WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2566

Gov ภูมิธรรม07

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2566

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2566 และแนวโน้ม ไตรมาสที่ 3/2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ 

          สาระสำคัญ 

          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2/2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 5.6 ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1/2566 ที่หดตัวร้อยละ 3.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิตเพื่อส่งออกในหลายกลุ่มหดตัว อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 2/2566 อาทิ Hard Disk Drive จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ส่งผลกระทบต่อการลงทุนและกำลังซื้อของผู้บริโภค เหล็กและเหล็กกล้า จากการลดคำสั่งซื้อของลูกค้าเพื่อรอดูทิศทางราคาเหล็ก รวมถึงความต้องการบริโภคเหล็กปลายน้ำชนิดต่างๆ ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหดตัวตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ที่มิใช่ยางล้อ เนื่องจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้กำลังซื้อสินค้าของลูกค้าลดลง โดยเฉพาะจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้ารายสำคัญของไทย สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 2/2566 อาทิ รถยนต์ จากตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวในรถยนต์ทุกประเภท อย่างไรก็ตามตลาดในประเทศมีการชะลอตัวเนื่องจากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น การผลิตน้ำตาล เนื่องจากความต้องการที่มากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงมีปริมาณอ้อยเข้าหีบมากกว่าปีก่อน

          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากภาคการส่งออกที่ยังคงชะลอตัว จากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังอ่อนแอ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในประเทศยังคงขับเคลื่อนได้ จากอานิสงส์ของภาคการท่องเที่ยว ช่วยพยุงการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ สะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อตอบสนองในประเทศ ยังคงขยายตัวโดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม 

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกรกฎาคม 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ

          1. Hard Disk Drive (HDD) หดตัวร้อยละ 39.13 ตามการพัฒนาเทคโนโลยีความจุทำให้ปริมาณการผลิตน้อยลง แต่ราคาต่อหน่วยสูงขึ้นตามปริมาณความจุ รวมถึงความต้องการใช้ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ Solid State Drive (SSD) มีสัดส่วนการใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ทดแทน HDD เพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีฐานการผลิต SSD ในประเทศ

          2. เฟอร์นิเจอร์ หดตัวร้อยละ 44.93 จากเครื่องเรือนทำด้วยไม้ และทำด้วยโลหะจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ลูกค้าลดคำสั่งซื้อ และฐานสูงจากปีก่อนที่มีคำสั่งซื้อส่วนหนึ่งมาไทย หลังจากที่จีนปิดประเทศ รวมถึงในปีที่แล้วมีคำสั่งซื้อพิเศษเป็นชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้มีปริมาณลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 

          3. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 9.73 จากความต้องการของตลาดโลกชะลอตัวและสถานการณ์สงครามการค้าของสินค้าเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐฯ มีความตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลให้ขาดแคลนวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกรกฎาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

          1. รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 5.34 ตามการขยายตัวของตลาดส่งออก อย่างไรก็ดี การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศลดลง เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สถาบันการเงินมีการเข้มงวดในการให้สินเชื่อมากขึ้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลต่ออุปสงค์ในประเทศ

          2. การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 4.99 ตามความต้องการที่เข้าสู่ระดับปกติ หลังการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง

          แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2566

          อุตสาหกรรม เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา และอาจส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐมีความต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

          อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัว เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิต การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง เนื่องจากสินค้าหลักที่สำคัญ เช่น วงจรรวมยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องจับตาสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และไต้หวันที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

          อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) จะยังคงชะลอตัวจากอุปสงค์ความต้องการผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มลดลง แต่ในส่วนของปริมาณการผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางคาดการณ์ว่า จะกลับมาขยายตัว จากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ในส่วนของถุงมือยางคาดว่าปริมาณการผลิตจะกลับมาขยายตัวภายหลังจากลดลงต่อเนื่อง 4 ไตรมาส

          อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวยังส่งสัญญาณที่ดี รวมถึงอุปสงค์การนำเข้าสินค้าจากตลาดต่างประเทศ อาทิ ความต้องการนำเข้าน้ำตาลยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี 10 ตุลาคม 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A10346

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!