WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 13

GOV 19

ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 13

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค ครั้งที่ 13

          2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว

          3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

          สาระสำคัญ

          1. ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค (APEC Energy Ministers’ Statement) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในการกำหนดทิศทางและวางกรอบนโยบายความร่วมมือด้านพลังงานร่วมกันบนพื้นฐานของการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on Bio-Circular-Green Economy: BCG) และวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 (APEC Putrajaya Vision 2024) ที่มุ่งเน้นหลักการ “การเปิดกว้าง มีพลวัต พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และมีสันติภาพ”

          2. รัฐมนตรีพลังงานเอเปคจะมีการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการแสวงหาแนวทางการรับมือต่อความท้าทายด้านพลังงานร่วมกัน อาทิ การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและบรรเทาผลกระทบจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงานในเขตเศรษฐกิจเอเปค โดยแสดงความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายพลังงาน (APEC Energy Goals) ร่วมกัน ได้แก่ การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสองเท่าภายในปี ค.ศ. 2030 และลดค่าความเข้มของการใช้พลังงาน (Energy Intensity) ร้อยละ 45 ภายในปี ค.ศ. 2035 เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและพลังงานที่มีความยั่งยืนร่วมกัน

          3. การประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปคในครั้งนี้ยังมีการเสนอที่จะให้เอเปคพัฒนาเป้าหมายด้านพลังงานใหม่ให้มีความทะเยอทะยานมากยิ่งขึ้นเพื่อผลักดันการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน โดยเสนอให้มีการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงปลอดคาร์บอนและแหล่งเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ประมาณร้อยละ 70 ภายในปี ค.ศ. 2035 และร่วมกันลดการปล่อยมีเทนอย่างน้อยร้อยละ 50 จากภาคพลังงานฟอสซิลภายในปี ค.ศ. 2030 เมื่อเทียบกับปีฐานปี ค.ศ. 2020 โดยลดการปล่อยมีเทนจากกระบวนการผลิตน้ำมันและก๊าซ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคถ่านหิน นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าภาพยังเสนอการจัดตั้งข้อริเริ่มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเป็นธรรม (Just Energy Transition Initiative) เพื่อส่งเสริมความพยายามในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดของเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างเป็นธรรมและครอบคลุม ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคแรงงาน โดยการตระหนักถึงความสำคัญของการจ้างงานที่มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตของแรงงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในอนาคต

          ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงพลังงานและคณะ เดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค (APEC Energy Ministers Meeting) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 12-19 สิงหาคม 2566 ณ เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา โดยในการประชุมดังกล่าวจะมีการให้เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปครับรองร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค (APEC Energy Ministers’ Statement) 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8209

Click Donate Support Web  

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!