WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

การร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

GOV 28

การร่วมรับรองและให้ความเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารทั้ง 14 ฉบับ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในร่างเอกสารดังกล่าว ที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้นๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

          2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร 2 ฉบับ (ในข้อ 2.8 และ 2.14) และให้ความเห็นชอบร่างเอกสาร 11 ฉบับ (ในข้อ 2.1, 2.3 – 2.7, 2.9, 2.10 – 2.13) ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM)

          3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร 2 ฉบับ (ในข้อ 2.1 และ 2.6) และให้ความเห็นชอบร่างเอกสาร 4 ฉบับ (ในข้อ 2.2, 2.3 – 2.5) ในฐานะคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) 

          4. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร 2 ฉบับ (ในข้อ 2.2 และ 2.5) ในฐานะผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit)

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. สาธารณรัฐอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนปี 2566 มีกำหนดจัดการประชุม ดังนี้

                    1.1 การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 17 - 22 สิงหาคม 2566 ณ เมืองเซอมารัง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าว รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในส่วนของไทย คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย จะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 2 ฉบับ และให้ความเห็นชอบ จำนวน 11 ฉบับ รวมเอกสารทั้งหมด 13 ฉบับ

                    1.2 การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 2 - 3 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าวรองนายกรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในส่วนของไทย คือ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย จะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 2 ฉบับ และให้ความเห็นชอบ จำนวน 4 ฉบับ รวมเอกสารทั้งหมด 6 ฉบับ

                    1.3 การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 43 ระหว่างวันที่ 4 - 7 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าว ผู้นำอาเซียนจะพิจารณาเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจที่ AEC Council ให้ความเห็นชอบและเสนอให้ผู้นำรับรอง จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเลของอาเซียน (ASEAN Blue Economy Framework) และร่างแถลงการณ์ผู้นำว่าด้วยการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Leaders’ Statement on the Development of the ASEAN Digital Economy Framework Agreement (DEFA))

          2. กระทรวงพาณิชย์ขอเสนอเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 14 ฉบับ ที่จะมีการรับรองและให้ความเห็นชอบ ในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) และผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

                    2.1 ร่างยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Development of ASEAN Strategy for Carbon Neutrality) เป็นการกำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของอาเซียน

                    2.2 ร่างกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเลของอาเซียน (ASEAN Blue Economy Framework) เป็นแนวทางในการพัฒนาเศษฐกิจภาคทะเลของอาเซียนที่ยั่งยืน และเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค

                    2.3 ร่างรายงานการศึกษากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Study on the ASEAN Digital Economy Framework Agreement (DEFA)) เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (DEFA) โดยผลการศึกษาไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายและไม่ยึดโยงใดๆ กับข้อตัดสินใจระหว่างการเจรจา

                    2.4 ร่างกรอบสำหรับการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Framework for Negotiating the ASEAN Digital Economy Framework Agreement) เป็นเอกสารที่ กำหนดวัตถุประสงค์หลักการ และประเด็นที่อาจพิจารณานำมาบรรจุไว้ในกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน 

                    2.5 ร่างแกลงการณ์ผู้นำว่าด้ายการจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (Leaders’ Statement on the Development of the ASEAN Digital Economy Framework Agreement (DEFA) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำเพื่อเริ่มการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนอย่างเป็นทางการ 

                    2.6 ร่างปฏิณญารัฐมนตรีว่าด้วยกรอบการดำเนินงานสำหรับโครงการพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม (Ministerial Declaration on the Framework for ASEAN Industrial Projects Based Initiative) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่ะร่วมกันดำเนินการ (1) ส่งเสริมการเติบโตของเครือข่ายการผลิตใหม่และห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น (2) เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว (3) เร่งรัดและสร้างความยั่งยืนในการสร้างเศรษฐกิจใหม่ภายหลังโควิด-19 (4) ยกระดับการค้าและการลงทุนภายในอาเซียน และ (5) เพิ่มความเชื่อมโยงที่ลึกซึ้ง ความร่วมมือรายสาขา และข้อริเริ่มในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่กว้างขึ้น

                    2.7 ร่างแผนงานในการปรับมาตรฐานของอาเซียนเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒณาที่ยั่งยืน (Roadmap of ASEAN Standard Harmonization to Support SDGs Implementation) เป็นเอกสารแนวทางการดำเนินการของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน (โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก) และคณะทำงานรายสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการดำเนินงานในการระบุมาตรฐาน ข้อกำหนด กฎระเบียบทางเทคนิค และเอกสารแนวทางของอาเซียนที่ปรับประสานกันแล้ว และมาตรฐานระหว่างประเทศที่สนับสนุนเป้าหมาย SDGs และสอดรับกับสาขาที่สำคัญของคณะกรรมการฯ 

                    2.8 ร่างข้อริเริ่มอาเซียน-จีนในการเสริมสร้างความร่ามมือด้านพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ASEAN-China Initiative on Enhancing Cooperation on E-Commerce) เป็นเอกสารข้อริเริ่มที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนาทางดิจิทัลและขยายความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน

                    2.9 ร่างข้อริเริ่มการออกแบบอนาคตและแผนปฏิบัติการสำหรับการร่วมสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนระหว่างอาเซียน - ญี่ปุ่น ค.ศ. 2023 - 2033 (Future Design and Action Plan for Innovative and Sustainable ASEAN-Japan Economic Co-Creation 2023-2033) เป็นเอกสารข้อริเริ่มที่กำหนดทิศทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ในระยะ 10 ปี ให้แน่นแฟ้นและเป็นรูปธรรมากยิ่งขึ้น เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ในปี 2566 ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ (1) การส่งเสริมความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงไซเบอร์-กายภาพ (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(3) การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีไร้พรมแดน และ (4) การตระหนักถึงความยั่งยืน

                    2.10 ร่างขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย (Terms of Reference of ASEAN-India Trade in Goods Agreement Joint Committee (AITIGA-JC)) เป็นการกำหนดขอบเขตหน้าที่และบทบาทของคณะกรรมการร่วมความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย ในการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย ซึ่งครอบคลุมขอบเขตการทำงาน องค์ประกอบของ AITIGA-JC การจัดตั้งคณะอนุกรรมการ กลไกการรายงานผล การจัดทำร่างความตกลง ความถี่ในการจัดการประชุม การตัดสินใจ ความช่วยเหลือด้านการเงิน การสนับสนุนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน การจัดทำถ้อยแถลงเอกสารลับ และการแก้ไขเอกสารขอบเขต

                    2.11 ร่างแผนการดำเนินการสำหรับการเจรจาความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย ปี ค.ศ. 2023 – 2024 (Work Plan for ASEAN-India Trade in Goods Agreement Negotiations 2023 – 2024) เป็นแผนการเจรจาความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย ซึ่งได้กำหนดกรอบเวลาและกำหนดการประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย โดยตั้งเป้าจะสรุปผลการเจรจาในเดือนธันวาคม 2567

                    2.12 ร่างโครงสร้างการเจรจาที่เป็นไปได้สำหรับการทบทานความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย (Possible Negotiating Structure for the Review of the ASEAN-India Trade in goods Agreement) เป็นโครงสร้างการเจรจาที่เป็นไปได้สำหรับการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน – อินเดีย โดยได้กำหนดองค์ประกอบของคณะเจรจา ประกอบด้วยคณะกรรมการร่วม และคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ จำนวน 8 คณะ ได้แก่ (1) การลดและยกเลิกภาษี (2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (3) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (4) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (5) การเยียวยาทางการค้า (6) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (7) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ และ (8) กฎหมาย

                    2.13 ร่างแผนการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกาและการขยายการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ปี ค.ศ. 2023 - 2024 (2023-2024 ASEAN-U.S. Trade and Investment Framework Arrangement (TIFA) and Expanded Economic Engagement (E3) Workplan) เป็นแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ที่จัดทำขึ้นทุกปี เพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยแผนการดำเนินงานฯ สำหรับปี 2566 - 2567 ครอบคลุมประเด็นสำคัญ อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย การอำนวยความสะดวกทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา ความยั่งยืน แนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ แรงงาน และเกษตร ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป

                    2.14 ร่างแผนงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหภาพยุโรป ปี ค.ศ. 2024 – 2025 (ASEAN-EU Trade and Investment Work Programme 2024-2025) เป็นแผนงานด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป ในช่วง 2 ปี ระหว่างปี 2567 - 2568 ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 5 ส่วน ได้แก่ (1) การหารือระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (2) การหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (3) การหารือภายใต้คณะทำงานร่วมด้านการค้าและการลงทุน (4) การหารือกับภาคเอกชน และ (5) การเสริมสร้างขีดความสามารถและความช่วยเหลือด้านเทคนิค

          3. ในการดำเนินการจัดทำเอกสารในข้อ 2 กระทรวงพาณิชย์ในฐานะหน่วยงานประสานงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการประสาน ประชุม และสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตลอด โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีข้อขัดข้องต่อร่างเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการต่างประเทศ (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เห็นว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 167 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 168 และมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น เมื่อร่างเอกสารจำนวน 14 ฉบับ ไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การให้ความเห็นชอบต่อร่างเอกสารจำนวน 14 ฉบับดังกล่าว จึงไม่เข้าข่ายลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ อย่างไรก็ตาม หากร่างเอกสารทั้ง 14 ฉบับ ยังไม่ใช่ร่างสุดท้าย ในกรณีที่มีการปรับแก้ขอให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องพิจารณาให้ร่างสุดท้ายเป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของไทย สามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นไปตามพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ไว้แล้ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8456

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!