WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ขอความเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รอบปี ค.ศ. 2023-2029 (Country Programme Framework: CPF)

Gov 09

ขอความเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รอบปี ค.ศ. 2023-2029 (Country Programme Framework: CPF)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) (กรอบความร่วมมือฯ) รอบปี ค.ศ. 2023-2029 (Country Programme Framework: CPF) (ปี 2566-2572) รวมทั้งมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าวตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          อว. รายงานว่า

          ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IAEA เมื่อปี 2500 จากนั้นได้ลงนามในความตกลงเสริมฉบับแก้ไขเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคโดย IAEA1 ในปี 2523 และได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation: TC) กับ IAEA ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือฯ เป็นกรอบความร่วมมือฉบับที่ 4 ของประเทศไทย (3 ฉบับแรก จัดทำเมื่อปี 2549-2554 ปี 2555 -2559 และปี 2560-2565 ตามลำดับ2) โดยกรอบความร่วมมือฯ ประกอบด้วยโครงการความร่วมมือทางเทคนิคสำหรับปี 2566-2572 ระหว่างไทยกับ IAEA ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์สามารถมีส่วนร่วมโดยตรงและมีความคุ้มค่าต่อลำดับความสำคัญและเป้าหมายการพัฒนาประเทศของไทยในด้านต่างๆ ทั้งนี้ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้ประสานงานและจัดประชุมเพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 รวมทั้งได้ส่งร่างกรอบความร่วมมือฯ ให้ IAEA ทบทวนและให้ความเห็นเพิ่มติมเพื่อนำมาปรับปรุงร่างดังกล่าวให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์และสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศ และพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 รวมถึงกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่าจะมีการลงนามกรอบความร่วมมือฯ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2566

          สาระสำคัญของกรอบความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีซึ่งครอบคลุมทุกสาขา เช่น ด้านการเกษตร โภชนาการ การแพทย์ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม การวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำในรูปแบบโครงการ TC กรอบระยะเวลา ค.ศ. 2023-2023 (ปี 2566-2572) โดยประเด็นหลักของกรอบความร่วมมือฯ ได้แก่ ความปลอดภัยและความมั่นคงด้านนิวเคลียร์และรังสี อาหารและการเกษตร สุขภาพและโภชนาการ การจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมทางทะเล อุตสาหกรรมและพลังงาน

____________________________

1ความตกลงเสริมฉบับแก้ไขเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคโดย IAEA คือข้อตกลงระหว่าง IAEA กับรัฐบาลไทยในการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการใช้พลังงานปรมาณูอย่างสันติ เช่น การใช้งาน การบำรุงรักษา การจัดเก็บ การกำจัดอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานปรมาณู

2จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ปส. แจ้งว่า กรอบความร่วมมือฯ 3 ฉบับแรก ไม่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเนื่องจากอยู่ในอำนาจของเลขาธิการสำนักงานปรมาญเพื่อสันติที่สามารถลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ได้ ภายหลังจากที่คณะอนุกรรมการว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่โดยที่ร่างกรอบความร่วมมือฯ ฉบับที่ 4 กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ปส. ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องจึงควรพิจารณาเสนอร่างกรอบความร่วมมือฯ ดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 21 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11858

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

 

 

 

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!