WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม)

Gov 27

ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม)

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ 

          ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่กระทรวงยุติธรรมเสนอเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกำหนดให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นหรือสมรสกันได้ แก้ไขคำว่า “ชาย” “หญิง” “สามี” “ภริยา” และ “สามี ภริยา” เป็น “บุคคล” “ผู้หมั้น” “ผู้รับหมั้น” และ “คู่สมรส” เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้นหรือคู่สมรสไม่ว่าจะมีเพศใด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 43 มาตรา 193/22 มาตรา 1439 มาตรา 1440 ฯลฯ) ดังนั้น เพื่อให้สอดรับการแก้ไขถ้อยคำที่กำหนดให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นหรือสมรสกันได้ จึงได้มีการปรับแก้ไขถ้อยคำเล็กน้อยตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อรองรับสิทธิของคู่สมรสเพศเดียวกันให้มีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง แต่ยังคงหลักการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศใด โดยกำหนดให้คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งกระทำกับคู่หมั้นของตนเพื่อสนองความใคร่ของผู้นั้นหรือคู่หมั้นของตน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1445) กำหนดให้หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่กับชายได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1453) ในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิง เมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เดิม กำหนดให้กรณีถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนบุคคลทั้งสองมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส) (แก้ไขเพิ่มเติม ม. 1504) ในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิง เมื่อหญิงมีครรภ์ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เดิม กำหนดให้สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้เป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์) (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1510)

          อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอในครั้งนี้ มิได้ส่งผลกระทบต่อหลักการสำคัญบางประการ เช่น บุคคลทั้งสองฝ่ายสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ รับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินบางกรณีต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นไปหลักการแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับการเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นๆ เช่น กรณีการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการนั้น ปัจจุบันกำหนดให้จ่ายเงินแก่ “สามีหรือภริยา” แต่เมื่อมีการแก้ไขให้คู่สมรสหมายถึงบุคคลเพศเดียวกันด้วยแล้ว หน่วยงานจะต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในครั้งนี้

          กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย และเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ law.go.th ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว

          สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

          เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นและสมรสได้ แก้ไขคำว่า “ชาย” “หญิง” “สามี” “ภริยา” และ “สามีภริยา” เป็น “บุคคล” “ผู้หมั้น” “ผู้รับหมั้น” และ “คู่สมรส” เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้น หรือคู่สมรส ไม่ว่าจะมีเพศใด รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นมีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง สรุปสาระสำคัญดังนี้

 

ประเด็นสำคัญ

 

ประมวลกฎหมาย

แพ่งและพาณิชย์ (ปัจจุบัน)

 

ร่างฯ ที่ ยธ. เสนอในครั้งนี้

1. เหตุการเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหมั้น กรณีที่คู่หมั้นไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

 

กำหนดให้ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น

(มาตรา 1445)

 

กำหนดให้คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตน หรือผู้ซึ่งกระทำกับคู่หมั้นของตนเพื่อสนองความใคร่ของผู้นั้นหรือคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น

2. การกำหนดอายุขั้นต่ำในการจดทะเบียนสมรส

 

การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

(มาตรา 1448)

 

การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีมีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

3. เงื่อนไขแห่งการสมรสใหม่

 

กำหนดให้หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

2) สมรสกับคู่สมรสเดิม

3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ

4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

(มาตรา 1453)

 

กำหนดให้หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่กับชายได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

2) สมรสกับคู่สมรสเดิม

3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์ หรือ

4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

4. การเพิกกถอนการสมรส (ในกรณีมิได้มีการขอเพิกถอนการมรส ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส)

 

กำหนดให้กรณีถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนชายหญิง มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส

(มาตรา 1504 วรรคสอง)

 

กำหนดให้กรณีถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนบุคคลทั้งสองมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส

5. เงื่อนไขที่ทำให้การเพิกถอนการสมรสสิ้นสุด

 

กำหนดให้สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือเมื่อหญิงมีครรภ์

(มาตรา 1510 วรรคสอง)

 

กำหนดให้สิทธิขอเพิกถอน

การสมรสเป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือในกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเมื่อหญิงมีครรภ์

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 21 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

11875

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!