3.1.3 ภารกิจด้านการสอบสวน ตำรวจยังคงรับผิดชอบเช่นเดิม

                              3.1.4 การตัดโอนภารกิจ (ตามข้อ 3.1.2) สามารถกระทำได้ตามกรอบกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 8 ฉบับ ซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการร่วมกับตำรวจในการป้องกัน ปราบปราม สืบสวน (ก่อนจับกุม) และการจับกุม ส่วนกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีก 5 ฉบับ ซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา โดย ทส. ไม่มีอำนาจในการปราบปรามและจับกุม จึงยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจ ดังนั้น ในระยะต่อไปควรจะต้องศึกษาความจำเป็นในการตัดโอนภารกิจเหล่านี้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

 

กฎหมาย

มาตราที่บัญญัติอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

กฎหมายที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

1. พระราชบัญญัติป่าไม้ .. 2484

มาตรา 64

2. พระราชบัญญัติป่าชุมชน .. 2562

มาตรา 73

3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ .. 2507

มาตรา 26

4. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ .. 2562

มาตรา 39

5. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า .. 2562

มาตรา 85

6. พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง .. 2558

มาตรา 25

7. พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ .. 2545

มาตรา 16

8. พระราชบัญญัติงาช้าง .. 2558

มาตรา 12

กฎหมายที่ ทส. ไม่มีอำนาจในการปราบปรามและจับกุม

1. พระราชบัญญัติสวนป่า .. 2535

มาตรา 22

2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ .. 2535

มาตรา 85

3. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล .. 2520

มาตรา 32

4. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ .. 2551

มาตรา 52

5. พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561

มาตรา 82

 

                    3.2 ที่ประชุมมีมติให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้

                              3.2.1 ทส.

                                        3.2.1.1 ตัดโอนภารกิจการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวน (ก่อนการจับกุม) และการจับกุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จาก ตช. ภายใต้กรอบกฎหมาย จำนวน 8 ฉบับข้างต้น ทั้งนี้ ยังคงให้ตำรวจช่วยดำเนินการในกรณีปฏิบัติการภารกิจฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

                                        3.2.1.2 จัดทำแนวปฏิบัติการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ภายใน 1 เดือน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพ และปรับปรุงกระบวนงานตามกฎหมาย ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานศักยภาพของ ทส. ที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ เมื่อ ทส. ดำเนินการตามแนวปฏิบัติดังกล่าว ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามรอบระยะเวลาตามมาตรา 165 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ต่อไป

                                        3.2.1.3 ศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการตัดโอนภารกิจเพิ่มเติมภายใต้กรอบกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ฉบับ โดย ทส. ร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. และ สคก. จะศึกษาความเป็นไปได้และประเมินความพร้อมในการตัดโอนต่อไป

                              3.2.2 ตช.

                              ปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของ บก.ปทส. สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ตช. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่ลดลง และเกลี่ยอัตรากำลังพลไปปฏิบัติงานในภารกิจที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น การป้องกันและปราบปรามคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี การป้องกันและปราบปรามคดีอาชญากรรมในพื้นที่ เพื่อแบ่งเบาภารกิจของ ตช. และให้ ตช. เตรียมการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบหรือเปลี่ยนแปลงกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกัน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 กรกฎาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A7909

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!