WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42

GOV 11

สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ 1) รับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 และ 2) มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยให้ กต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

          สาระสำคัญ

          1. เรื่องเดิม

                    1.1 คณะรัฐมนตรีมีมติ (2 พฤษภาคม 2566) เห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

                              1.1.1 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค และร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

                              1.1.2 ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะคณะรัฐมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้ความเห็นชอบเอกสารร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศฯ เพื่อเสนอผู้นำให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42

                              1.1.3 ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ร่วมเห็นชอบเอกสารร่างภาคผนวกฯ ระหว่างรอบการประชุม (Inter-Sessional) และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองในการประชุม AEC Council ครั้งที่ 22 ก่อนที่จะนำไปรวมกับแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ฉบับสมบูรณ์ เพื่อเสนอผู้นำให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 ต่อไป

                    1.2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 พฤษภาคม 2566)

                              1.2.1 เห็นชอบในหลักการร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการผลักดัน การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาคและการส่งเสริมธุรกรรมสกุลเงินท้องถิ่น และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการผลักดันฯ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

                              1.2.2 เห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 42 จำนวน 8 ฉบับ และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารดังกล่าว ตามที่ กต. เสนอ ดังนี้ (1) ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนต่อวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 (2) ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างขีดความสามารถและประสิทธิภาพเชิงสถาบันของอาเซียน (3) ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์อันเกิดจากใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด (4) ร่างแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต (5) ร่างแถลงการณ์ร่วมผู้นำอาเซียนว่าด้วยการจัดตั้งเครือข่ายหมู่บ้านอาเซียน (6) ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในสถานการณ์ฉุกเฉิน (7) ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการบรรจุงานและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในภาคประมง (8) ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยข้อริเริ่มสุขภาพหนึ่งเดียว 

                              ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารตามข้อ 1.1 – 1.2 ดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

          2. กต. รายงานว่า

                    2.1 เมื่อวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2566 สาธารณรัฐอินโดนีเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 ณ เมืองลาบวน บาโจ อินโดนีเซีย โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้แทนพิเศษ โดยได้เข้าร่วมประชุมระดับผู้นำอาเซียน จำนวน 6 รายการ ได้แก่ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 (แบบเต็มคณะ และอย่างไม่เป็นทางการ) การหารือกับผู้แทนภาคส่วนต่างๆ ของอาเซียน (สมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน และคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025) ซึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 มีผู้นำอาเซียนเข้าร่วม ยกเว้นสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา อย่างไรก็ดี ผู้แทนเยาวชน สภาที่ปรึกษาธุรกิจ และคณะทำงานระดับสูงฯ ของเมียนมาได้เข้าร่วมหารือกับผู้นำอาเซียน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์เป็นครั้งแรกด้วย นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 10 ฉบับ (ตามข้อ 1) ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญและสอดคล้องกับหัวข้อหลักการเป็นประธานอาเซียนของอินโดนีเซีย คือ “อาเซียนเป็นศูนย์กลาง สรรค์สร้างความเจริญ” สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ/ผลการประชุมฯ

(1) การสร้างประชาคมอาเซียน

 

- ที่ประชุมย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และผลักดันความร่วมมือที่จะช่วยคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้ยกเรื่องการแก้ไขปัญหาหมอกคว้นข้ามแดน และเน้นย้ำการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ฟ้าใสที่ได้หารือกับผู้นำเมียนมาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานงานกับเมียนมาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน รวมทั้งเน้นย้ำความจำเป็นในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในประเทศที่สามในสถานการณ์วิกฤต และความร่วมมือกับคู่เจรจาที่มีความสามารถและทรัพยากรในด้านนี้

- ที่ประชุมเน้นย้ำเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนบูรณาการเศรษฐกิจผ่านการปรับปรุงและการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่ รวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล พลังงานสะอาด การพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค

- ที่ประชุมเห็นพ้องถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพเชิงสถาบันของอาเซียน เพื่อตอบสนองความท้าทายในอนาคตได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ และรักษาบทบาทนำของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค

(2) ความสัมพันธ์กับภาคีภายนอก

 

ที่ประชุมเห็นชอบการจัดประชุมต่าง ดังนี้

- การประชุมสุดยอดอาเซียน-แคนาดา เพื่อสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องในเดือนกันยายน 2566

- การประชุมสุดยอดอาเซียน-คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) ในช่วงวันที่ 16-20 ตุลาคม 2566 กรุงริยาด ราชอาณาจักรชาอุดีอาระเบีย

- การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรลีย สมัยพิเศษ ในวาระครบรอบ 50 ปี ของความสัมพันธ์ฯ ระหว่างวันที่ 4-7 มีนาคม 2567 ออสเตรเลีย นอกเหนือจากการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย วาระปกติในปี 2567

(3) มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific AOIP)

 

ที่ประชุมแสดงความกังวลต่อความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์ในบริบทการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องรักษาความเป็นเอกภาพ ความเป็นแกนกลาง และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอาเซียน รวมทั้งการขับเคลื่อนความร่วมมือใน 4 สาขาภายใต้ AOIP1 อย่างเป็นรูปธรรม โดยอินโดนีเซียกำหนดจะจัด ASEAN Indo-Pacific Forum ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 ในเดือนกันยายน 2566 โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ย้ำว่าการปรึกษาหารือและฉันทามติคือหัวใจการดำเนินความสัมพันธ์อาเซียน และเรียกร้องให้ใช้ประโยชน์จากกลไกอาเซียนที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้ AOIP เพื่อรักษาความเป็นแกนกลางและคุณค่าของอาเซียน

(4) สถานการณ์ใน เมียนมา

 

- ผู้นำอาเซียนได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาและดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ2 โดยการประชุมครั้งนี้ต่างจากครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากหลายประเทศเห็นว่า การที่อาเซียนโดดเดี่ยวเมียนมาส่งผลให้ไม่มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ เนการาบรูไนดารุสซาลามและมาเลเซียได้แสดงท่าทียืดหยุ่นมากขึ้นต่อการกลับมามีปฏิสัมพันธ์กับเมียนมา ในขณะที่อินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์และสาธารณรัฐสิงคโปร์ยังมีข้อกังวลในการมีปฏิสัมพันธ์กับเมียนมา

- รองนายกรัฐนตรีและรัฐนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่อาเซียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเมียนมาในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการรับรองสถานะรัฐบาลของเมียนมา รวมทั้งปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในเรื่องนี้ เนื่องจากช่วงสองปีที่ผ่านมามีปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่รุนแรงมากขึ้น เช่น การค้ายาเสพติด การค้าอาวุธ และการค้ามนุษย์ ในขณะเดียวกันเมียนมาได้แสดงท่าทีเชิงบวกและยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การนิรโทษกรรมผู้ถูกคุมขังทางการเมือง การแสดงความพร้อมที่จะหารือกับทุกฝ่าย และแผนจะจัดการเลือกตั้งเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน

- เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ผู้นำอาเซียนออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการโจมตีขบวนรถของศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งคณะติดตามผลของอาเซียนในเมียนมา ตามข้อเสนอของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เพื่อประณามการใช้ความรุนแรงโดยทุกฝ่าย รวมทั้งแสดงให้เห็นท่าทีร่วมกันของอาเซียนและสะท้อนความสามัคคี เนื่องจากที่ผ่านมาอาเชียนไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการออกแถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาได้ และต้องออกเป็นแถลงการณ์ของประธานอาเซียนแทน

(5) การหารือกับผู้แทนภาคส่วนต่าง ของอาเซียน

 

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) หารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนภาคส่วนต่าง ได้แก่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียน สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน และคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี .. 2025 โดยผู้นำอาเซียนได้ฟังข้อเสนอแนะจากผู้แทนกลุ่มต่าง เกี่ยวกับประเด็นที่ให้ความสำคัญ เช่น การพัฒนาที่ยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล และการรับมือกับข่าวปลอมและข้อมูลที่ไม่ถูกต้องทางออนไลน์ นอกจากนี้ ในการหารือกับคณะทำงานระดับสูงฯ ผู้นำอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าและได้ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์สำหรับการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ฉบับใหม่ ซึ่งมีระยะเวลา 20 ปี (จนถึง .. 2045)

(6) การหารือทวิภาคี

 

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้หารือกับทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเต (นายตาอูร์ มาตัง รูวัก) โดยนายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเต (นายตาอูร์ มาตัง รูวัก) ได้แสดงความขอบคุณที่ไทยสนับสนุนติมอร์-เลสเตเสมอมาตั้งแต่ได้รับเอกราช โดยเฉพาะการเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์-เลสเต โดยย้ำว่า ติมอร์-เลสเตมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างเต็มตัวและดำเนินการอย่างเต็มที่ตามแผนงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ในการนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) แสดงความพร้อมที่จะร่วมมือและสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถแก่ติมอร์-เลสเต เพื่อเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน

 

          3. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่างๆ เช่น

 

ประเด็น

 

การดำเนินการที่สำคัญ

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

(1) ภาพรวม

 

สนับสนุนการทำหน้าที่ประธานอาเซียนของอินโดนีเซียภายใต้หัวข้ออาเซียนเป็นศูนย์กลาง สรรค์สร้างความเจริญและรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 10 ฉบับ (ตามข้อ 1)

 

กค. กต. พณ. กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

(2) การสร้างประชาคมอาเซียน

 

- เสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และผลักดันความร่วมมือที่ช่วยคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน ได้แก่ การเก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน การเริ่มดำเนินงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ และการให้ความช่วยเหลือแก่พลเมืองอาเซียนในประเทศที่สามในสถานการณ์วิกฤตโดยร่วมมือกับคู่เจรจาที่มีขีดความสามารถและทรัพยากรในด้านนี้

- เสริมสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพเชิงสถาบันของอาเซียน เช่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการตัดสินใจของอาเซียน การส่งเสริมบทบาทของเลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน และการเพิ่มความเข้มแข็งของคณะกรรมการผู้แทนกถาวรประจำอาเซียน

 

กต. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สธ.

(3) การขับเคลื่อนบูรณาการทางเศรษฐกิจ

 

- ขับเคลื่อนบูรณาการทางเศรษฐกิจผ่านการปรับปรุงและการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่รวมถึงความตกลง RCEP การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล พลังงานสะอาด การพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค

- มาเลเซียเสนอให้มีการจัดตั้ง Asian Monetary Fund เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและมาตรการรองรับทางเศรษฐกิจของภูมิภาค

- สิงโปร์ขอให้อาเซียนเร่งรัดการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid) โดยต่อยอดจากโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป. ลาว-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน

- ฟิลิปปินส์เสนอให้อาเซียนพิจารณาความร่วมมือเพื่อส่งเสริมห่วงโซ่มูลค่าของโลหะอุตสาหกรรมและแร่ธาตุเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน

 

กค. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) 

กระทรวงพลังงาน พณ.

 

          ทั้งนี้ กต. ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวไม่มีกรณีที่ต้องดำเนินการโดยใช้งบประมาณหรือได้มีการตั้งงบประมาณในการดำเนินการไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งมิได้เป็นหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

_______________________________

1ประกอบด้วย (1) ความร่วมมือทางทะเล (2) การเชื่อมโยง (3) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติปี 2573 และ (4) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในด้านต่างๆ

2ฉันทามติ 5 ข้อ ได้แก่ (1) ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรง (2) ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสันติ (3) ให้มีทูตพิเศษเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจา (4) อาเซียนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ (5) ทูตพิเศษเข้าไปเมียนมาเพื่อพูดคุยกับทุกฝ่าย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8211

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!