WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ผลการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN - Japan Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

Gov 15

ผลการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN - Japan Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้ 

          1. รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ASEAN - Japan Special Meeting of Justice Ministers: AJSMJ (การประชุม AJSMJ) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

          2. มอบหมายให้ ยธ. เป็นหน่วยงานในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินความร่วมมือตามแผนงานอาเซียน - ญี่ปุ่น ด้านกฎหมายและงานยุติธรรม (แผนงานอาเซียนฯ) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ยธ. รายงานว่า

          1. การประชุม AJSMJ จัดขึ้นในวาระครบรอบ 50 ปี แห่งมิตรภาพและความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น โดยกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ และมาเลเซียเป็นประธานร่วม ระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2566 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในส่วนของไทยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยผลการประชุม AJSMJ และการประชุมที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้

              1.1 การประชุมประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Coordination Meeting) ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างเอกสารผลลัทธ์การประชุม AJSMJ เป็นครั้งสุดท้าย จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AJSMJ และ 2) แผนงานอาเซียนฯ โดยเห็นพ้องที่จะคงไว้ซึ่งสาระสำคัญของเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ตามที่ได้เคยหารือกันไว้ในที่ประชุมเตรียมการสำหรับการประชุม AJSMJ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และมีการปรับแก้ไขในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและตรงกับความเป็นจริง ดังนี้ (1) แถลงการณ์ร่วมฯ ในย่อหน้าที่ 1 (อารัมภบท) จากเดิมที่ได้ระบุวันที่การประชุม AJSMJ คือ “6th and 7 th of July 2023” ปรับแก้ไขเป็น “6th of July 2023” และจากเดิมที่ได้ระบุชื่อประเทศประธานร่วมกับญี่ปุ่นคือ “ZZZZ” ปรับแก้ไขเป็น “Malaysia” และในย่อหน้าสุดท้ายจากเดิมที่ได้ระบุสถานที่ในการรับรองเอกสาร คือ “[city], [country], [date] and [month)” ปรับแก้ไขเป็น “Tokyo, Japan this 6th of July...” และ (2) แผนงานอาเซียนฯ ย่อหน้าที่ 1 จากเดิมที่ได้ระบุวันที่การประชุม AJSM คือ “July 6-7, 2023” ปรับแก้ไขเป็น “July 6, 2023”

              1.2 การประชุม AJSMJ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธาน (ASEAN Law Ministers’ Meeting : ALAWMM) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น (นายเคน ไซโต) เป็นประธานร่วม ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสรุปว่า “ไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น มีความยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งโอกาสการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างกันในครั้งนี้โดยไทยมีการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีความมั่นคงและปลอดภัย เช่น การมีผลใช้บังคับของพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 และการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เป็นต้น เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสังคมที่สงบสุขและตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติต่อเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม AJSMJ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) รับรองแถลงการณ์ร่วมการประชุม AJSMJ และ (2) เห็นชอบแผนงานอาเซียนฯ

              1.3 การประชุมพบปะระหว่างรัฐมนตรียุติธรรมอาเซียนและกลุ่มประเทศ G7 (ASEAN - G7 Justice Ministers’ Interface: Interface) โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธาน ALAWMM และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ในฐานะประธาน G7 ปี 2566 เป็นประธานร่วม ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (นายฟุมิโอะ คิชิดะ) ได้กล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิดการประชุมฯ โดยเน้นย้ำว่า การประชุมในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนและ G7 ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในด้านกฎหมายและงานยุติธรรม ทั้งในมิติทางวัฒนธรรมและระบบกฎหมายที่มีความแตกต่าง

              1.4 การหารือทวิภาคี หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมประชุมหารือทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ในห้วงการประชุม AJSMJ และการประชุม Interface ดังนี้

                  (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ในประเด็นการส่งเสริมการดำเนินงานต่อยอดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายหลังจากการประชุม AJSMJ และการประชุม Interface สิ้นสุดลง และการดำเนินงานภายใต้บันทึกความร่วมมือฯ ระหว่าง ยธ. -ญี่ปุ่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของทั้งสองประเทศได้ลงนามไว้ร่วมกันเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562

                  (2) ผู้อำนวยการของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) (Ms. Ghada Waly ในประเด็นการบริหารจัดการเรือนจำและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติผ่านกรอบความร่วมมือต่างๆ การต่อต้านการทุจริต และการแสดงความพร้อมที่สนับสนุนไทยในการดำเนินการประเด็นอื่นๆ เช่น การสนับสนุนการดำเนินงานตามประมวลกฎหมายยาเสพติด การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการต่อต้านการลักลอบขนขยะ และอาชญากรรมภาคประมง และการส่งเสริมให้ไทยเป็นภาคีพิธีสารต่อต้านการผลิตและลักลอบค้าอาวุธปืน ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ และเครื่องกระสุนโดยผิดกฎหมาย

          2. การเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติ เพื่อนำมาประกอบการพัฒนาการดำเนินงานด้านกฎหมายและงานยุติธรรมที่เกี่ยวข้องของไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีต่างๆ ของสากล ดังนั้น จึงจะต้องขอความร่วมมือการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานด้านกฎหมายและงานยุติธรรม รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องของไทยภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 21 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11859

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!