WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

(ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP 28)

GOV 17

(ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (ASEAN Joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP 28)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ (ทส.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อ (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 28

          2. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้ความเห็นชอบ (Endorsement) (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ และมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรอง (Adoption) (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก

          ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน ครั้งที่ 17 (17th ASEAN Ministerial Meeting on the Environment : 17th AMME) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2566 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

          สาระสำคัญ 

          (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

          1. การดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียนตามพันธกรณีภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการคณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (AWGCC Action Plan) การสื่อสารการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDC) และการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          2. การดำเนินงานภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและการพัฒนาศักยภาพของประเทศพัฒนาแล้ว การพัฒนายุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำโดยมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และการส่งเสริมความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

          3. ประเด็นที่ต้องการเรียกร้องให้เกิดการดำเนินงานภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ได้แก่ การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและการพัฒนาศักยภาพโดยประเทศพัฒนาแล้ว การเน้นย้ำการเร่งระดมเงินสนับสนุนให้ได้ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2566 การเงินเพื่อการสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage) และการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8741

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!