WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565)

Gov 07

รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565) (แผนสิทธิมนุษยชนฯ) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          ยธ. รายงานว่า

          1. แผนสิทธิมนุษยชนฯ เป็นเครื่องมือ กลไก และมาตรการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าไปใช้ในการส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน ซึ่ง ยธ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำและขับเคลื่อนแผนดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยแผนสิทธิมนุษยชนฯ ประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม จำนวน 2,409 โครงการ มีโครงการที่ทำเสร็จ จำนวน 1,837 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 76.26 และมีผลการดำเนินการในภาพรวม ดังนี้

 

ปีงบประมาณ

โครงการ

ทั้งหมด

โครงการ

ที่ทำสำเร็จ

โครงการ

ที่กำลัง

ดำเนินการ

โครงการ

ที่ยังไม่ได้

ดำเนินการ

โครงการ

ที่ไม่ได้รับรายงานผล

ไม่ปรากฏ

ข้อมูล

.. 2563

707

707

-

-

-

-

.. 2564

853

470

251

67

42

23

.. 2565

849

660

104

85

-

-

รวม

2,409

1,837

355

152

42

23

คิดเป็นร้อยละ

-

76.26

14.74

6.31

1.74

0.95

 

          2. เมื่อนำผลการประเมินระยะครึ่งแผนและระยะสิ้นสุดแผนการสังเคราะห์มีผลสำเร็จและข้อสังเกตของการดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ สรุปได้ ดังนี้

              2.1 ตัวอย่างผลการดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้

 

ด้าน

 

ผลการดำเนินการ/ข้อสังเกต

1) กระบวนการยุติธรรม

 

ได้มีสร้างกลไกการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและความรู้พื้นฐานในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนผ่านกลไกต่างๆ เช่น (1) กลไกระดับจังหวัดทุกจังหวัด (2) ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจำนวนกว่า 1,500 แห่ง ทั่วประเทศ และ (3) การส่งเสริมบวรสร้างเครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน รวมถึงการทำงานของสำนักงานอัยการสูงสุดในการมีคณะทำงานเพื่อติดตามและประสานเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของคนไทยในต่างประเทศอีกด้วย

2) การศึกษา

 

อัตราการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมมีการเพิ่มขึ้นน้อยมาก ดังนั้น การศึกษายังคงต้องมีการทุ่มเทด้านทรัพยากรกำลังคนและงบประมาณอีกเป็นอย่างมาก

3) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ควรถอดบทเรียนและปรับแนวทางในการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหากเกิดโรคระบาดใหม่หรือภัยพิบัติฝุ่น PM2.5 ซึ่งถือเป็นภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน เช่น ลดการเผาป่า ทำไร่เลื่อนลอย การควบคุมควันดำจากรถยนต์ ตลอดจนการส่งเสริมพลังงานสะอาด รถไฟฟ้า การใช้พลังงานในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม

4) เศรษฐกิจและธุรกิจ

 

ไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สูงเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกและผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด - 19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยหดตัวอย่างรุนแรง ประชาชนไทยในภาพรวมและยังได้รับผลกระทบทางการเมืองและภาวะการเงินการลงทุนที่ผันผวน แม้จะมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดและข้อเสนอแนะต่างๆ แต่ไม่มีโครงการใด หรือผลในภาพรวมที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จ ของการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และความยากจนในไทยได้

5) การขนส่ง

 

มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งในการดำเนินการพัฒนาสู่ระบบขนส่งเพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียมเป็นระบบขนส่งสำหรับทุนคน เช่น การสร้างสะพานข้ามแยก อย่างไรก็ดี อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงการฯ ไม่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย

6) สาธารณสุข

 

มีการขับเคลื่อนงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขทั้งหมดและการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย รวมถึงการให้บริการทางการแพทย์ทางไกล (TeleMedicine) เพื่อให้ประชาชนทุกที่ทั่วไทยเข้าถึงบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

7) ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

การผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนโลกออนไลน์หรือกฎหมาย Personal Data Protection Act: PDPA1 และอื่นๆ การยอมรับและนำไปใช้ปฏิบัติในสังคม รวมถึงการสร้างทักษะการรู้เท่ากันสื่อดิจิทัล เพราะระดับความรุนแรงส่งผลถึงชีวิตและทรัพย์สิน และมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น

8) ด้านการเมือง การปกครองและความมั่นคง

 

ประชาชนคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่สนใจมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น อย่างไรก็ดี มีประเด็นสังคมอีกมากที่สะท้อนถึงข้อสงสัยว่า หน่วยงานหลักสามารถดำเนินการตามที่ให้สร้างวัฒนธรรมการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้หรือไม่ ซึ่งสถาบันการเมืองหลักของประเทศควรจะเป็นหน่วยงานสำคัญที่ขับเคลื่อนงานตามข้อเสนอแนะให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้

9) ที่อยู่อาศัย

 

การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางยังมีอีกมากที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยทั้งในเขตเมืองและชนบท ทำให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด คนเร่ร่อนและการบุกรุกพื้นที่ของกรมป่าไม้ หรือที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (...) ในต่างจังหวัดที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญญาตามข้อเท็จจริงได้

10) ชุมชน วัฒนธรรมและศาสนา

 

ไทยมีความหลากหลายทางศาสนา และมีการส่งเสริมกิจกรรมของศาสนาต่างๆ รวมถึงวิถีวัฒนธรรมต่างๆ ได้ดี

 

              2.2 รายงานระบุประเด็นที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนฯ มีสาระสำคัญ เช่น

                    (1) การประกาศใช้บังคับกฎหมายหลายฉบับที่สอดคล้องตามสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เช่น พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 พระราชบัญญัติการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566

                    (2) การมีคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์กลาง ที่ได้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และมีคำสั่งให้คณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของไทย (คณะกรรมการฯ) พิจารณาวินิจภัยกำหนดค่าตอบแทนผู้เสียหายแก่ผู้เสียหาย แม้จะเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับเป็นการยืนยันว่ารัฐมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองบุคคลทุกคนสอดคล้องตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                    (3) การส่งเสริมสิทธิเข้าถึงสิทธิการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 โดยสอดคล้องกับหลักการมีอิสระที่จะตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่รอบด้าน ทั้งในเรื่องสุขภาพ และเพื่อป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายและเสียชีวิตได้

          3. ข้อเสนอแนะต่อกลไกการติดตามและประเมินผลของแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

ข้อเสนอแนะ

ด้านบริบทและปัจจัยนำเข้า

 

ควรขับเคลื่อนแผนในลักษณะแผนบูรณาการทั้งการจัดทำแผนและโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและดำเนินงานในลักษณะงบบูรณาการ เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมบุคลากรและระบบการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการที่โดดเด่นให้มีความตระหนักรู้ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้กระบวนการติดตามผลการจัดทำตัวชี้วัด การรายงานผลการดำเนินการและผลการใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ด้านกระบวนการ

 

ควรมีการกำหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสู่แผนปฏิบัติการโดยมีการกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพ หน่วยงานหลัก หน่วยงานสนับสนุนจะต้องกำหนดกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน เพื่อจะสามารถกำหนดผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) ได้อย่างถูกต้อง

ด้านการติดตามและประเมินผล

 

ควรมีระบบการติดตามประเมินผล พร้อมทั้งมีคณะทำงานติดตามจัดเก็บข้อมูลที่มีความต่อเนื่องชัดเจนระบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนกลาง และกำหนดรูปแบบการรายงานให้หน่วยงานสามารถรายงานข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา

ด้านการถ่ายทอดส่งต่อและความยั่งยืน

 

ควรมีกลไกการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในรูปของกฎหมาย และควรมีการพิจารณาโครงการต้นแบบเพื่อสานต่อโครงการได้อย่างต่อเนื่อง และขยายผลในระดับประเทศ พร้อมทั้งมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหา หรืออุปสรรคร่วมกัน

ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสารสังคม

 

ควรมีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้เข้าถึงประชาชน และสถาบันการศึกษาทุกระดับ ภาคประชาสังคม เพื่อช่วยให้งานด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลในระดับประเทศได้อย่างชัดเจนมากขึ้น การกำหนดเป้าหมายโดยพิจารณาจากปัญหาและสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่ยังคงเพิ่มขึ้นในทุกๆ ด้าน เพื่อให้สามารถสะท้อนได้ว่า การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตอบสนองต่อการลดสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยอย่างแท้จริง

กรณีการเกิดสถานการณ์ข้อท้าทายที่เข้ามาแทรกระหว่างการขับเคลื่อนแผนฯ

 

เช่น การจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 สถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งในต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อไทย ควรมีการนำมาเป็นกรณีตัวอย่างหรือเป็นต้นแบบ หากเกิดกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดขึ้น หน่วยงานอื่นๆ จะมีความยืดหยุ่นในการปรับแผนดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายต่อไปได้

 

          4. ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้นำเสนอรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนฯ ต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนและขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 และที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 เรียบร้อยแล้ว โดยที่ประชุมทั้ง 2 คณะ มีมติเห็นชอบต่อรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ และให้ ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเสนอรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบต่อไป

_______________

1 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่เข้ามากำหนดเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ (1) ข้อมูลสวนบุคคลพื้นฐาน และ (2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 21 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11865

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!