WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

GOV8

ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในประเด็น ดังนี้

          1. ประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) จำนวน 5 ประเด็นและห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) 

          2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมาย

          3. (ร่าง) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมอบหมายให้ ก.พ.ร. เป็นผู้พิจารณาการกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายและรายละเอียดของ Joint KPls โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

          4. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำ Joint KPls ไปขับเคลื่อนส่วนราชการ จังหวัดและองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 25581

          5. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจนำ Joint KPls ไปขับเคลื่อนหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และส่งผลการดำเนินงานหรือผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

          สาระสำคัญ

          คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 217 ตัวชี้วัด และประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) จำนวน 5 ประเด็นและห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ได้แก่ (1) การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ (2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) รายได้จากการท่องเที่ยว (4) รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP และ (5) การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินการให้สอดคล้องตามเป้าหมายระดับชาติที่ได้กำหนดไว้ รวม 18 เป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม) รวมทั้งคณะกรรมการนโยบายระดับชาติ (ได้แก่ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ) ได้นำ Joint KPls ไปขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการในการประชุม ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPls) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แล้ว อย่างไรก็ดี Joint KPls ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ที่เสนอในครั้งนี้) แตกต่างจาก Joint KPls ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 กันยายน 2565) เห็นชอบไว้สรุปได้ ดังนี้

 

Joint KPls ประจำปีงบประมาณ .. 2566 (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565)

 

Joint KPls ประจำปีงบประมาณ .. 2567

 (ที่เสนอในครั้งนี้)

ประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda)

        มี 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (2) ความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค และ (3) รายได้จากการท่องเที่ยว

 

        มี 5 ประเด็น โดยเพิ่มประเด็นที่ 4 รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP เนื่องจากปี 2565 อัตราการเติบโตของมูลค่าสินค้า OTOP อยู่ที่ร้อยละ 59.27 ซึ่งลดจากปี 2564 ที่มีอยู่ที่ร้อยละ 80.35 เนื่องจากผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานรากขาดองค์ความรู้และทักษะที่สำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการและเพิ่มประเด็นที่ 5 การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 เนื่องจากปัจจุบันคุณภาพอากาศของประเทศไทยมีปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 เกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อสุขภาพประชาชน

- จำนวน Joint KPls

        มี 59 ตัวชี้วัด

 

        มี 217 ตัวชี้วัด โดยจำนวนตัวชี้วัดที่เพิ่มขึ้นจากประเด็น Agenda ที่ 4 และที่ 5 (หมายเหตุ : อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดประจำปีงบประมาณ .. 2567 ได้กำหนดให้ส่วนราชการสามารถแจ้งปรับเปลี่ยนรายละเอียดและจำนวนตัวชี้วัดได้ โดยให้ส่งสำนักงาน ...)

- จำนวนเป้าหมายในภาพรวม (เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ)

        มี 6 เป้าหมาย

 

        มี 18 เป้าหมาย

- จำนวนเป้าหมายรายประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda)

ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ

        มี 1 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ ระดับความมั่งคงด้านน้ำอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น

 

        มี 3 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยเพิ่ม 2 เป้าหมาย ได้แก่ (1) ระดับการรับมือกับพิบัติภัยด้านน้ำเพิ่มขึ้นและแม่น้ำลำคลอง และ (2) แหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศมีระบบนิเวศและทัศนียภาพที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น

ประเด็นที่ 2 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

        มี 1 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยลดลง

 

คงเดิม

ประเด็นที่ 3 รายได้จากการท่องเที่ยว

        มี 4 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ (1) รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น (2) รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจเพิ่มขึ้น (3) รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น และ (4) รายได้จากการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำเพิ่มขึ้น

 

        มี 7 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยเพิ่ม 3 เป้าหมาย ได้แก่ (1) เมืองและชุมชนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น (2) สินค้าท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมได้รับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และ (3) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวมีคุณภาพและมาตรฐานดีขึ้น

ประเด็นที่ 4 รายได้ของผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP

        ไม่มี

 

        มี 6 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น (1) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายใหม่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น (2) ความสามารถในการแข่งขันด้านการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลดีขึ้น (3) มูลค่าพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น และ (4) การขยายตัวการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น

ประเด็นที่ 5 การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10

        ไม่มี

 

        มี 1 เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ คุณภาพอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือนอยู่ระดับมาตรฐานของประเทศไทย

 

________________________ 

1 ปัจจุบันองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีจำนวน 37 แห่ง และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ มีจำนวน 24 แห่ง แบ่งเป็น (1) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 คณะกรรมการขององค์การมหาชนเป็นผู้ประเมิน (2) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 โดยมีกระทรวงการคลัง (กค.) เป็น ผู้ประเมิน และ (3) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 แต่ กค. ไม่ได้เป็นผู้ประเมินโดยใช้ระบบการประเมินตามแนวทางของกฎหมายที่จัดตั้งหน่วยงาน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8215

Click Donate Support Web  

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!