WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12

Gov 22

ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 (12th Mekong - Ganga Cooperation Foreign Ministers’ Meeting: 12th MGC FMM) (การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ) และเห็นชอบมอบหมายส่วนราชการดำเนินการและติดตามความคืบหน้าในส่วนของภารกิจที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้ กต. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กต. รายงานว่า

          1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินเดีย และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นประธานร่วมในรูปแบบการประชุมผสมผสานซึ่งก่อนการประชุมดังกล่าว ฝ่ายอินเดียได้ขอปรับแก้ชื่อการประชุม จาก การประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 เป็น การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 และชื่อเอกสารผลลัพธ์การประชุม จากเดิม คือ แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 เป็น แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 เนื่องจากผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมดเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญของการประชุม

โครงการพัฒนาถนนสามฝ่ายเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย - เมียนมา - ไทย

 

1) ความคืบหน้าของโครงการฯ เกี่ยวกับ (1) เส้นทางคาเลวา - ยาร์กี้ (ระยะทาง 112 กิโลเมตร) และเส้นทาง โมเรห์/ทามู - คาเลวา (ระยะทาง 160 กิโลเมตร) และ (2) ความท้าทายของการดำเนินโครงการฯ โดยเฉพาะปัญหาของระบบธนาคาร การปริวรรตเงินตรา1 การเข้าถึงพื้นที่ก่อสร้างฯ และความปลอดภัยของคนงานในเมียนมา รวมทั้งการเจรจาความตกลงยานยนต์ระหว่างอินเดีย - เมียนมา - ไทย และพิธีสารที่เกี่ยวข้องที่ยังคั่งค้าง

2) เร่งรัดการดำเนินโครงการฯ และสนับสนุนการขยายเส้นทางต่อออกไปยังกัมพูชา สปป. ลาว และเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East - West - Economic Corridor: EWEC) และไทยได้เสนอแนวคิดการสร้างทางรถไฟคู่ขนานกับเส้นทางถนนซึ่งอินเดียเห็นว่าสามารถดำเนินการได้หลังจากการก่อสร้างเส้นทางถนนเสร็จสมบูรณ์แล้ว

การทบทวนความร่วมมือที่ผ่านมา และการหารือเกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโข่ง - คงคา

 

1) บทบาทของอินเดียในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิลุ่มน้ำโขง ภายใต้นโยบายมุ่งตะวันออก (Act East Policy) ของอินเดีย ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือกับทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเน้นการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางกายภาพและดิจิทัล รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพ

2) ขยายระยะเวลาการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของกรอบความร่วมมือกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 จากเดิม (.. 2019 - 2022) ออกไปจนถึง .. 2024 เนื่องจากได้รับผลกระทลบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 และไทยเสนอให้เร่งรัดการเตรียมการยกร่างแผนปฏิบัติการฯ ฉบับใหม่ โดยสะท้อนประเด็นที่ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์และความต้องการด้านการพัฒนาในอนุภูมิภาคฯ ที่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน

3) การส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่างๆ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การเสริมสร้างทักษะทางดิจิทัล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดย่อม (Micro, Small and Medium Enterprise: MSMEs) และการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม

4) ไทยเสนอแนวทาง “READY” เพื่อขับเคลื่อนกอบความร่วมมือฯ ในอนาคต ได้แก่ (1) ความยืดหยุ่น (Resilience) (2) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) (3) การปรับตัว (Adaptation) และการสร้างความหลากหลายของเศรษฐกิจ (Diversification) และ (4) การกำหนดให้ปี 2568 ซึ่งเป็นการครบรอบ 25 ปี ของการจัดตั้งกรอบความร่วมมือฯ เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนลุ่มน้ำโขง - คงคา (MGC Year of Exchange) โดยเสนอการจัดทำภาพยนตร์และสารคดีร่วมกันซึ่งที่ประชุมสนับสนุนและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสประเทศสมาชิกหารือในรายละเอียดต่อไป

5) ที่ประชุมได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 1 ฉบับ คือ แถลงการณ์ร่วมฯ พร้อมด้วยเอกสารภาคผนวก 2 ฉบับ ได้แก่ (1) เอกสารแนวคิดเรื่องการฟื้นฟูกลไกประเทศผู้ขับเคลื่อนหลักและการกำหนดในแต่ละสาขาความร่วมมือของกรอบความร่วมมือฯ โดยไทยเป็นประเทศผู้นำด้านการท่องเที่ยว และประเทศผู้นำการขับเคลื่อนร่วมกับเมียนมา ด้านสาธารณสุขและการแพทย์แผนดั้งเดิม และ (2) เอกสารแนวคิดเรื่อง การจัดตั้งสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา (ไทยได้เสนอเอกสารแนวคิดทั้ง 2 ฉบับ ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ ครั้งที่ 11 เมื่อปี 2564) ทั้งนี้ สาระสำคัญของเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวไม่แตกต่างจากร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 โดยมีการปรับแก้ไข ได้แก่ (1) การเปลี่ยนชื่อเอกสารผลลัพธ์ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อการประชุมและผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ และ (2) จำนวนสมาชิกสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือฯ ซึ่งปรับลดลงจากประเทศละ 10 คน เป็นประเทศละ 5 คน

6) เป็นสักขีพยานการส่งมอบตำแหน่งประธานร่วมของกรอบความร่วมมือฯ ของฝ่ายประเทศลุ่มน้ำโขง จาก สปป. ลาว ให้แก่เมียนมาอย่างเป็นทางการ

ประโยชน์และผลกระทบ

 

การดำเนินการตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับอินเดีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการพัฒนาการค้าและการลงทุนระหว่างกันอย่างยั่งยืน เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของอนุภูมิภาคฯ กับอินเดียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

 

          2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศฯ มีประเด็นของการดำเนินการที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่างๆ ดังนี้

 

การดำเนินการที่สำคัญ

 

หน่วยงาน

ที่รับผิดชอบหลัก

กลไกความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา

(1) การจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ฉบับใหม่ ทดแทนฉบับปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในปี 2567 โดยไทยเสนอให้แผนปฏิบัติการฯ ฉบับใหม่สะท้อนประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน และความต้องการด้านการพัฒนาในอนุภูมิภาคฯ ที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ รวมทั้งแนวโน้มการพัฒนาของโลกในปัจจุบัน

 

กต.

(2) การผลักดันกิจกรรมและความร่วมมือในสาขาที่ไทยเป็นประเทศผู้ขับเคลื่อนหลัก (Lead Country) โดยไทยเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในสาขาการท่องเที่ยว และผู้ขับเคลื่อนหลักร่วมกับเมียนมา ในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์แผนดั้งเดิม

 

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

(3) การส่งเสริมการสอดประสานระหว่างกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา กับกลไกความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง

 

กต.

ความเชื่อมโยง

(1) การเร่งรัดการก่อสร้างโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย - เมียนมา - ไทย (โครงการถนนสามฝ่าย) ให้แล้วเสร็จและพิจารณาขยายโครงการฯ ไปยังกัมพูชา สปป. ลาว และเวียดนาม รวมทั้งการเร่งสรุปการเจรจาความตกลงยานยนต์ระหว่างอินเดีย - เมียนมา - ไทย และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง

 

กระทรวงคมนาคม (คค.)

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)

(2) การส่งเสริมการขนส่งทางทะเล

 

(3) การส่งเสริมการสอดประสานระหว่างความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงภายใต้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา กับกรอบความร่วมมืออื่นๆ

 

สาธารณสุข

การส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ขับเคลื่อนหลักในด้านนี้ โดยเฉพาะการวิจัยและการพัฒนาด้านการแพทย์การผลิตยาและวัคซีน การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการรับมือและป้องกันโรคโควิด - 19 รวมถึงโรคระบาดอื่นๆ ในอนาคต การเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข และข้อเสนอของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือด้านยาสมุนไพรการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยา และอุตสาหกรรมสมุนไพร รวมทั้งความร่วมมือด้านการป้องกันโรค

 

สธ.

กระทรวงการอุดมการณ์ศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

การพัฒนาที่ยั่งยืน

(1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอินเดียกับประเทศลุ่มน้ำโขงด้านการบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ ข้อมูล และแนวปฏิบัติที่ดีในการบริการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ รวมทั้งการสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านดังกล่าว และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอินเดียกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

 

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

(2) การส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในการเกษตร รวมทั้งการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานไฮโดรเจนสีเขียวและพลังงานแสงอาทิตย์

 

อว. กษ.

กระทรวงพลังงาน (พน.)

การค้าและการลงทุน

การส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดย่อยในอาเซียน (MSMEs) ผ่านการประชุมภาคธุรกิจและการจัดตั้งสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือฯ เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน และการขยายเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน - อินเดีย มากยิ่งขึ้น

 

สศช.

กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล

การส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความร่วมมือที่เกี่ยวกับดิจิทัลด้านอื่นๆ โดยเฉพาะด้านความมั่นคงไซเบอร์ เศรษฐกิจดิจิทัล ความร่วมมือด้าน ICT/Fintech2 ระบบ e - Commerce3 และ e - Government

 

อว. ดศ. พณ.

กระทรวงการคลัง

ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค โดยเฉพาะทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านโครงการความร่วมมือ โครงการฝึกอบรมและทุนการศึกษาต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน - อินเดีย เช่น การนำเทคโนโลยีทางอวกาศมาใช้ในการจัดการปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

กต. อว. ดศ.

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

การท่องเที่ยวและความร่วมมือด้านวัฒนธรรม

(1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวและความร่วมมือด้านวัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน เช่น การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวอัจฉริยะ การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ การบูรณปฏิสังขรณ์มรดกโลกและสถานที่เชิงประวัติศาสตร์ รวมทั้งการส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่พิพิธภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมืองเอเชียที่จังหวัดเสียมราฐ กัมพูชา ตลอดจนการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียกับอนุภูมิภาคฯ โดยไทยได้รับมอบหมายให้เป็นประเทศผู้ขับเคลื่อนหลักด้านการท่องเที่ยวด้วย

 

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

กก. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

(2) การผลักดันให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนลุ่มน้ำโขง - คงคา ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของการจัดตั้งกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและระหว่างประชาชน รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ของกรอบความร่วมมือฯ แก่สาธารณชน โดยอาจพิจารณาจัดกิจกรรมและการจัดทำภาพยนตร์และสารคดีร่วมกัน

 

กต. วธ. กก. ททท.

_______________________

1 ปริวรรตเงินตรา เป็นการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด

2 Fintech คือ อนาคตของเทคโนโลยีการเงินและการธนาคารแห่งยุคดิจิทัล

3 e - Commerce คือ การดำเนินการซื้อขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต หรือแบบออนไลน์

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 7 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11306

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!