WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

สรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะจำหวัดลำปาง

GOV4 copy copy

สรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะจำหวัดลำปาง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะจำหวัดลำปาง ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          สปน. รายงานว่า เดิม กฟผ. ได้ดำเนินการขยายเหมืองแม่เมาะ และโครงการแม่จาง (เพื่อการจัดหาแหล่งน้ำใช้ในการหล่อเย็นของเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า) ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ในช่วงปี 2521-2536 จึงมีความจำเป็นต้องอพยพราษฎรที่มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่อยู่แล้วไปอยู่ในพื้นที่บ้านท่าปะตุ่น-นาแขม (ปัจจุบันคือ บ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 และบ้านแม่เมาะหลวง หมู่ 8) ตำบลแม่เมาะ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่เมาะ และป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่จาง และที่บ้านใหม่รัตนโกสินทร์ หมู่ 5 ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่จาง (ตอนขุน) ซึ่งพื้นที่อพยพดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โดยราษฎรได้ปลูกสร้างบ้านเรือนและทำไร่ทำสวนในพื้นที่อพยพตั้งแต่ได้รับการจัดสรรจาก กฟผ. มาโดยตลอดแต่ไม่มีเอกสิทธิทำให้มีการร้องเรียนและเรียกร้องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลต่างๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกันตั้งแต่ปี 2536 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543 ราษฎรในพื้นที่อพยพประมาณ 1,000 คน ได้มาชุมนุมเรียกร้องให้ทางราชการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่อพยพ โดยมีความประสงค์ให้ทางราชการออกเอกสารสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น โฉนด หรือ น.ส. 3 เฉพาะที่อยู่อาศัย และ ส.ป.ก. 4-01 สำหรับที่ทำกิน ซึ่งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (คณะกรรมการติดตามฯ) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่อพยพจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ ตั้งแต่ปี 2543 สามารถดำเนินการจนลุล่วงเกือบทั้งหมดแล้ว โดยได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย และออก ส.ป.ก. 4-01 สำหรับที่ดินทำกิน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาการออกเอกสารสิทธิอยู่ ได้แก่ (1) กรณีมีราษฎรผู้ครอบครองที่ดินรองรับการอพยพ ครั้งที่ 1-4 ยังมิได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย จำนวน 10 แปลง (10 ราย) และ ออก ส.ป.ก. 4-01 สำหรับที่ดินทำกิน จำนวน 93 แปลง (2) กรณีการครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงว่าง (3) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์ใหม่มงคล (4) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และ (5) กรณีอื่นๆ ซึ่งคณะกรรมการติดตามฯ ได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 

          1. การประชุมคณะกรรมการการติดตามฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 และครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 สรุปได้ ดังนี้ 

                  1.1 กรณีวัดใหม่เวียงสวรรค์ จังหวัดลำปาง

 

ประเด็น

 

ผลการดำเนินการ/สาระสำคัญ/มติที่ประชุม

กรณีวัดใหม่เวียงสวรรค์ จังหวัดลำปาง ต้องการทราบความชัดเจนจากที่ประชุมคณะกรรมการติดตามฯ ว่าการดำเนินการตั้งวัดในพื้นที่นั้นต้องดำเนินการอย่างไร สามารถใช้มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 ว่าอยู่ในความดูแลของจังหวัด เพื่อดำเนินการต่อเนื่องได้หรือไม่

 

ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลฯ) ประสานสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดลำปาง ขอทราบรายละเอียดการขอตั้งวัด และตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าตำแหน่งวัดใหม่เวียงสวรรค์อยู่ในผังจัดสรรรองรับการอพยพหรือไม่ (วัดใหม่เวียงสวรรค์/ที่พักสงฆ์เวียงสวรรค์/สำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ เป็นสถานที่เดียวกันหรือไม่) เดิมตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือไม่ และมีการกำหนดตำแหน่งวัดในผังจัดสรรรองรับการอพยพไว้ในตำแหน่งใด รวมทั้งกรณีสำนักสงฆ์อื่น ขอให้ตรวจสอบเพิ่มเติมด้วย โดยขอให้ดำเนินการเฉพาะที่อยู่ในผังจัดสรรเท่านั้น

 

 

                  1.2 สรุปผลการตรวจสอบข้อมูลการออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน และ ส.ป.ก. 4-01 ดังนี้ 

หน่วย : แปลง

การอพยพ

ครั้งที่

จำนวน

(ราย/ครัวเรือน)

ผังจัดสรร

ที่อยู่อาศัย

การออก

โฉนดที่ดิน

ไม่ได้ออก

โฉนดที่ดิน

ผังจัดสรร

ที่ดินทำกิน

ออก

... 4-01

ไม่ได้ออก ... 4-01

1

381

373

731

3

134

325

10

2

237

158

309

-

195

348

83

3

1,472

1,484

2,393

7

-

-

-

4

292

290

290

-

-

-

-

รวม

2,382

2,305

3,723

10

329

673

93

 

 

          2. การประชุมคณะกรรมการติดตามฯ ครั้งที่ 2/ 2565 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลฯ ได้รายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จำหวัดลำปาง ดังนี้

                  2.1 รายงานผลการตรวจสอบที่ดินแปลงว่างที่เหลือจากการจัดสรรให้แก่ราษฎรในพื้นที่อพยพราษฎร ครั้งที่ 1-4 อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวน 458 แปลง และที่ดินที่ได้รับการจัดสรรให้แก่ราษฎรในพื้นที่อพยพ ครั้งที่ 5 จำนวน 7 แปลง รวมทั้งสิ้น 465 แปลง

หน่วย : แปลง

ประเภทที่ดิน แปลงว่าง

จำนวน/แปลง 

ไม่มีการบุกรุก

มีการบุกรุกและครอบครอง

รวม

ราษฎร

หมู่บ้าน/

วิสาหกิจชุมชน

สำนักสงฆ์

ใหม่มงคล

ปรากฏเลขแปลง

437

141

296

218

70

8

ไม่ปรากฏเลขแปลง

21

3

18

15

3

-

รวมที่ดินที่มีการตรวจสอบ

458

144

314

233

73

8

กฟผ. ได้นำที่ดินแปลงว่างไปจัดสรรให้แก่ราษฎรในพื้นที่อพยพครั้งที่ 5 (ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนบ้านเวียงหงส์ล้านนา)

7

-

-

-

-

-

รวมที่ดินเหลือจากการจัดสรรฯ ครั้งที่ 1-4

465

 

 

 

                  2.2 กรณีสำนักสงฆ์ใหม่มงคลและกรณีสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์

 

ประเด็น

 

ผลการดำเนินการ/สาระสำคัญ/มติที่ประชุม

(1) กรณีที่ดินแปลงว่างที่สำนักสงฆ์ใหม่มงคลครอบครอง จำนวน 8 แปลง

 

ให้สำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง อำเภอแม่เมาะ และ กฟผ. รวบรวมข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการติดตามฯ ทั้งนี้ จากผลการสำรวจ พบว่า

- สำนักสงฆ์ใหม่มงคลยังไม่มีสภาพเป็นวัดตามกฎหมาย แต่เป็นเพียงที่พักสงฆ์

- สำนักสงฆ์ใหม่มงคลเข้าครอบครองที่ดินแปลงว่าง จำนวน 8 แปลง ได้แก่ที่ดินแปลงว่างเลขที่ 0311-0318 โดยมีเนื้อที่แปลงละ 1 ไร่ รวมทั้งสิ้น 8 ไร่ ได้ทำประโยชน์เป็นที่ตั้งวัดเต็มทั้งแปลง ทั้งนี้ ยังไม่เคยมีการรังวัดตรวจสอบตามหลักวิชาการแต่อย่างใด

- เมื่อปี 2546 ราษฎรบ้านใหม่มงคลได้เลือกพื้นที่ว่างที่ไม่มีราษฎรเข้าอยู่อาศัยและร่วมกันแผ้วถางปลูกสร้างอาคารเพื่อเป็นที่พักสงฆ์และได้นิมนต์พระภิกษุมาจำวัด เพื่อให้ราษฎรได้บำเพ็ญบุญตามแนวทางพระพุทธศาสนา โดยได้ก่อสร้างเสนาสนะต่าง เช่น ศาลาบำเพ็ญบุญ กุฏิสงฆ์ ศาลาธรรม โรงครัว ห้องน้ำ หอระฆัง หอกลอง และรั้วคอนกรีต โดยปัจจุบันมีพระพิเด่น ฐิตวโร เป็นเจ้าสำนักผู้ดูแลสำนักสงฆ์ใหม่มงคล แต่เนื่องจากกฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา .. 2559 ได้กำหนดว่าการจะตั้งวัดได้จะต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินที่จะใช้สร้างวัด หรือหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อสร้างวัดจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐในกรณีที่ดินที่จะใช้สร้างวัดเป็นที่ดินที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐดูแลรักษา

(2) ผลการตรวจสอบกรณีสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์

 

- สำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ยังไม่มีสภาพเป็นวัดตามกฎหมาย แต่เป็นเพียงที่พักสงฆ์เท่านั้น กล่าวคือ เป็นที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุ ซึ่งกรณีที่จะสร้างวัดได้มี 2 ลักษณะ คือ 1) ที่ดินของเอกชน (โฉนดที่ดิน..3, ..3 และ ..3 ) โดยต้องมายื่นเรื่องต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด พร้อมทำสัญญายกที่ดินให้สร้างวัดและเสนอเรื่องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางพิจารณา และ 2) ที่ดินของราชการ (ที่ป่าไม้ ที่ ... ที่นิคมสร้างตนเอง และที่ราชพัสดุ) ต้องให้ส่วนราชการที่เป็นผู้ดูแลที่ดินดังกล่าวมีหนังสืออนุญาตให้สร้างวัด โดยจะพิจารณาตามกฎกระทรวงการอนุญาตให้สร้างวัด .. 2559

- วัดใหม่เวียงสวรรค์/ที่พักสงฆ์เวียงสวรรค์/สำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ เป็นสถานที่เดียวกัน

- เดิมสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและมีการกำหนดตำแหน่งไว้ในผังจัดสรรรองรับการอพยพ บริเวณหมู่ที่ 9 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื้อที่ 1-0-86 ไร่

- เมื่อปี 2540 ราษฎรได้ขอใช้พื้นที่สวนสาธารณะและสระน้ำบริเวณหน้าหมู่บ้านเวียงสวรรค์ (เป็นที่สาธารณประโยชน์ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548) จำนวน 6 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 15-2-50 ไร่ เพื่อสร้างวัดใหม่เวียงสวรรค์ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการวางผังและก่อสร้างที่จัดสรรได้พิจารณาเรื่องราวดังกล่าวในคราวประชุมครั้งที่ 2/2540 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 แล้ว มีมติให้วัดใหม่เวียงสวรรค์ดำเนินการจัดตั้งวัดก่อนโดยคณะอนุกรรมการดังกล่าวไม่ขัดข้องในการใช้พื้นที่หากได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดจากกระทรวงศึกษาธิการโดยถูกต้อง

- ผลการตรวจสอบแนวเขตสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์หรือวัดใหม่เวียงสวรรค์ พบว่า 1) พื้นที่สวนสาธารณะเดิม มีเนื้อที่ตามผังจัดสรรทั้งสิ้น 15-2-50 ไร่

2) สำนักสงฆ์เวียงสวรรค์เคยได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการวางผังและการก่อสร้างที่จัดสรรฯ ให้ใช้พื้นที่ จำนวน 6 ไร่ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2540 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 3) ปัจจุบันมีบางส่วนของที่สาธารณะอยู่ระหว่างดำเนินการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 1-3-20 ไร่ 4) วัดใหม่เวียงสวรรค์ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินเกือบเต็มทั้งแปลง 5) กฟผ. และเทศบาลตำบลแม่เมาะได้ลงพื้นที่เพื่อทำแผนที่สังเขปโดยการกำหนดตำแหน่งจุดพิกัดตามระยะวงรอบที่ดินที่ครอบครองแล้วพบว่า มีขนาดพื้นที่ประมาณ 21-3-42.78 ไร่ (พื้นที่จริงมีเนื้อที่มากกว่าที่กำหนดไว้ในผังจัดสรร) ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการรังวัดตามหลักวิชาการแต่อย่างใด และ 6) ปรากฏสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 14 หลัง เช่น ศาลาการเปรียญ ห้องน้ำ กุฏิ วิหาร รูปปั้นพระแม่กวนอิม ศาลาธรรมสังเวช ศาลาโรงครัว ศาลาหอระฆัง และศาลาเก็บของ

 

 

                  2.3 รายงานสรุปความคืบหน้ากรณีไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ (โฉนดที่ดิน) จำนวน 10 ราย (แปลง) ดังนี้ 

 

ชื่อ-สกุล

สถานะ

1. นายสมนึก เครือบุญมา (เสียชีวิต)

มีทายาทครอบครองอยู่

2. นายแก้ว ปันจักร์ (เสียชีวิต)

เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว

3. พันเอก อดุลย์ คำขัด (เสียชีวิต)

เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว

4. นายขัน เทพปินตา (เสียชีวิต)

มีทายาทครอบครองอยู่

5. นายสุจิตร์ เขียวโสด

เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว

6. นายสุนทร สัจจวะทีกุล (เสียชีวิต)

เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว

7. นายวศิน เสริมษมา (เสียชีวิต)

ไม่มีข้อมูลทางทะเบียนราษฎร

8. นายดิเรกชัย ขัตติวงศ์

เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ครอบครองคือ นางวนิดา ชุณหะ

9. นางสาวปราณี ตระกูลสันติชัย

เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ซื้อไม่แสดงตัว

10. นางฟองแก้ว จันตภัยโรจน์ (เสียชีวิต)

เชื่อได้ว่าซื้อขายแล้ว ผู้ครอบครองคือ นางจุฬาลักษณ์ ศักดิ์สงค์

 

                  ทั้งนี้ อำเภอแม่เมาะได้แจ้งแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อราษฎรผู้มีสิทธิออกโฉนดที่ดินด้วยแล้ว รวมทั้งที่ประชุมคณะกรรมการติดตามฯ มีมติ ดังนี้ (1) กรณีที่ยังไม่ได้มีการออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ครอบครองต่อเนื่อง จากผู้ที่มีสิทธิจำนวน 10 ราย มอบหมายให้ กฟผ. ร่วมกับอำเภอแม่เมาะประชาสัมพันธ์ปิดประกาศในพื้นที่แปลงดังกล่าว และทำความเข้าใจกับผู้ครอบครองปัจจุบันให้ทราบถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิได้รับเอกสารสิทธิตามประกาศคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดสิทธิการครอบครองที่ดินในการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง รวมทั้งแนวทางการดำเนินการต่อเนื่องตามข้อกฎหมายด้วย และ (2) กรณีการแก้ไขปัญหาการบุกรุก มอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลฯ และคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ โดยประสานงานกับจังหวัดลำปางพิจารณากำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงว่าง ว่าพื้นที่ใดหรือแปลงใดควรกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินของรัฐประเภทใด เช่น ที่ราชพัสดุ หรือที่สาธารณประโยชน์

          3. ในคราวประชุมคณะกรรมการติดตามฯ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 จังหวัดลำปางได้รายงานสรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการติดตามฯ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 มีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

ผลการดำเนินการ/สาระสำคัญ/มติที่ประชุม

(1) กรณีมีราษฎรผู้ครอบครองที่ดินรองรับการอพยพครั้งที่ 1-4 ยังมิได้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิ จำนวน 10 ราย

 

อำเภอแม่เมาะได้ดำเนินการจัดทำประกาศ เรื่อง ขอให้ผู้ครอบครองที่ดินมาแสดงตน เพื่อดำเนินการรังวัดออกโฉนดที่ดิน ลงวันที่ 30 กันยายน2565 โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้

        1) ผู้มาแสดงตนและได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ จำนวน 7 ราย ได้แก่ (1) นายสมนึก เครือบุญมา (เสียชีวิต) ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นางอำพร คชบุตร และนายดนัย บุญสารวัง ได้ที่ดินมาโดยการซื้อและมีหลักฐานการซื้อขายที่ดิน (2) นายแก้ว ปันจักร์ (เสียชีวิต) ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นายวุธพล ตันติอำไพ ได้ที่ดินมาโดยการซื้อขายมีหลักฐาน โดยซื้อจากผู้เสียชีวิต มีพยานบุคคล (3) พันเอก อดุลย์ คำขัด (เสียชีวิต) ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นางปรีดาทิพย์ อำพนธ์ เป็นผู้จัดการมรดกของพันเอก อดุลย์ คำขัด (4) นายขัน เทพปินตา (เสียชีวิต) ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นายสมบูรณ์ เทพปินตา เป็นบุตร (5) นายสุจิตร์ เขียวโสด ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นายสมหวัง เครือบุญมา ได้ที่ดินมาโดยการซื้อขายแต่ไม่มีหลักฐานการซื้อขายที่ดิน (6) นายดิเรกชัย ขัตติวงศ์ ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นางสาววิไล วงค์แก้วมูล ไม่ปรากฏหลักฐานการได้มา และ (7) นางฟองแก้ว จันตภัยโรจน์ ผู้ครอบครองคนปัจจุบัน คือ นายสมาน ปิดกันภัย มีเอกสารหลักฐานการซื้อขายที่ดิน ทั้งนี้ อำเภอแม่เมาะได้แจ้งให้ผู้ครอบครองทั้ง 7 ราย ดำเนินการเพื่อออกเอกสารสิทธิต่อไปแล้ว โดยให้ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาชี้ขาดสิทธิ และให้ กฟผ. จัดทำแผนที่แสดงตำแหน่งทั้ง 7 แปลง ในระวางแผนที่มาตราส่วน 1 : 4000 และแจ้งข้อมูลให้สำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง หรือศูนย์อำนวยการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน เพื่อดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินต่อไป

        2) ไม่มาแสดงตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 ราย ได้แก่ (1) นายสุนทร สัจจวะทีกุล เสียชีวิตแล้วและมีทายาท คือ นางสาวมณฑาทิพย์ บูระผลิต (บุตร) (2) นายวศิน เสริมษมา เสียชีวิตแล้วและมีทายาท คือ นางสาวมัลลิกา เธียรปรีชา (บุตร) และ (3) นางสาวปราณี ตระกูลสันติชัย ซึ่งอำเภอแม่เมาะได้แจ้งทายาทและผู้ครอบครองทั้ง 3 ราย ทางไปรษณีย์ เพื่อลงทะเบียนตอบรับในการให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่ราษฎรมิได้มีการติดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ทั้งนี้ ให้อำเภอแม่เมาะพิจารณาสอบสวนผู้ทำประโยชน์ในที่ดินให้ได้ความชัดเจนและมีหนังสือแจ้งราษฎรทั้ง 3 ราย พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือเพื่อให้ยืนยันความประสงค์

(2) กรณีการครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงว่าง

 

อำเภอแม่เมาะได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ที่ประชุมมีมติ ดังนี้

        1) กรณีที่ส่วนราชการได้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยมีการตั้งสำนักราชการบ้านเมืองแล้ว อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวถือว่าเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินโดยเฉพาะ ให้ดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยมีธนารักษ์เป็นผู้ดูแล 

        2) กรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ และขอรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยให้นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ดูแลร่วมกัน ตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ .. 2497

        3) กรณีที่ดินนอกเหนือจากข้อ 1) และ 2) ให้ อปท. ดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยอำเภอแม่เมาะจะประสาน อปท. เพื่อจำแนกประเภทของที่ดินที่จะนำมาจัดหาผลประโยชน์และแจ้งความประสงค์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมทั้งจะเสนอโครงการจัดหาผลประโยชน์ในคราวเดียวกัน รวมทั้งการเสนอแนวทางเพื่อกำหนดสถานะหรือการบริหารจัดการของที่ดินแปลงว่างดังกล่าว ให้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน โดยให้จังหวัดเป็นผู้ดูแล

(3) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์ใหม่มงคล

 

กำนันตำบลแม่เมาะ (นายไพรัตน์ เมืองดี) ได้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดลำปาง เพื่อพิจารณาตั้งเป็นวัดใหม่มงคลแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ทั้งนี้ หากไม่ได้เป็นผู้ได้รับผลกระทบ การขอตั้งสำนักสงฆ์/วัด ในผังที่กำหนดให้เป็นที่ดินแปลงว่างนั้น จังหวัดควรพิจารณาเสนอขอให้กำหนดที่ดินแปลงว่างเป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ขออนุญาตใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์หรือวัด โดยดำเนินการตามกฎหมายที่ราชพัสดุและกฎหมายคณะสงฆ์หรือดำเนินการจัดให้เช่าตามมาตรา 10 และ 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยให้จังหวัดเป็นผู้ดูแล

(4) กรณีขอจัดตั้งสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

 

- จากการรังวัดตรวจสอบพื้นที่บริเวณสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ ผลการรังวัดปรากฏว่าเป็นพื้นที่ของสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์ เนื้อที่ 14-0-17 ไร่ โดยเป็นที่สาธารณประโยชน์ (สระน้ำ) เนื้อที่ 7-2-27 ไร่ และเป็นประปาหมู่บ้านเวียงสวรรค์ เนื้อที่ 0-1-48 ไร่ การใช้ที่ดินตั้งสำนักสงฆ์/วัด ที่ได้รับผลกระทบในผังที่กำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์นั้นมีแนวทางที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างชัดเจน คือ จังหวัดควรพิจารณาเสนอขอเปลี่ยนตำแหน่งแปลงที่ได้มีการจัดสรรให้ และหากเห็นว่าเป็นการใช้พื้นที่เกินกว่าที่ได้รับการจัดสรร พื้นที่ส่วนที่เกินสามารถพิจารณาให้เป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้ พศ. ขออนุญาตใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์หรือวัด โดยดำเนินการตามกฎหมายที่ราชพัสดุและกฎหมายคณะสงฆ์ หรือดำเนินการจัดให้เช่าตามมาตรา 10 และ 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยให้จังหวัดเป็นผู้ดูแล

- เดิมสำนักสงฆ์เวียงสวรรค์อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและมีการกำหนดตำแหน่งไว้ในผังจัดสรรรองรับการอพยพ บริเวณหมู่ที่ 9 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 1-0-86 ไร่ ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้จังหวัดเป็นผู้ดูแลและพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(5) กรณีอื่น

 

นอกเหนือจากกรณีข้างต้น ให้จังหวัดเป็นผู้ดูแลและพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8460

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!