WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

Gov ภูมิธรรม01

ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเรื่อง ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ออกไป 1 ปี นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ

          ทั้งนี้ รง. เสนอว่า

          1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มกราคม 2564) ให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนว่า มีกรณีที่ต้องมีการออกกฎหรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 หรือไม่ โดยให้มีการเร่งออกกฎหรือดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป หรือภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 สำหรับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) ให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยเร่งตรวจสอบกฎหมายในความรับผิดชอบของตนซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ที่เข้าข่ายเป็นกรณีตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ และเร่งออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อที่ประชาชนจะสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายนั้นได้ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 หากไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนได้ทันภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ให้พิจารณาเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี โดยให้ระบุเหตุผลความจำเป็นของการขอขยายระยะเวลาดังกล่าวประกอบด้วย

          2. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรองในหมวด 13 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง จำนวน 14 ฉบับ รง. ได้เสนอกฎหมายลำดับรองและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 5 ฉบับ (เป็นระเบียบทั้งหมด) ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก 9 ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การเก็บเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้างเข้าสู่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง1 การออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 9 ฉบับ ในเรื่องนี้จะต้องมีการศึกษาผลกระทบให้เกิดความรอบคอบและจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ เนื่องจากลูกจ้างและนายจ้างนั้นมีภาระที่จะต้องส่งเงินสะสมและเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคม และ/หรืออาจมีการส่งเงินให้แก่กองทุนอื่นๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นต้น และอาจมีภาระในด้านการสร้างหลักประกันอื่นๆ ให้แก่ตนเองและครอบครัว ซึ่งล้วนแต่เป็นภาระในด้านการเงินของประชาชนทั้งสิ้น อีกทั้งยังต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน เช่น อัตราค่าครองชีพที่สูงขึ้น อัตราหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น ผลกระทบจากราคาสินค้าในตลาดโลก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อเรียกร้องต่างๆ ทั้งจากสภา สหภาพ สหพันธ์ด้านแรงงานต่างๆ ที่ต้องการให้รัฐสร้างรูปแบบการคุ้มครองแรงงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ข้อเรียกร้องให้มีกองทุนประกันความเสี่ยงกรณีการเลิกจ้าง แต่โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำ ร่างกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับ การออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 9 ฉบับดังกล่าวจึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 1. รง. จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 9 ฉบับ ดังนี้

              2.1 พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการให้กิจการที่มีลูกจ้างน้อยกว่าสิบคนเป็นสมาชิกของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

              2.2 พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการกำหนดเวลาเริ่มให้มีการส่งเงินสะสมและเงินสมทบให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

              2.3 กฎกระทรวงเกี่ยวกับการให้นายจ้างจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย 

              2.4 กฎกระทรวงเกี่ยวกับอัตราเงินสะสม และเงินสมทบที่จะต้องส่งให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

              2.5 ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับการให้ลูกจ้างที่มิได้อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

              2.6 ประกาศหรือระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับแบบหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างและการออกหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนให้แก่นายจ้าง

              2.7 ประกาศหรือระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับการนำส่งเงินสะสม เงินสมทบ และเงินเพิ่มเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

              2.8 ประกาศหรือระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเงินสะสมและเงินสมทบที่นายจ้างต้องนำส่งกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

              2.9 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับแบบหนังสือกำหนดบุคคลผู้พึงได้รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กรณีลูกจ้างตาย

___________________

1 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรี) 14 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11601

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!