WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา

GOV 26

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          สาระสำคัญ

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ขับเคลื่อน เร่งรัดการปฏิรูประบบทันตสาธารณสุขไทย และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่า ปัจจุบัน งานด้านทันตสาธารณสุขไทยใน สธ. ยังขาดหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย การวางแผน หรือยุทธศาสตร์ด้านทันตสาธารณสุขระดับประเทศ ขาดระบบงานการส่งเสริมป้องกัน การรักษาด้านทันตกรรม ขาดหน่วยงานจัดการด้านบุคลากรทั้งระบบ การจัดการด้านทรัพยากร งบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ ขาดหน่วยงานบริหาร อำนวยการ กำกับ ประเมินผล ขาดหน่วยงานสารสนเทศด้าน ทันตกรรม ทันตสาธารณสุข ระดับประเทศและระหว่างประเทศ ขาดหน่วยงานสนับสนุนด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการวิจัยด้านทันตกรรม ขาดหน่วยงานหลักด้านทันตสาธารณสุขในชุมชนท้องถิ่น การบริการปฐมภูมิระดับประเทศ ทำให้งานด้านทันตสาธารณสุขที่จะมียุทธศาสตร์ นโยบายระดับประเทศที่จะกำหนดแผนงานใหม่ๆ ให้ครอบคลุมระดับภูมิภาค ทั่วประเทศ แทบไม่สามารถเกิดได้ ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนายกระดับการปฏิรูประบบงานด้านทันตสาธารณสุขไทยเกิดผลสำเร็จ ทันต่อสถานการณ์ปัญหาด้านทันตสุขภาพของประชาชนไทยแล้ว จึงมีข้อเสนอแนะในการจัดตั้ง “กรมทันตสุขภาพ” ซึ่งแบ่งโครงสร้างการบริหารภายในเป็น 6 กอง ประกอบด้วย (1) กองสนับสนุน ส่งเสริมทันตสุขภาพ (2) กองพัฒนาบริการรักษาทันตสุขภาพ (3) กองพัฒนาส่งเสริมคุณภาพบุคลากร (4) กองบริหารอำนวยการด้านทันตสุขภาพ (5) กองเทคโนโลยี นวัตกรรมและวิจัยด้านทันตกรรม และ (6) กองทันตสาธารณสุขและปฐมภูมิ

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ ทันตแพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          3. สธ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ตามข้อ 1 แล้ว เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดยสรุปได้ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การจัดตั้งกรมทันตสุขภาพ ซึ่งแบ่งโครงสร้างการบริหารภายในเป็น 6 กอง ประกอบด้วย

       (1) กองสนับสนุน ส่งเสริมทันตสุขภาพ

       (2) กองพัฒนาบริการรักษาทันตสุขภาพ

       (3) กองพัฒนาส่งเสริมคุณภาพบุคลากร

       (4) กองบริหารอำนวยการด้านทันตสุขภาพ

       (5) กองเทคโนโลยี นวัตกรรมและวิจัยด้านทันตกรรม

       (6) กองทันตสาธารณสุขและปฐมภูมิ

 

สธ. อยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณาการจัดตั้งกรมทันตสุขภาพตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) และตามหลักการและแนวทางของสำนักงาน ... เรื่องการยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่เดิม (One-In , X-Out) โดยพิจารณาเป้าหมายที่สำคัญ คือ การเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขไทย และ สธ. มีนโยบายสำคัญเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลทันตกรรม คือ นโยบาย 1 ทันตแพทย์ 1 ยูนิตทำฟัน 1 ผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) เห็นชอบให้กำหนดเป้าหมาย คือ ทุกกลุ่มวัยไม่มีฟันผุ หรือฟันดี ไม่มีผุ (cavity free) และให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งดำเนินการตามนโยบาย 1 ทันตแพทย์ 1 ยูนิตทำฟัน 1 ผู้ช่วยทันตแพทย์ เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากภายในปีงบประมาณ 2566 และเพื่อให้เกิดการพัฒนายกระดับการปฏิรูประบบด้านทันตสาธารณสุขอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ต่อประชาชน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 สิงหาคม 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A8989

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!