WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

การรายงานผลการเดินทางไปราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

Gov 21

การรายงานผลการเดินทางไปราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

          คณะรัฐมนตรีรับทราบการรายงานผลการเดินทางไปราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ดศ. รายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (นายสุทธิเกียรติ วีระกิจพานิช) เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม National ICT Roundtable ภายใต้งาน Huawei Connect 2023 ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2566 ณ นครเซี่ยงไฮ้ จีน สรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

1. Huawei Connect 2023

 

- เป็นงานประชุมใหญ่ประจำปีของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับส่งเสริมอุตสาหกรรมไอซีทีให้มีความเปิดกว้างและสามารถประสานงานความร่วมมือระหว่างกันเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมได้

- หัวข้อหลักของงานในปีนี้ คือ “Accelerate Intelligence” หรือการเร่งรัดให้อุตสาหกรรมไปสู่ความเป็นอัจฉริยะ โดยมีผู้ร่วมงาน เช่น ผู้แทนระดับสูงของภาครัฐ ภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี และผู้มีส่วนได้เสียภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จากทั่วโลก

2. การประชุม National ICT Roundtable

 

- เป็นการประชุมโต๊ะกลมจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Strengthen Digital Infrastructure, Accelerate Digital Economy” เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลและประสบการณ์ของแต่ละประเทศในด้านการพัฒนานโยบายและแผนภายในประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัลโดยมีผู้แทนจากหลายประเทศเข้าร่วม เช่น จีน ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ประกอบด้วย 2 หัวข้อ สรุปได้ ดังนี้

       (1) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดีขึ้น สู่ประเทศดิจิทัลที่ดีขึ้น (Better Digital Infrastructure, Better Digital Nation) เช่น (1.1) กัมพูชาได้จัดทำกรอบนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (.. 2565-2578) เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานด้านดิจิทัลในประเทศ โดยครอบคลุมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเคเบิลใต้น้ำ โครงข่ายสื่อสารแห่งชาติ และเครือข่าย 5G (1.2) อินโดนีเซียได้จัดทำกรอบนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ เช่น การพัฒนาเครือข่ายใยแก้วนำแสง Palapa Ring การติดตั้งสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ครอบคลุมพื้นที่ภายในประเทศเพิ่มขึ้นและการจัดตั้งจุดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะมากยิ่งขึ้นและ (1.3) ITU เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาทางดิจิทัลให้มีความครอบคลุมประชากรของโลก เนื่องจากการสำรวจของ ITU พบว่า ยังมีประชาชนมากกว่า 26,000 ล้านคน ที่ไม่สามารถเข้าถึงดิจิทัลได้

       (2) การเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของรัฐบาลและบริการสาธารณูปโภคโดยกัมพูชาได้ออกนโยบายการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (.. 2565-2578) เพื่อจัดตั้งรัฐบาลดิจิทัลที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชนผ่านบริการสาธารณะที่ดีขึ้น โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลโดยเฉพาะ

ประเทศไทย (ไทย) ได้ร่วมนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูล ภายใต้หัวข้อ Digital Transformation in Government : Insights from Thailand โดยเน้นย้ำบทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการเปลี่ยนแปลงสู่รัฐบาลดิจิทัลในปัจจุบัน ซึ่งดำเนินการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม .. 2561-2580 โดยนโยบายสำคัญที่กำลังผลักดัน คือนโยบาย Go Cloud First” มุ่งเน้นการบูรณาการเทคโนโลยี Cloud กับการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การลดและเลิกใช้กระดาษภายในหน่วยงานรัฐบาล นอกจากนี้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) รวมถึงการพัฒนากฎหมายดิจิทัลหลายฉบับเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล

3. การหารือระหว่าง ดศ. และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด

 

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้กล่าวว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ โดยเน้นย้ำการผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลดิจิทัลเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น และได้ประกาศนโยบาย Go Cloud First ซึ่งจะเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้แก่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยเน้นการสร้างระบบคลาวด์ที่มีมาตรฐานในการดูแลข้อมูล ทั้งนี้ รัฐบาลมีโครงการที่จะสนับสนุนบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลกเข้ามาลงทุนด้าน Cloud Data Center ในไทย

ประธานกรรมการบริหารหัวเว่ย คลาวด์ (นายจาง ผิงอัน) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านดิจิทัลกับรัฐบาลไทย สรุปได้ ดังนี้

       (1) เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud) นำเสนอกรณีศึกษาและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ของจีน เพื่อช่วยสนับสนุนบริษัทจัดตั้งใหม่ (Start up) ของไทย รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีคลาวค์ร่วมกัน เพื่อนำเสนอด้านเทคนิค แนวทางการแก้ไขปัญหาและแนวปฏิบัติที่ดีให้กับรัฐบาลไทย และสนับสนุนระบบคลาวค์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service: GDCC)

       (2) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) นำเสนอเทคโนโลยี AI สำหรับการเกษตร ที่ปรับเปลี่ยนจากเทคโนโลยีเชิงรับมาเป็นเทคโนโลยีเชิงรุกเพื่อใช้ในการสืบค้นการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินและสภาพอากาศ เพื่อการวางแผนการเพาะปลูก เก็บข้อมูลผลผลิตที่ผ่านมา รวมถึงใช้ในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวให้เป็น Smart Tourism และการพยากรณ์อากาศที่มีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น

       (3) การพัฒนาบุคลากร ยินดีที่จะส่งเสริมบุคลากรด้านดิจิทัลในไทยโดยการจัดตั้ง Huawei ASEAN Academy (Thailand) เพื่อสร้างนักพัฒนาไอซีที (ICT Talent) รองรับยุค Thailand 4.0 โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตบุคลากร 50,000 คน ในระยะเวลา 5 ปี เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเข้าสู่ดิจิทัล และยกระดับให้กับอุตสาหกรรมไอซีทีพร้อมทั้งรองรับการเป็นศูนย์กลางของไทยในภูมิภาคในด้าน AI และ Cloud

4. การเยี่ยมชมนิทรรศการภายในงาน Huawei Connect 2023

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและคณะได้เยี่ยมชมนิทรรศการของอุตสาหกรรมและบริษัทชั้นนำทางเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ เช่น (1) การเปลี่ยนแปลงเมืองสู่ดิจิทัล (City Intelligent Twins) (2) การให้บริการภาครัฐแบบ One-Stop โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (One-Stop Public Services) (3) ระบบการจัดการเมืองอัจฉริยะ (Smart City Intelligent Operations Center) (4) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระบบข้อมูลยุติธรรม (Justice Infomatization) (5) อุตสาหกรรมเกม (Gaming e-Commerce) และ (6) อุตสาหกรรมรถยนต์ที่เน้นการขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าด้วยดิจิทัล

5. ประโยชน์และผลกระทบ

 

- ด้านบุคลากรดิจิทัล ส่งเสริมความร่วมมือในด้านการผลิตบุคลากรฯ โดยเฉพาะโครงการส่งเสริมและผลิตบุคลากรด้านไอซีทีและนักพัฒนาชอฟต์แวร์ที่มีทักษะเป็นเลิศในด้าน AI และ Cloud เพื่อยกระดับทักษะและศักยภาพในการต่อยอดแนวคิดของบุคลากรและนำสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศ โดยโครงการฯ มีเป้าหมายการผลิตบุคลากรปีละ 10,000 คน หรือ 50,000 คน ในระยะเวลา 5 ปี โดยจะสร้างรายได้โดยเฉลี่ยให้แก่บุคลากรไม่น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน สร้างรายได้ให้ประเทศถึง 60,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี และแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้าน AI และ Cloud ในการขับเคลื่อนไทยให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคด้าน AI และ Cloud รวมทั้งขยายผลการสร้างโอกาสทางธุรกิจไปยังกลุ่ม Start up และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัย สมาคมและองค์กรต่างๆ ด้วย

- ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น ไทยมีโอกาสเชิญชวนกลุ่มบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีของจีนมาจัดตั้งสำนักงานใหญ่ในไทย และลงทุนภายใต้โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยเฉพาะโครงการ Thailand Digital Valley ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ที่เอื้อต่อนักลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ภาษี Smart VISA และ Long-term Residence รวมถึงจะมีการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี Cloud และ AI ใน Thailand Digital Valley* ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงระหว่างกัน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและปริมาณความต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น และยกระดับระบบนิเวศด้านดิจิทัลของไทยให้เข้มแข็งและพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub)

 

*เป็นโครงการบนพื้นที่ 30 ไร่ ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand หรือ EECd)

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผนึกกำลังความร่วมมือดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชน ภาคการศึกษา สถาบัน และภาครัฐ สร้าง Digital Ecosystem และ Open Platform สำหรับ Start up ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการออกแบบสินค้าและบริการดิจิทัลของธุรกิจชั้นนำ และ Start up

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 16 ตุลาคม 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A10532

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!