WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

(ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

Gov ภูมิธรรม02

(ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ)] ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ) เสนอ

          โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานและนำแผนปฏิบัติการดังกล่าวไปใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ตลอดจนสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งรวมถึงภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ดังกล่าว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ในโอกาสแรกก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีต่อๆ ไป ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี และ/หรือพิจารณาเงินนอกงบประมาณ รวมถึงรายได้ หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่ หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          คณะกรรมการฯ รายงานว่า 

          1. ที่ผ่านมาได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด มาแล้ว 2 ฉบับ ต่อมาคณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินงานแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2562 - 2564 ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 ซึ่งปัจจุบันสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินงานแล้ว กรมควบคุมโรค ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการฯ จึงจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ซึ่งเป็นแผนฉบับที่ 3 ที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) และแผนระดับที่ 3 ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 และคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ด้วยแล้ว

          2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีฐานะเป็นแผนระดับ 3 จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ในการใช้นำไปเป็นกรอบ การดำเนินงานโดยส่งเสริมความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถเตรียมความพร้อมและป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงทางสุขภาพเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาความมั่นคงด้านต่างๆ ของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมีสาระคัญสรุปได้ ดังนี้

              2.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์หลัก นโยบายการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายสำคัญ

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

วิสัยทัศน์

 

ประเทศไทยปลอดภัยจากโรคติดต่อด้วยระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพทันต่อสถานการณ์ และได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน

ตัวอย่างพันธกิจที่สำคัญ

 

พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ระบบข้อมูล เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐาน ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ

กำหนดกลไกการพัฒนาระบบการจัดการภาวะฉุกเฉิน และการยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ

กำหนดนโยบาย แนวทางการพัฒนากำลังคนให้มีขีดความสามารถในการเฝ้าระวังเตือนภัย สอบสวนป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และสร้างกลไกเชื่อมโยงเครื่อข่ายทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ

พัฒนาระบบ กลไก และเครือข่ายในการสื่อสารความเสี่ยง และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และตอบสนองต่อการระบาดของโรค

เป้าประสงค์หลัก

 

ป้องกัน ควบคุม กำจัด กวาดล้าง และลดผลกระทบจากโรคติดต่อ ด้วยระบบการทำงานที่เข้มแข็งของเครือข่ายการทำงานทุกภาคส่วน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน

ตัวอย่างนโยบายการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญ

 

เร่งรัดการกำจัดและกวาดล้างโรคที่เป็นพันธสัญญากับนานาชาติ และเป็นโรคที่ประเทศไทยสามารถควบคุมได้ระดับหนึ่งแล้ว เช่น โรคโปลิโอ โรคมาลาเรีย โรคเรื้อน โรคเอดส์ โรคหัด โรคพิษสุนัขบ้า และโรคเท้าช้าง

พัฒนาระบบการป้องกันโรคติดต่ออันตรายเพื่อลดโอกาสการระบาดของโรคติดต่ออันตรายในประเทศไทยให้เหลือน้อยที่สุด

ควบคุมโรคติดต่อประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก วัณโรค ด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนให้น้อยที่สุด

ตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่สำคัญ

 

เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ที่มีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาด ในเขตพื้นที่จังหวัดและกรุงเทพมหานคร

ตัวอย่างเป้าหมายสำคัญ

 

ทุกจังหวัดมีแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาด ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรุงเทพมหานคร

ประเทศไทยสามารถกำจัดกวาดล้างโรคติดต่อตามพันธสัญญานานาชาติ (โรคมาลาเรีย โรคโปลีโอ โรคหัด โรคเอดส์ โรคพิษสุนัขบ้า และโรคเรื้อน) บรรลุตามเป้าหมาย เช่น ทุกอำเภอไม่มีการแพร่เชื้อมาลาเรียภายในปี 2567 และไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ภายในปี 2568 เป็นต้น

มีระบบปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินที่สามารถรับมือภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีการพัฒนาเครือข่ายภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

ตัวอย่างตัวชี้วัดตามเป้าหมายที่สำคัญ

 

จำนวนจังหวัดที่มีแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาด ในเขตพื้นที่จังหวัดและกรุงเทพมหานคร

ร้อยละความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายกำจัดกวาดล้างโรคติดต่อตามพันธสัญญานานาชาติ

ร้อยละของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีแผนเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข รวมทั้งแผนประคองกิจการ (Business Continuity Plan) และฝึกซ้อมแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ร้อยละของเครือข่ายระหว่างประเทศที่มีแผนงานโครงการความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ

 

              2.2 ประเด็นการพัฒนา ประกอบด้วย 5 ประเด็น ดังนี้

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

ประเด็นการพัฒนา 1 : การพัฒนานโยบาย มาตรการ กฎหมาย และกลไกการบริหารจัดการการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

เป้าหมาย

 

(1) นโยบาย กฎหมาย มาตรการที่เอื้อต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อมีประสิทธิภาพ

(2) กลไกการบริหารจัดการในการเร่งรัด กำจัด กวาดล้างโรคติดต่อตามพันธสัญญานานาชาติ โรคติดต่ออุบัติใหม่ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในระดับประเทศ และระดับจังหวัด

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย

 

ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด ดังนี้

ภายในปี 2570 จำนวนกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดต่อได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 5 เรื่อง

ภายในปี 2570 จังหวัดมีแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่จังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร .. 2566 - 2570 คิดเป็นร้อยละ 100

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)

 

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนานโยบาย มาตรการ กฎหมาย ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ เช่น ทบทวน ปรับปรุง และบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักเกณฑ์ด้านการเงิน การคลังที่เอื้อต่อการควบคุมโรค รวมทั้งพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ เช่น พัฒนาระบบบริหารจัดการโรคติดต่อหรือโรคระบาดตามสถานการณ์ และพัฒนาระบบบริการพิเศษหรือเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ

กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่แบบบูรณาการทุกระดับ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว

กลยุทธ์ที่ 4 เร่งรัดการกำจัด กวาดล้าง โรคติดต่อตามพันธสัญญานานาชาติ เช่น ขับเคลื่อนและกำกับติดตามการกำจัดกวาดล้างโรคตามพันธสัญญานานาชาติ

โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ

 

ประกอบด้วย 23 โครงการสำคัญ เช่น

โครงการทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อต่างๆ และกลไกการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ

โครงการพัฒนากลไกการดำเนินงานและเสริมสร้างความเข้มแข็งของทีมปฏิบัติการสอบสวนโรคและภัยสุขภาพให้ได้มาตรฐาน

โครงการส่งเสริมนโยบาย สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) สำหรับประชากรข้ามชาติและประชากรที่ไม่ใช่คนไทย

โครงการพัฒนารูปแบบ วิจัย นวัตกรรม ด้านการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่

หน่วยงานรับผิดชอบ

 

เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงบประมาณ (สงป.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร

ประเด็นการพัฒนา 2 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ

เป้าหมาย

 

(1) โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขมีความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อมีอย่างประสิทธิภาพ

(2) ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทั้งประชากรไทย และประชากรข้ามชาติ

(3) พัฒนาองค์ความรู้ วิจัย และนวัตกรรม ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และนำไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย

 

ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด เช่น

ภายในปี 2570 ห้องปฏิบัติการเครือข่ายมีมาตรฐานความปลอดภัย และผ่านการรับรองระบบบริหารจัดการคุณภาพและความสามารถทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน ที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ คิดเป็นร้อยละ 100 

ภายในปี 2570 สถานพยาบาลมีการรายงานโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดเป็นไปตามบทบัญญัติภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ .. 2558 คิดเป็นร้อยละ 100

ภายในปี 2570 ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อที่นำไปใช้ประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 80

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)

 

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข เช่น พัฒนาห้องปฏิบัติการและระบบเครือข่ายห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ โดยเชื่อมโยงผลการตรวจวินิจฉัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังและระบบตระหนักรู้สถานการณ์ให้ได้โดยเร็ว

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อ เช่น พัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยโรคระบาดที่รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ (Real time)

กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ วิจัย และนวัตกรรมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อ

โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ

 

ประกอบด้วย 21 โครงการสำคัญ เช่น

โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ การคัดกรองผู้เดินทาง และยานพาหนะที่ช่องทางเข้าออกประเทศด้วยระบบดิจิทัล

โครงการพัฒนาระบบข่าวกรองทางระบาดวิทยา

โครงการพัฒนาศักยภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ

โครงการสนับสนุนการนำผลงานนวัตกรรม วิจัย การจัดการความรู้ ด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพไปใช้ประโยชน์

หน่วยงานรับผิดชอบ

 

เช่น สธ. กก. อว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดศ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ประเด็นการพัฒนา 3 : การยกระดับการจัดการภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ

เป้าหมาย

 

ระบบและกลไกการจัดการภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อมีประสิทธิภาพและบูรณาการร่วมกับเครือข่ายสามารถเฝ้าระวัง ตรวจจับ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้ทันต่อเหตุการณ์และฟื้นฟูสภาพได้รวดเร็ว

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย

 

ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ดังนี้

ภายในปี 2570 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีแผนเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และฝึกซ้อมแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100

ภายในปี 2570 ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่มีสมรรถนะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 80 

ภายในปี 2570 จังหวัดมีการจัดทำแผนระดมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขสาขาที่จำเป็นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ในภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ คิดเป็น ร้อยละ 100

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)

 

กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น การจัดทำแผนเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข การเตรียมความพร้อมบุคลากร และการฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อม

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ เช่น พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการและระบบบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน การจัดการข้อมูลภาวะฉุกเฉินอย่างเป็นระบบและทันสมัยเพื่อการตัดสินใจและสั่งการได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์

กลยุทธ์ที่ 3 เสริมความเข้มแข็งของระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อ เช่น พัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลภาครัฐทุกระดับให้สามารถรับ ภาระดูแลผู้ป่วยจำนวนมากในสถานการณ์โรคระบาด รวมทั้งจัดให้มีสถานที่กักกัน และโรงพยาบาลสนามตามความจำเป็น

กลยุทธ์ที่ 4 เตรียมการฟื้นฟูหลังภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ เช่น พัฒนาแนวทางและแผนบริหารจัดการเพื่อการฟื้นฟูสุขภาวะของบุคคลที่ได้รับผลกระทบ

โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ

 

ประกอบด้วย 13 โครงการสำคัญ เช่น

โครงการพัฒนาแผนรับมือเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในทุกระดับรองรับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข

โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

หน่วยงานรับผิดชอบ

 

เช่น สธ. กระทรวงกลาโหม อว. ดศ. และกระทรวงมหาดไทย (มท.)

ประเด็นการพัฒนา 4 : การพัฒนากำลังคนและเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ

เป้าหมาย

 

(1) การเตรียมกำลังคนด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่อให้ได้ตามมาตรฐาน ทั้งปริมาณและขีดความสามารถ (Capacity) รวมทั้งการระดมสรรพกำลังรองรับการระบาดของโรคติดต่อได้ทันท่วงทีและเพียงพอ

(2) เครือข่ายในประเทศและระหว่างประเทศมีความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออย่างเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย

 

ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด เช่น

ภายในปี 2570 จังหวัดมีกำลังคนด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่อได้ตามมาตรฐานทั้งปริมาณ และขีดความสามารถ คิดเป็นร้อยละ 100

ภายในปี 2570 จังหวัดมีฐานข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ คิดเป็นร้อยละ 90

ภายในปี 2570 เครือข่ายระหว่างประเทศมีความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ คิดเป็นร้อยละ 100

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)

 

กลยุทธ์ที่ 1 จัดทำแผนกำลังคนด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ เช่น สรรหาบุคลากรในสาขาวิชาชีพที่มีความจำเป็นให้เพียงพอ

กลยุทธ์ที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เช่น ส่งเสริมการประสานงาน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่าย รวมทั้งการสร้างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพและการป้องกันควบคุมโรค

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการขับเคลื่อนการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เช่น ส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในการดำเนินงานของศูนย์อาเซียนเพื่อการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่

โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ

 

ประกอบด้วย 17 โครงการสำคัญ เช่น

โครงการวิเคราะห์อัตรากำลังที่จำเป็นสำหรับการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ

โครงการพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุข และสมาชิกเครือข่ายในชุมชนท้องถิ่น เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

โครงการจัดเวทีระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ขายแดนและกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาสุขภาพแรงงานข้ามชาติที่อาศัยในพื้นที่ชายแดน

โครงการพัฒนาโครงสร้างศูนย์อาเซียนเพื่อการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่ (ASEAN Center for Public Health Emergency and Emerging Infectious Diseases: ACPHEED)

หน่วยงานรับผิดชอบ

 

เช่น สธ. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) อว. มท. และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.)

ประเด็นการพัฒนา 5 : การพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงและระบบสนับสนุนการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

เป้าหมาย

 

(1) การสื่อสารความเสี่ยงและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

(2) ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด

(3) ระบบสนับสนุนการป้องกัน ควบคุม และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมาย

 

ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ดังนี้

ภายในปี 2570 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 80

ภายในปี 2570 จังหวัดมีการขับเคลื่อนการสื่อสารความเสี่ยงด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพตามมาตรฐานสากล JEE/IHR (2005) 1 คิดเป็นร้อยละ 75

ภายในปี 2570 จังหวัดมีการยกระดับความพร้อมของระบบส่งกำลังบำรุง (Logistics) คลังสำรองเวชภัณฑ์และวัคซีน ระบบบริหารจัดการข้อมูลคลังเวชภัณฑ์และวัคซีน ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินขนาดใหญ่ โรคติดต่อหรือโรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 90

แนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์)

 

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการสื่อสารความเสี่ยง เช่น พัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางการเฝ้าระวังด้านสื่อสารและตอบโต้ข้อมูลข่าวสารเท็จ ข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น พัฒนาฐานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคให้สามารถเชื่อมโยงได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว มีความเป็นเอกภาพ รวมทั้งการเตือนภัยล่วงหน้าที่ทันเหตุการณ์ เพื่อขยายการใช้ประโยชน์ของข้อมูล

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาการจัดหาเวชภัณฑ์ วัคซีน และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ปรับปรุงกลไกการจัดซื้อจัดหาเวชภัณฑ์ วัคซีน และวัสดุอุปกรณ์ในภาครัฐให้เพียงพอและทันเวลา

โครงการหรือกิจกรรมสำคัญ

 

ประกอบด้วย 21 โครงการสำคัญ เช่น

โครงการความร่วมมือด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนกับต่างประเทศ

โครงการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อของประชาชน

โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ

โครงการพัฒนากลไกการจัดซื้อจัดหาและสำรองวัคซีนในภาวะฉุกเฉินและการสำรองวัคซีนในระดับภูมิภาค

หน่วยงานรับผิดชอบ

 

เช่น สธ. กต. อว. ดศ. ทส. สำนักนายกรัฐมนตรี และ สวช.

 

              2.3 การนำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ไปสู่การปฏิบัติ

                    (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ 4 ด้าน สรุปได้ ดังนี้

 

กลไกการขับเคลื่อน

 

รายละเอียด

(1) ด้านการบริหารจัดการ

 

จัดให้มีกลไกการขับเคลื่อนในระดับประเทศและจังหวัด โดยกำหนดกลไกสำคัญ เช่น

        (1) ใช้กลไกของคณะกรรมการฯ เป็นกลไกขับเคลื่อน

        (2) ให้เขตตรวจราชการของทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เป็นกลไกผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์จากระดับชาติสู่ระดับจังหวัดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

        (3) จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน เป็นกลไกในการประสานงานระหว่างหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานแต่ละปีมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

       (4) ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันทบทวนและยืนยันค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักในแต่ละปี และเมื่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องรับรองตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักและค่าเป้าหมายแต่ละปีแล้ว ให้ดำเนินการถ่ายทอดตัวชี้วัดดังกล่าวไปยังส่วนราชการ/หน่วยงานในส่วนกลาง/ส่วนราชการในจังหวัด/ส่วนราชการท้องถิ่น ไปดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป

(2) ด้านการบริหารจัดการงบประมาณ

 

การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ มีกลไกการบริหาร จัดการงบประมาณสรุปได้ ดังนี้

        (1) กลไกในภาวะปกติ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานซึ่งเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการฯ

        (2) กลไกกรณีฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น เช่น กรณีส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณนอกเหนือจากที่ได้รับการจัดสรรแล้วให้ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรือเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นในพื้นที่ใด ให้จังหวัด/กรุงเทพมหานคร หรือส่วนราชการที่มีเงินทดรองราชการ ใช้วงเงินทดรองราชการในระหว่างที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่าย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือโดยเร่งด่วนตามความจำเป็นและเหมาะสม

(3) ด้านการประสานความร่วมมือและประสานการปฏิบัติ

 

ได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อนไว้ทุกระดับและทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบบูรณาการ ดังนี้

        (1) กลไกความร่วมมือภายในประเทศ ประกอบด้วย กลไกความร่วมมือทุกระดับ ได้แก่ ระดับประเทศ (ใช้รูปแบบของคณะกรรมการฯ เป็นจุดเชื่อมการประสาน) ระดับจังหวัด (ใช้รูปแบบคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดประสานงานกับคณะกรรมการฯ) และระดับชุมชน (ส่งเสริมบทบาทของอาสามัคร เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ชมรมแม่บ้าน เป็นต้น ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อการประสานงานสู่พื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม

        (2) กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ หน่วยงานระดับกระทรวงที่เกี่ยวข้องผลักดันให้เกิดความร่วมมือระดับนานาชาติ โดยร่วมกันผลักดันให้ทุกภาคีมีพันธสัญญาร่วมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในระดับนานาชาติร่วมกัน

        (3) การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ การฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร การถ่ายทอดนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการประสานงานระหว่างกัน

        (4) การสร้างช่องทางการประสานงานที่รวดเร็ว เช่น Line Application ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารของทุกส่วนราชการและระหว่างประเทศ

(4) ด้านการติดตาม การประเมินผลและการรายงานผล

 

จัดระบบการติดตามและประเมินผล ดังนี้

        (1) ช่วงต้นแผน ประเมินการนำไปใช้ การดำเนินการในหน่วยงาน (ระยะเวลา 1 - 2 ปี .. 2566 - 2567)

        (2) ช่วงกลางแผน ประเมินความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ (ระยะเวลา 2 - 3 ปี .. 2567 - 2569) 

        (3) ช่วงปลายแผน ประเมินผลสำเร็จของการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ (ระยะเวลา 1 - 2 ปี ท้ายแผน .. 2569 - 2570)

 

          3. สธ. ได้ดำเนินการเสนอ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งในคราวประชุมสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

ข้อเสนอแนะ

(1) ประเด็นการพัฒนา

ควรสร้างองค์ความรู้ในการดูแลและป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ รวมถึงสร้างจิตสำนึกเรื่องการป้องกันและการปฏิบัติต่อโรคติดต่อที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมกับคนทุกกลุ่มในสังคม และเพิ่มเติมบทบาทของภาคประชาสังคมและภาคส่วน อื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ โรงเรียน โรงพยาบาลระดับชุมชน ผู้นำชุมชน เป็นต้น

ควรพัฒนาแนวทางรองรับการบริหารจัดการกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนทั้งระบบที่ชัดเจน

ควรมีแผนการบริหารจัดการวัคซีนและแผนการกำหนดแนวทางพัฒนาและ การผลิตวัคซีนชนิดต่างๆ ของประเทศที่ชัดเจน

(2) การกำหนดตัวชี้วัด

ควรเพิ่มเติมตัวชี้วัดที่วัดองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การมีคณะกรรมการเฉพาะกิจหรือคณะทำงานที่พร้อมจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน และการมีงบประมาณเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินจากโรคระบาด เป็นต้น

(3) การพัฒนาฐานข้อมูล

ควรมีแนวทางจัดทำและเชื่อมโยงฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโรคระบาดเข้าด้วยกัน

(4) การขับเคลื่อนแผน

ควรเพิ่มเติมบทบาทของภาคเอกชน หน่วยงานส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนเพื่อร่วมจัดการกับโรคติดต่อหรือโรคระบาดใหม่ให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

(5) การผนวกรวมแผน

เพื่อความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน ควรพิจารณาผนวกรวม (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และเผนปฏิบัติการด้านเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ .. 2566 – 2570 โดยคำนึงถึงโรคระบาดเดิม และโรคอุบัติใหม่ ที่ต้องการการรับมือที่แตกต่างกัน (สธ. แจ้งว่าได้มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบของทั้งสองแผนให้บูรณาการและประสานงานเพื่อการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนให้เป็นไปในทางเดียวกันด้วยแล้ว)

 

          ทั้งนี้ สธ. ได้ดำเนินการปรับปรุง (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ตามข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งคณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ที่ปรับปรุงดังกล่าวด้วยแล้ว เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 

_________________

1 JEE/IHR ย่อมาจาก Joint External Evaluation on Core Capacities of IHR คือการประเมินการพัฒนาขีดความสามารถหลักตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรี) 14 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11602

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

 

 

 

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!