WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 28 พฤศจิกายน 2566

Gov 02

มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 28 พฤศจิกายน 2566

 

คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงพาณิชย์) 

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 4 คณะ ดังนี้ 

          1. คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) 

          2. คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) 

          3. คณะกรรมการว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดโดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (Duty free Quota Free Scheme: DFQF) 

          4. คณะกรรมการนโยบายอาหาร

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป 

          รายละเอียดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการฯ จำนวน 4 คณะ มีดังนี้ 

          1. คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) 

          องค์ประกอบ (คงเดิม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมศุลกากร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสมาคมการค้าพืชไร่ และผู้แทนสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมการค้าภายในที่ได้รับมอบหมาย และผู้แทนกรมการค้าภายในที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

          หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม) 

          1) เสนอกรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การบริหารสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สอดคล้องกันทั้งระบบและมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

          2) อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

          3) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

          4) พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการค้าและผู้ส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้การบริหารข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

          5) ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และโครงการที่ได้รับอนุมัติ

          6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการด้านการผลิต การตลาดและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

          7) เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการฯ

          2. คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) 

          องค์ประกอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย ผู้แทนสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย ผู้แทนสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้แทนสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย ผู้แทนสมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง ผู้แทนสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย นายสุรินทร์ พิชัย นายกสมาคมมันสำปะหลังไทยภาคเหนือ และนายธวัชนนท์ ดงประทีป ประธานกลุ่มแปรรูปมันเส้นสะอาด โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมการค้าภายในที่ได้รับมอบหมาย และผู้แทนกรมการค้าภายในที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

          หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม) 

          1) เสนอกรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับสินค้ามันสำปะหลังต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การบริหารจัดการสินค้ามันสำปะหลังสอดคล้องกันทั้งระบบ และมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

          2) อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง 

          3) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

          4) พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการแปรรูป และผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพื่อให้การบริหารจัดการมันสำปะหลังทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

          5) ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และโครงการที่ได้รับอนุมัติ

          6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการด้านการผลิต การตลาด และการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมันสำปะหลัง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

          7) เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ 

          3. คณะกรรมการว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (Duty free Quota Free Scheme: DFQF) 

          องค์ประกอบ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยมีผู้อำนวยการสำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

          หน้าที่และอำนาจ 

          1) กำกับดูแลโครงการ DFQF ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการภายในประเทศ

          2) พิจารณาทบทวนรายการสินค้าที่จะให้สิทธิพิเศษภายใต้โครงการ DFQF ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ

          3) พิจารณาการระงับสิทธิพิเศษภายใต้โครงการ DFQF เป็นรายประเทศหรือเฉพาะรายการสินค้า ตามคำแนะนำของคณะอนุกรรมการป้องกันผลกระทบอันเนื่องมาจากการให้สิทธิพิเศษภายใต้โครงการ DFQF

          4) แจ้งผลการพิจารณาการระงับสิทธิพิเศษตามข้อ 3) แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

          5) ดำเนินการทบทวนโครงการ DFQF (Midterm Review) อย่างน้อยทุก 3 ปี

          6) เชิญส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูลข้อคิดเห็น ส่งเอกสารหลักฐาน รายงานผลการดำเนินงาน หรือให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตามที่ได้รับการร้องขอ

          7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการดำเนินการของคณะกรรมการตามความจำเป็นและเหมาะสม

          8) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาทบทวนและต่ออายุโครงการ DFQF เมื่อครบตามระยะเวลาดำเนินโครงการที่กำหนดไว้

          4. คณะกรรมการนโยบายอาหาร 

          องค์ประกอบ (คงเดิม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

          หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม) 

          1) กำหนดนโยบายและมาตรการในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น

          2) ให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิด คณะอนุกรรมการและคณะทำงานอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม

 

คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงสาธารณสุข) 

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 9 คณะ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ดังนี้ 

          1. คณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ

          2. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ 

          3. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาทันตแพทย์

          4. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์

          5. คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ

          6. คณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ

          7. คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ

          8. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข

          9. คณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สธ. รายงานว่า ได้พิจารณาภารกิจและความจำเป็นของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง โดยมติคณะรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีชุดเดิม (รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ที่มีจำนวน 10 คณะแล้วเห็นควรเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ จำนวน 9 คณะ ตามข้อ 1 - 9 และไม่เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการสารเคมีแห่งชาติอีก เนื่องจากคณะกรรมการดังกล่าวไม่มีการประชุมในช่วงที่ผ่านมา และสามารถใช้กลไกอื่นในการขับเคลื่อนได้ โดยคณะกรรมการที่เสนอแต่งตั้ง ทั้ง 9 คณะ ตามข้อ 1 - 9 ยังมีภารกิจที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องคงอยู่ต่อไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          1. คณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ มีความจำเป็นต้องคงอยู่ เนื่องจากคณะกรรมการดังกล่าว เป็นกลไกการดำเนินงานหลักตามแผนปฏิบัติการด้านการ ควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ พ.ศ. 2565 - 2530 โดยมีภารกิจสำคัญ เช่น การกำหนดนโยบายระดับชาติในการดำเนินงานโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน อำนวยการประสานงาน ควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินงานโครงการควบคุมโรคขาดสารโอโอดีน รวมถึงการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งได้มีการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจ และได้มีการประชุมระหว่างปี 2563 - 2565 จำนวน 2 ครั้ง โดยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธาน ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดการประชุม โดยได้มีการพิจารณาแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ พ.ศ. 2565 – 2570 รวมทั้งได้ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการต่างๆ

          2. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ และคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษา เภสัชศาสตร์ รวม 3 คณะ (ตามข้อ 2 - 4) มีความจำเป็นต้องคงอยู่ เนื่องจากคณะกรรมการดังกล่าวเป็นกลไกหลักในการดำเนินการกำกับทิศทางนโยบายการจัดสรรนักศึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชศาสตร์ ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาในการเข้าปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานตามสัญญา และมีภารกิจสำคัญในการแก้ไขปัญหาการกระจายแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรไปปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงาน ทั้งในสังกัด สธ. และนอกสังกัด สธ. ซึ่งคณะกรรมการ ทั้ง 3 คณะ ได้ดำเนินภารกิจตามหน้าที่และอำนาจ และมีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ระหว่างปี 2563 - 2566 เฉลี่ยปีละ 3-4 ครั้ง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะกรรมการฯ สามารถจัดสรรนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาทันตแพทย์ และนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ไปปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงาน และพื้นที่ขาดแคลน เป็นจำนวนรวมกว่า 3,187 ราย

          3. คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ มีความจำเป็นต้องคงอยู่ เนื่องจากมีภารกิจสำคัญในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์โดยเน้น การเชื่อมประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีการจัดประชุมในระหว่างปี 2563 - 2566 ปีละ 1 ครั้ง และมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถผลักดันสิทธิประโยชน์ในการตรวจคัดกรองเพื่อหาการติดเชื้อโรคซิฟิลิสในคู่ของหญิงตั้งครรภ์ การส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ และสร้างกระแสสังคมให้สนใจปัญหาเด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ เพื่อเตรียมการรับมืออย่างต่อเนื่อง

          4. คณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพ นานาชาติ มีความจำเป็นต้องคงอยู่ เนื่องจากคณะกรรมการฯ มีภารกิจในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามนโยบายรัฐบาลได้อย่างแท้จริง ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ มีการจัดประชุมในระหว่างปี 2563 -2565 ปีละ 2 ครั้ง โดยได้ติดตามการดำเนินการตามภารกิจ เช่น การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้มอบหมาย สั่งการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์และสร้างกลไกส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ รวมทั้งติดตาม ควบคุม กำกับ เฝ้าระวังผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาล

          5. คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ มีความจำเป็นต้องคงอยู่ เนื่องจากการดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance: AMR) เป็น 1 ใน 10 ภัยคุกคามต่อสุขภาพประชากรโลกที่รุนแรง โดยทั่วโลกมีการเสียชีวิตปีละ 1.3 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการดื้อยาต้านจุลชีพปีละ 38,000 คน และยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเลี้ยงสัตว์ การเกษตร และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการดื้อยาต้านจุลชีพได้ถูกยกระดับเป็นนโยบายระดับสูงของฝ่ายการเมืองทั้งในและต่างประเทศ เช่น การรับรองปฏิญญาทางการเมือง เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพ ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 71 การประชุมสุดยอดอาเซียน สมัยที่ 31 และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยที่ 21 จึงทำให้การแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพต้องการการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในทุกภาคส่วน และต้องมีกลไกกลางระดับประเทศในการกำหนดทิศทางการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยคณะกรรมการฯ จะมีหน้าที่กำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ระดับชาติในการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการฯ มีการจัดประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงานตามหน้าที่และอำนาจในปี 2563 และปี 2565 ปีละ 1 ครั้ง โดยคณะกรรมการฯ สามารถทำให้ในช่วง พ.ศ. 2560-2565 ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในประเทศไทยสำหรับมนุษย์ลดลง ร้อยละ 24.8 และยังได้ดำเนินการให้เกิดการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 - 2570 ขึ้นมา เพื่อให้การดำเนินภารกิจดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

          6. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข มีความจำเป็นต้องคงอยู่ เนื่องจากมีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแลและวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าว ยังไม่ได้มีการจัดประชุม เนื่องจากต้องรอผลการพิจารณาสถานบริการที่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนจากคณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548 

          7. คณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548 มีความจำเป็นต้องคงอยู่ เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าวเป็นกลไกหลักในการพิจารณากำหนดพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายทั้งพื้นที่ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้มีการจัดประชุมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 เพื่อพิจารณาสถานบริการในพื้นที่ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามระเบียบดังกล่าว

 

คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ) 

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 2 คณะ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ดังนี้ 

          1. คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการต่อต้านการก่อการร้ายสากล 

          2. คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเขตแดนของประเทศไทย 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สมช. รายงานว่า ได้พิจารณาคณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี ของคณะรัฐมนตรีชุดเดิม (รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 ตุลาคม 2562) เห็นว่า คณะกรรมการทั้งสองคณะดังกล่าวยังมีภารกิจที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องคงอยู่ต่อไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินภารกิจที่สำคัญ ดังนี้

          1. คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการต่อต้านการก่อการร้ายสากล มีความจำเป็นต้องคงอยู่ต่อไป เนื่องจากเป็นกลไกหลักสำหรับการแก้ไขสถานการณ์การก่อการร้ายสากลโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณากำหนดนโยบายและดำเนินการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งปัจจุบัน สมช. อยู่ระหว่างเปลี่ยนผ่านการใช้คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ไปสู่การใช้สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นกลไกในการแก้ไขสถานการณ์การก่อการร้ายเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ และรูปแบบการก่อการร้ายในปัจจุบันที่ปรากฏเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว โดยอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดการเปลี่ยนผ่าน จึงไม่ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการในระหว่างปี พ.ศ. 2563-2566 แต่จำเป็นต้องคงคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการต่อต้านการก่อการร้ายสากลไว้ก่อน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในการปฏิบัติเกี่ยวกับการตัดสินใจ และการแก้ไขสถานการณ์การก่อการร้ายหากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น

          2. คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเขตแดนของประเทศไทย มีความจำเป็นต้องคงอยู่ต่อไป เนื่องจากคณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาปัญหาที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ ชายแดนหรือปัญหาเขตแดนในเชิงยุทธศาสตร์หรือระดับนโยบายที่อาจกระทบต่ออธิปไตยของประเทศ อันเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประเด็นความมั่นคงและการเมือง รวมถึงนโยบายของประเทศเพื่อนบ้านในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ มีการประชุมติดตามการปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจ จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 โดยมีเรื่องพิจารณาที่สำคัญประกอบด้วย การพิจารณาภาพรวมการดำเนินงานและสถานะเขตแดนของไทยและประเทศรอบบ้าน การกำหนดแนวปฏิบัติกรณีที่อาจมีปัญหากระทบต่อเส้นเขตแดน และการกำหนดท่าทีของไทยต่อประเด็นปัญหาเขตแดนไทย-ลาว กรณีดอนบ้านหนาด อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม และการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 โดยมีเรื่องพิจารณาที่สำคัญประกอบด้วย การติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานด้านเขตแดน การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินประเด็นเขตแดนของไทย กำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านเขตแดน กำหนดแนวทางการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งบนเกาะ/ดอนที่เป็นของไทย การตั้งฐานปฏิบัติการกองกำลังว้ารุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของไทย อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจารณาปัญหาการทำกินรุกล้ำพื้นที่ของไทยของราษฎรลาว บริเวณบ้านบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ และการแก้ไขปัญหามวลชนในพื้นที่โนนหมากมุ่น อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว โดยได้นำกราบเรียนต่อนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) เพื่อพิจารณาด้วยแล้ว ประกอบกับคณะกรรมการฯ ยังมีภารกิจที่มีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์และนโยบายที่สำคัญ เช่น แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นด้านความมั่นคง พ.ศ. 2561-2580 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 ทั้งนี้ สมช. ได้ตรวจสอบปรับปรุงองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการทั้ง 2 คนะ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันแล้ว

          1. คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล

          องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่ นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เจ้ากรมยุทธการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และผู้แทนส่วนราชการและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้อำนวยการกองความมั่นคงเกี่ยวกับภัยคุกคามข้ามชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

          หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

          1) พิจารณากำหนดนโยบาย และการดำเนินการตามนโยบายการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากลให้สอดคล้องกับสถานการณ์

          2) ศึกษาปัญหา ติดตาม และประเมินสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายสากลตามห้วงเวลาอย่างต่อเนื่อง

          3) เมื่อสถานการณ์ก่อการร้ายเกิดขึ้นในประเทศหรือนอกประเทศ กรรมการนี้จะต้องปฏิบัติการ ณ ที่ที่กำหนดไว้จนสถานการณ์สงบเรียบร้อย หากกรรมการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จะต้องมอบหมายผู้แทนที่มีอำนาจตกลงใจปฏิบัติหน้าที่แทน และกรรมการคณะนี้จะได้พิจารณา และเสนอแนะมาตรการปฏิบัติแก่รัฐบาลเพื่อ ตกลงใจต่อไป

          4) มอบหมายมาตรการปฏิบัติและอำนวยการในการแก้ไขปัญหาแล้วแต่กรณี ให้หน่วยในองค์กรปฏิบัติทำหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ หรืออาจมอบหมายให้หน่วยกำลังพิเศษอื่นตามความจำเป็นแล้วแต่กรณี

          5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็น 

          6) มีอำนาจเชิญบุคคลมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็นเพื่อการปฏิบัติการกิจของคณะกรรมการ

          7) หากมีปัญหาในการบริหารที่จำเป็นและเร่งด่วน ให้ประธานกรรมการคณะนี้มีอำนาจในการพิจารณาตกลงใจและสั่งการ แล้วแจ้งให้คณะกรรมการ 

          2. คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเขตแดนของประเทศไทย

          องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก อธิบดีกรมการปกครอง เสนาธิการทหาร เสนาธิการทหารบก เสนาธิการทหารเรือ เจ้ากรมแผนที่ทหาร เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เจ้ากรมอุทกศาสตร์ ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณา โดยมีผู้อำนวยการกองความมั่นคงกิจการชายแดนและประเทศรอบบ้าน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองเขตแดนระหว่างประเทศ กรมแผนที่ทหาร ผู้อำนวยการกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

          หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

          1) พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับเขตแดนของประเทศไทย โดยให้มีขอบเขตหน้าที่คลุมถึงเขตแดนทางบก ทางน้ำ และทางทะเล กับประเทศเพื่อนบ้านทุกด้าน เว้นแต่ปัญหาการแบ่งเขตไหล่ทวีป และเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

          2) เสนอแนะนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติของไทยในการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

          3) อำนวยการและประสานการปฏิบัติกับหน่วยต่างๆ เพื่อให้มีการวางแผนปฏิบัติงาน และดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

          4) เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น

          5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

          6) ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือประธานมอบหมาย 

 

การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย) 

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 

          1. นายมานะ สิมมา ผู้ตรวจราชการกรม (ผู้อำนวยการสูง) กรมการปกครอง ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2566 

          2. นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองต้น) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2566 

          3. นายวัชรเดช เกียรติชานน รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองต้น) จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการปกครอง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2566 

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 

 

การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก รวม 2 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้ 

          1. นายพรชัย ฐีระเวช  ประธานกรรมการ 

          2. นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านกฎหมาย) 

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป 

 

การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย) 

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 28 ราย ดังนี้ 

          1. นายชำนาญ ชื่นตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

          2. นายชูชีพ พงษ์ไชย รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

          3. นายณรงค์ จีนอ่ำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 

          4. นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

          5. นายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 

          6. นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 

          7. นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

          8. นายอลงกต วรกี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

          9. นายอังกูร ศีลาเทวากูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

          10. นางสาวเอกรัตน์ นาคาคง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

          11. นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ สำนักงานปลัดกระทรวง

          12. นายอนันต์ นาคนิยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวง

          13. นายทรงกลด สว่างวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง สำนักงานปลัดกระทรวง

          14. นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตราด สำนักงานปลัดกระทรวง 

          15. ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง

          16. นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน สำนักงานปลัดกระทรวง

          17. นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานปลัดกระทรวง

          18. นายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวง

          19. นายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา สำนักงานปลัดกระทรวง

          20. นายอดิเทพ กมลเวชช์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร สำนักงานปลัดกระทรวง

          21. นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร สำนักงานปลัดกระทรวง

          22. นายนริศ นิรามัยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง 

          23. นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง

          24. นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร สำนักงานปลัดกระทรวง 

          25. นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานปลัดกระทรวง 

          26. นายสุเมธ ธีรนิติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี สำนักงานปลัดกระทรวง 

          27. ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานปลัดกระทรวง

          28. นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานปลัดกระทรวง

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป

   

การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 15 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง สับเปลี่ยนหมุนเวียน และเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังนี้

          1. นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

          2. นางเอกสิริ ปิณฑะรุจิ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

          3. นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ

          4. นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์

          5. นางสาวอุศณา พีรานนท์ อธิบดีกรมอาเซียน ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

          6. นายวิชชุ เวชชาชีวะ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น

          7. นายพุทธพร อิ้วตกส้าน เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี 

          8. นายสุวัฒน์ แก้วสุข เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก

          9. นายอสิ ม้ามณี อธิบดีกรมยุโรป ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

          10. ร้อยโท พรหเมศ พหลพลพยุหเสนา เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์ ฮังการี

          11. นายโสรัจ สุขถาวร กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ ญี่ปุ่น ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

          12. นายณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ รองอธิบดีกรมการกงสุล ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป สำนักงานปลัดกระทรวง

          13. นายไพฑูรย์ มหาพัณณาภรณ์ รองอธิบดีกรมอาเซียน ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

          14. นายรุจ โสรัตน์ กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ แคนาดา ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ สาธารณรัฐเซเนกัล

          15. นางสาวประเพ็ญพิมพ์ ประจนปัจจนึก กงสุลใหญ่ (นักบริหารการทูตระดับต้น) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ให้ดำรงตำแหน่ง กงสุลใหญ่ (นักบริหารการทูตระดับสูง) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (ตำแหน่งซึ่ง ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง)

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศทั้ง 9 รายดังกล่าว (ลำดับที่ 1, 4, 6 – 10 และลำดับที่ 13 – 14) ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับแล้ว 

 

การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ 

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ จำนวน 4 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ดังนี้ 

          1. นายวีระพงษ์ แพสุวรรณ 

          2. นายยุทธนา เจียมตระการ 

          3. นายอุกฤษฏ์ อัษฎาธร 

          4. พันโท เทพจิต วีณะคุปต์ 

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป 

 

การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม) 

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ดังนี้

          1. พันตำรวจโท ประวุธ วงศ์สีนิล รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม

          2. พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

 

การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) 

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายพีรพร สุวรรณฉวี 2. นายเสฏฐนันท์ ราฟาเอล เตชะวิบูลย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป 

 

การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 10 คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนเดิมที่ลาออก ดังนี้

          1. นายกุลิศ สมบัติศิริ

          2. นายพสุ เดชะรินทร์

          3. นายเสรี นนทสูติ

          4. นายบุรณิน รัตนสมบัติ ผู้แทนองค์การเอกชน

          5. นายพยุงศักดิ์ ชาญด้วยวิทย์ ผู้แทนองค์การเอกชน

          6. นายกฤษ ศรีฟ้าผู้แทนองค์การเอกชน ซึ่งประกอบการในภูมิภาค 

          7. นายธนพล ภู่พันธ์ศรี ผู้แทนองค์การเอกชน ซึ่งประกอบการในภูมิภาค 

          8. นายวิกรม เตชะธีราวัฒน์ ผู้แทนองค์การเอกชน ซึ่งประกอบการในภูมิภาค

          9. นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ผู้แทนองค์การเอกชน ซึ่งประกอบการในภูมิภาค

          10. นายอรรฆรัตน์ นิติพน ผู้แทนองค์การเอกชน ซึ่งประกอบการในส่วนกลาง 

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 28 พฤศจิกายน 2566

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

111177

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

SME 720x100 66

kbank 720x100 66

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!