WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

GOV3 copy copy

สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566) และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดย สปน. จะประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนและมอบหมายให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยให้ สปน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการและสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566)

               1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111* รวมทั้งสิ้น 13,877 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 11,757 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 84.72 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,120 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 15.28

 1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้

                  (1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1,232 เรื่อง กระทรวงการคลัง 400 เรื่อง กระทรวงคมนาคม 292 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 240 เรื่อง และกระทรวงสาธารณสุข 215 เรื่อง ตามลำดับ

                  (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 222 เรื่อง การไฟฟ้านครหลวง 136 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 135 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค 107 เรื่อง และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 61 เรื่อง ตามลำดับ

                  (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 668 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 205 เรื่อง สมุทรปราการ 174 เรื่อง ปทุมธานี 171 เรื่อง และชลบุรี 161 เรื่อง ตามลำดับ

          2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปได้ ดังนี้

               2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีจำนวนการติดต่อเรื่องร้องทุกข์ 13,877 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 2,865 ครั้ง (มีจำนวนการติดต่อเรื่องราวร้องทุกข์ 16,742 ครั้ง)

               2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่ 

                  (1) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน เช่น การแสดงดนตรีสด การเปิดเพลงเสียงดังของร้านอาหารและสถานบันเทิง การรวมกลุ่มมั่วสุมดื่มสุรา และเสียงจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์ 1,411 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,348 เรื่อง (ร้อยละ 95.53)

                  (2) ไฟฟ้า เช่น ปัญหาที่เกิดจากการให้บริการไฟฟ้า ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง ไฟฟ้าตกบ่อยครั้ง ขอขยายเขตไฟฟ้า ขอให้ลดอัตราค่าไฟฟ้า รวมทั้งขอให้ตรวจสอบการคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงกว่าปกติ และขอผ่อนผันการชำระค่าไฟฟ้า 1,260 เรื่องดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,149 เรื่อง (ร้อยละ 91.19)

                  (3) การเมือง เช่น การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองนโยบายของพรรคการเมือง และการจัดตั้งรัฐบาล 769 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 754 เรื่อง (ร้อยละ 98.05)

                  (4) โทรศัพท์ เช่น การให้บริการผ่านโทรศัพท์ของหน่วยงานของรัฐโดยมีการให้รอสายนาน ต่อสายไปยังหน่วยงานย่อยภายในหลายครั้ง และคู่สายเต็ม 637เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 577 เรื่อง (ร้อยละ 90.58)

                  (5) น้ำประปา เช่น น้ำประปาไม่ไหลและไหลอ่อนเป็นบริเวณกว้างการขอขยายเขตการให้บริการน้ำประป่า ท่อน้ำประปาแตกชำรุด รวมทั้งน้ำประปาขุ่นและมีตะกอน 589 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 538 เรื่อง (ร้อยละ 91.34)

                  (6) ประเด็นกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ปัญหามิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนหลอกลวงให้โอนเงิน หลอกลวงซื้อสินค้า รวมทั้งหลอกลวงให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจทางโทรศัพท์และทางออนไลน์ 472 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 324 เรื่อง (ร้อยละ 68.64) อย่างไรก็ตาม เรื่องร้องทุกข์มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปิงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและวิธีการของมิจฉาชีพมากขึ้นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนและติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง

                  (7) ประเด็นเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง เสรีภาพ เช่น การขอความช่วยเหลือกรณีการถูกข่มขู่คุกคาม ถูกทำร้ายร่างกาย และถูกหมิ่นประมาท 375 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 317 เรื่อง (ร้อยละ 84.53)

                  (8) ถนน เช่น ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมถนนชำรุด ทรุดตัว ขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลท์หรือถนนคอนกรีต ซึ่งมีสาเหตุมาจากถนนมีอายุการใช้งานมานานเป็นหลุมเป็นบ่อ และมีน้ำขัง 306 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 248 เรื่อง (ร้อยละ 81.05) ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เรื่องร้องทุกข์มีจำนวนลดลง ร้อยละ 32.89 (มีเรื่องร้องทุกข์จำนวน 456 เรื่อง) ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปรับปรุงซ่อมแซมจนสามารถใช้งานได้ปกติในหลายพื้นที่แล้ว

                  (9) กลิ่น เช่น ขอให้แก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นรบกวนจากขยะ การทิ้งขยะของเพื่อนบ้าน การทิ้งขยะของร้านอาหาร รวมทั้งกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ที่มาจากการทำฟาร์มและมูลสัตว์เลี้ยงของเพื่อนบ้าน 287 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 249 เรื่อง (ร้อยละ 86.76)

                  (10) การจัดระเบียบการจราจร เช่น ปัญหาการจราจรติดขัดโดยขอให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดกวดขันการรักษาวินัยจราจรและพฤติกรรมการขับขี่รถประเภทต่างๆ ด้วยความเร็วสูง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีการร้องทุกข์เกี่ยวกับการจัดระเบียบการจราจรมากขึ้น 283 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 267 เรื่อง (ร้อยละ 94.35)

          3. ข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ ดังนี้

               3.1 สถิติการใช้บริการช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พบว่า มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวได้จากการใช้บริการผ่านช่องทาง 1111 เพียงหน่วยงานเดียว ซึ่งอาจไม่สามารถสะท้อนข้อเท็จจริงของปัญหาหรือความต้องการของประชาชนในภาพรวมของประเทศได้

               3.2 ประชาชนใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยจะเห็นว่าจำนวนการใช้บริการช่องทางไลน์สร้างสุข (@PSC1111) มีปริมาณมาก สะท้อนว่าประชาชนเลือกใช้บริการช่องทางที่เข้าถึงง่าย และสะดวก รวมทั้งมีความคาดหวังต่อการให้บริการที่รวดเร็วจากหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นความท้าทายของการบริหารจัดการภาครัฐที่จะต้องให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐทั้งภายในและภายนอกองค์กร

               3.3 สปน. ได้พัฒนาช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์ให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกใช้บริการช่องทางที่ง่ายและสะดวก เช่น Line : @PSC1111 และแอปพลิเคชัน PSC 1111 รวมทั้งได้พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อรองรับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์จากส่วนราชการให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกันทั่วประเทศ (Big Data) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งในระดับกระทรวง กรม และหน่วยงานอิสระ เข้าร่วมเชื่อมโยงฐานข้อมูลแล้ว 15 หน่วยงาน ซึ่งยังไม่ครอบคลุมในทุกกระทรวงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และระดับท้องถิ่น

               3.4 ปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญยังเป็นปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเสียงดังรบกวนจากการแสดงดนตรีสดและการเปิดเพลงเสียงดังของสถานบันเทิง การรวมกลุ่มดื่มสุรา การขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์และเหตุเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่น เช่น กลิ่นเหม็นจากการทิ้งขยะ กลิ่นจากมูลสัตว์ ที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยง่ายและบ่อยครั้ง ประกอบกับปัจจุบันประชาชนมีช่องทางในการเข้าถึงการร้องเรียนร้องทุกข์ แจ้งเหตุ ได้ง่าย สะดวก และตลอดเวลา จึงส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวมีจำนวนมากในทุกไตรมาส

          4. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒณาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน ดังนี้

               4.1 ควรให้หน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและระดับท้องถิ่นที่มีระบบสารสนเทศเรื่องร้องทุกข์ และมีความพร้อม กำหนดแนวทางเข้าร่วมการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์กับ สปน. เพื่อการแบ่งปันข้อมูลและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงาน (Data Sharing and Connected) และเพื่อขับเคลื่อนการบริการประชาชนด้านรับเรื่องร้องทุกข์ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

               4.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญเคร่งครัดในการตรวจสอบ ปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อลดการเกิดเหตุในพื้นที่และควรประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดในขณะเดียวกันต้องสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการปฏิบัติตนที่ไม่สร้างผลกระทบต่อส่วนรวมเพื่อสังคมที่อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข

________________

*มีช่องทางการร้องเรียน ได้แก่ (1) สายด่วนของรัฐบาล 1111 (2) ตู้ ปณ. 1111/ไปรษณีย์/โทรสาร (3) ไลน์สร้างสุข (@PSC 111) (4) โมบายแอปพลิเคชัน PSC 1111 (5) จุดบริการประชาชน 1111 และ (6) เว็บไซต์ (www.1111.go.th

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8984

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!