WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2568

Gov 04

ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2568

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ (ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบฯ) พ.ศ. 2568 ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เสนอสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาในช่วงเดือนมกราคม 2567 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบรายละเอียดคำของบประมาณต่อไป 

          ทั้งนี้ สงป. ได้ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองจัดทำยุทธ์ศาสตร์การจัดสรรงบฯ พ.ศ. 2568 ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลยุทธศาสตร์ชาติ ( พ.ศ. 2561 – 2580 ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (2566 – 2580) (แผนแม่บทฯ) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) แผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประเด็นการพัฒนาต่างๆ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศษฐกิจ การสร้างรายได้ ขยายโอกาส ดูแลคุณภาพชีวิตและความมั่นคง รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเป็นการให้ความสำคัญ กับประเด็นการพัฒนาตามแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) จำนวน 85 ประเด็น ซึ่งนำเป้าหมายและตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ และแผนย่อยของแผนแม่บทฯ ดังกล่าว มากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบฯ พ.ศ. 2568 ในแต่ละด้าน รวมทั้งนำนโยบายสำคัญของรัฐบาลและประเด็นสำคัญของแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มากำหนดเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำโครงการรองรับประเด็นดังกล่าวต่อไป

          ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบฯ พ.ศ. 2568 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

          2.1 โครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบฯ พ.ศ. 2568 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน ประกอบด้วย 

 

ตัวอย่างการดำเนินการการตามประเด็นเร่งด่วน

 

ตัวอย่างการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ

(1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

- สนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชนประชาชนกับประชาชนที่มีความแตกต่างทางความคิด ศาสนา และอุดมการณ์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขภายใต้หลักนิติธรรมและบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน

- ป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติและเพิ่มความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานทางไซเบอร์

- สร้างบทบาทประเทศไทยในเวทีโลก กระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

รักษาบทบาทนำในการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคและอนุภูมิภาค

อำนวยความสะดวกในการปรับปรุงขั้นตอนการขอวีซ่าและยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับกลุ่มประเทศเป้าหมายรวมทั้งการเจรจาเพื่อยกระดับหนังสือเดินทางไทย (Passport)

 

- มุ่งเน้นการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

- การพัฒนาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ และสังคม

- พัฒนาด้านการต่างประเทศให้มีเอกสภาพและมีการบูรณาการจากทุกภาคส่วน

(2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

- ส่งเสริมการทำเกษตรยั่งยืน เกษตรผสมผสานเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ และเกษตรทฤษฎีใหม่

- สนับสนุนการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยนวัตกรรม เกษตรแม่นยำ

- ปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพ

- สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมโดยใช้ซอฟต์พาวเวอร์เป็นตัวขับเคลื่อน

- สนับสนุนผู้ประกอบการและสตาร์อัพประยุกต์ใช้แนวคิดทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เอกลักษณ์ทางวัฒธรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม ในการสร้างมูลค่าเพิ่มและต่อยอดให้เกิด 1 ครองครัว 1ทักษะซอฟต์พาวเวอร์

- ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน

- ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะของภาครัฐ

 

- พัฒนาการเกษตร เช่น เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น

- ส่งเสริมอุตสาหกรรมและการบริการแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น

- ส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น

- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระบบโลจิสติกส์ พลังงานและดิจิทัล

(3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริงสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

- รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมไทย ให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยและเป็นซอฟต์พาวเวอร์ในการนำเสนอความเป็นไทยสู่สากล

- สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

- ยกระดับการผลิตและพัฒนาครู ปรับทบทบาทครูโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

- ส่งเสริมและพัฒนาด้านกีฬาอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะกีฬาที่เป็นที่นิยมในระดับสากล และการใช้ซอฟต์พาวเวอร์เป็นตัวขับเคลื่อน

 

- ปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมด้วยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม การมีจิตสาธารณะและการเป็นพลเมืองที่ดี

- พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

- สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์

- การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี โดยพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่ทันสมัยได้มาตฐานกระจายบริการอย่างทั่วถึง

(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

- การบริหารในรูปแบบของการกระจายอำนาจ (ผู้ว่า CEO) 

- สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร

- เพิ่มการเข้าถึงบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

- การพักหนี้เกษตรกรตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม

- มาตรการช่วยประคองภาระหนี้สินและต้นทุนทางการเงินสำหรับภาคประชาชน

- พัฒนาและยกระดับระบบสาธารณสุขของประเทศโดยยกระดับนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค

- จัดทำข้อมูลกลางด้านสุขภาพ เพื่อจัดบริการและวางแผนกำลังคนในอนาคต

 

- เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการพึ่งตนเอง

- ส่งเสริมศักยภาพบทบาทสตรีและสิทธิมนุษยชนให้ทุกเพศสภาพเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม

- ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยยกระดับศักยภาพการเป็นผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมและกลไกส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจรากฐาน

- สร้างความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคมโดยเน้นคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกันทางเศษฐกิจ สังคม และสุขภาพ

(5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

- ส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยข้อมูลที่แม่นยำและทันสมัย

- แก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นวาระแห่งชาติโดยเฉพาะเรื่องฝุ่นควัน PM 2.5 

- ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อประเมินผลและติดตามแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

- สร้างระบบสาธารณูปโภคให้เกิดสุขภาวะอนามัยที่ดีผ่านการพัฒนาระบบน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนมีน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคและบริโภคอย่างทั่วถึง

 

- สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศษฐกิจสีเขียวและสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ

- จัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย

- เพิ่มประสิทธิภาพการส่งและการใช้น้ำทุกภาคส่วนพรัอมทั้งเพิ่มการเก็บกักน้ำในพื้นที่

- ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศในทุกมิติ

(6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

- ปรับปรุงการทำงานของภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลโดยการนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน

- ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรภาครัฐให้มีทักษะที่จำเป็นในการให้บริการภาครัฐดิจิทัลแบบองค์รวม

- ส่งเสริมการจัดการปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

- เปิดเผยข้อมูลผ่านเทคโนโลยีและช่องทางต่างๆ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และตรวจสอบการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ

- ยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นและพัฒนากฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ

- ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

- พัฒนาบริการภาครัฐที่มีคุณค่าและปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล

- พัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ

- ปรับวิธีการทำงานเป็นการให้บริการที่ให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ

- เชื่อมโยงและบูรณาการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกัน

- เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ

- พัฒนาการบริหารจัดการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการ

 

          2.2 รายการค่าดำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 4 ธันวาคม 2566

 

 

12230

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!