WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

การเข้าร่วม Climate Club ของประเทศไทย

Gov 26

การเข้าร่วม Climate Club ของประเทศไทย

          คณะรัฐมนตรีมีมีติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Club ในนามของประเทศไทย โดยมีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยดำเนินการ

          2. มอบหมายให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แทนประเทศไทย ลงนามในหนังสือแสดงความสนใจเข้าร่วม (Letter of Interest) เป็นสมาชิก Climate Club โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขหนังสือแสดงความสนใจเข้าร่วมหรือการดำเนินการใดในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก

          สาระสำคัญ

          1. Climate Club เป็นแนวคิดริเริ่มของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในการรวมกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต่อมากลุ่ม G7 ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มดังกล่าวขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วม จำนวน 22 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา แคนาดา สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐโคลอมเบีย สาธารณรัฐคอสตาริกา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สหภาพยุโรป สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐอิตาลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐเกาหลี ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ราชอาณาจักรนอร์เวย์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สมาพันธรัฐสวิส สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐอุรุกวัย และสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ได้รับการเชิญชวนและอยู่ระหว่างการพิจารณา จำนวนประมาณ 21 ประเทศ ได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ สาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐคาซัคสถาน ราชอาณาจักรโมร็อกโก สหรัฐเม็กชิโก สาธารณรัฐโมซัมบิก สาธารณรัฐปารากวัย สาธารณรัฐเปรู ราชอาณาจักรสวีเดน ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สาธารณรัฐเซ็ก ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐตุรกี ยูเครน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งอาจมีการพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคต ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมแล้ว ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วม ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2566) ผู้แทนใน Climate Club เป็นผู้บริหารระดับสูงจากประเทศสมาชิก (ระดับรัฐมนตรี) ซึ่งผู้แทนแต่ละประเทศที่เข้าร่วมการหารือจะเป็นระดับอธิบดี หรือผู้แทนอธิบดี และมีคณะทำงานเฉพาะกิจ (Task Force) ในระหว่างที่ยังไม่ได้เปิดตัว Climate Club อย่างเป็นทางการ โดยมี Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) และ International Energy Agency (IEA) ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการชั่วคราว ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิก Climate Club ไม่มีข้อผูกพันด้านเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และไม่มีข้อผูกพันทางการเงิน

          2. กลุ่ม G7 ได้กำหนดให้ประเทศที่จะเข้าร่วม Climate Club ยึดมั่นใน (1) การปฏิบัติตามความตกลงปารีสตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส (2) การเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในครึ่งศตวรรษ (ค.ศ. 2050) (3) การเร่งการลดการปล่อยคาร์บอนโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม และ (4) การร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ใน Climate Club 

          3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และกรมโรงงานอุตสาหกรรม) ไม่ขัดข้องต่อการเข้าร่วม Climate Club พร้อมให้ความเห็นว่า การเข้าร่วม Climate Club จะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้จะเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยสามารถปรับตัวในการดำเนินธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการกำหนดเกณฑ์หรือมาตรฐานที่เป็นมาตรการฝ่ายเดียวโดยประเทศอื่นๆ ไม่มีส่วนร่วม โดยเฉพาะมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) ของสหภาพยุโรป รวมถึงมาตรการในลักษณะเดียวกันของประเทศอื่นๆ

          ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วม Climate Club คือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานตลาดและผลิตภัณฑ์สีเขียวในอนาคต การสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจของนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการส่งเสริมการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมโดยสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี และสนับสนุนความต้องการด้านต่างๆ เช่น การเสริมสร้างศักยภาพ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 28 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

111158

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!