WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 26 (The 26th GMS Ministerial Conference)

Gov 09

การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 26 (The 26th GMS Ministerial Conference)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 26 ได้แก่ (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 26 และ (2) ร่างข้อเสนอแนวคิดสำหรับการยกร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573 และขอความเห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างแถลงการณ์ร่วมฯ และร่างข้อเสนอแนวคิดฯ ได้ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีก

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) หรือผู้แทนที่รัฐมนตรีช่วยว่การกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) มอบหมาย ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS Minister) และเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 26 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2566

          3. ขอความเห็นชอบให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) หรือผู้แทนที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) มอบหมายได้ร่วมกับรัฐมนตรีของประเทศลุ่มแม่น้ำโขงให้การรับรอง (1) แถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 26 และ (2) ข้อเสนอแนวคิดสำหรับการยกร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 โดยไม่มีการลงนาม

          สาระสำคัญ 

          1) สาระสำคัญร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 26 (Joint Ministerial Statement) (1) รัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าสำคัญในสาขาความร่วมมือในสาขาต่างๆ (2) รัฐมนตรีรับทราบและให้การรับรองแผนงาน การศึกษา และความก้าวหน้าต่างๆ ในประเด็นเชิงบูรณาการ (3) การดำเนินงานในระยะต่อไปของแผนงาน GMS 

          2) สาระสำคัญของร่างข้อเสนอแนวคิดสำหรับการยกร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573 (A Proposal to Develop a GMS Innovation Strategy for Development 2030) เช่น ข้อเสนอแนวคิดสำหรับการยกร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา พ.ศ. 2573 เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงควมสำคัญของนวัตกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและการส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดน โดยความร่วมมือด้านนวัตกรรมจะเป็นโอกาสในการใช้ศักยภาพสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง บนพื้นฐานของความต้องการ ศักยภาพและระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ เพื่อลดความเหลือมล้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก ผ่านการพัฒนาและแบ่งปันความรู้ร่วมกัน โดยสร้างความเชื่อมโยงกับประเด็นสำคัญและโครงการริเริ่มที่มีอยู่แล้วของแผนงาน GMS อาทิ การเปลี่ยนผ่านดิจิทัล ในการกำหนดทิศทางการพัฒนา การเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรมและการกำหนดนโยบายนวัตกรรม โดยจะพัฒนาเป็นยุทธศาสตร์ฯ ฉบับสมบูรณ์ และคาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุมระดับผู้นำแผนงาน GMS พ.ศ. 2567 เพื่อให้การรับรองแนวปฏิบัติได้ในห้วง พ.ศ. 2568 – 2573 

          3) ประโยชน์และผลกระทบ

          การเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 26 ของผู้แทนประเทศไทยที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ และร่างข้อเสนอแนวคิดสำหรับการยกร่างยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573 จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ดังนี้ (1) ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อผลักดันประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันของอนุภูมิภาคในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) แสดงความมุ่งมั่นของไทยในการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายใต้การดำเนินโครงการของแผนงาน GMS ซึ่งสอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเทศตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งให้ไทยเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์และห่วงโช่มูลค่าของภูมิภาคบนฐานนวัตกรรม(3) ขับเคลื่อนการดำเนินงานของไทยภายใต้แผนงาน GMS ให้มีประสิทธิภาพ และสอดรับกับหมุดหมายการพัฒนาของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) รวมถึงผลักดันให้แผนงาน GMS เป็นเวทีพหุภาคีที่เปิดกว้างและครอบคลุม โดยมีการประสานงานร่วมกันของหลายภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา และภาคส่วนท้องถิ่นของไทยในการขับเคลื่อนแผนงาน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 12 ธันวาคม 2566

 

 

12324

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!