WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67

Gov 13

มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 10,601.96 ล้านบาท ดังนี้

          1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 วงเงินจ่ายขาดรวมทั้งสิ้น 10,120.71 ล้านบาท จำแนกเป็น (1) ค่าฝากเก็บ 4,500.00 ล้านบาท (2) วงเงินชดเชย 2,177.01 ล้านบาท และ (3) กรณีมีการระบายข้าวโครงการฯ รัฐบาลจ่ายคืนและชดเชยให้ ธ.ก.ส. วงเงิน 3,443.70 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุน ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส. ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป

          2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 วงเงินจ่ายขาดรวมทั้งสิ้น 481.25 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุน ธ.ก.ส. และ ธ.ก.ส. ขอรับจัดสรรงบประมาณจ่ายประจำปีต่อไป

          สาระสำคัญ

          มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 จำนวนทั้งสิ้น 2 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 55,038.96 ล้านบาท จำแนกเป็น วงเงินสินเชื่อ 44,437.00 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 10,601.96 ล้านบาท ดังนี้

          1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 (โดย ธ.ก.ส.) 

              (1) วิธีการ ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อตามโครงการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 3 ล้านตันข้าวเปลือก โดยกำหนดข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการฯ และวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 10,000 บาท 

              (2) ค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือก กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตันข้าวเปลือก โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองได้รับเต็มจำนวน สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการฯ ได้รับในอัตรา 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก และเกษตรกรผู้ขายข้าวได้รับในอัตรา 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก

              (3) การระบายข้าวเปลือก กรณีที่มีการระบายข้าวเปลือกให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายค่าขนย้ายข้าวเปลือกที่ ธ.ก.ส. ตามวงเงินที่สำรองจ่ายและชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. 

              (4) วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 44,557.71 ล้านบาท จำแนกเป็นวงเงินสินเชื่อ 34,437.00 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด 10,120.71 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าฝากเก็บ 4,500.00 ล้านบาท วงเงินชดเชย 2,177.01 ล้านบาท และกรณีมีการระบายข้าวโครงการฯ รัฐบาลจ่ายคืนและชดเชยให้ ธ.ก.ส. วงเงิน 3,443.70 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป

          2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 (โดย ธ.ก.ส.) 

              (1) วิธีการ สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท คิดเป็นข้าวเปลือก 1 ล้านตันข้าวเปลือกและจำนวนสินเชื่อคงเหลือภายในระยะเวลาโครงการฯ ไม่เกินวงเงินสินเชื่อเป้าหมาย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4.85 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR ร้อยละ 5.875 ต่อปี) โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 3.85 ต่อปี

              (2) วงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 10,481.25 ล้านบาท จำแนกเป็นวงเงินสินเชื่อ 10,000.00 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาดเพื่อชดเชยดอกเบี้ย 481.25 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 7 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11310

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!