WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

การยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้นเป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว

Gov 04

การยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้นเป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ 

          1. อนุมัติในหลักการในการกำหนดให้ญี่ปุ่นอยู่ในรายชื่อประเทศในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็น การชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้น ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการดำเนินธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศ

          2. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้น ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป อนึ่ง กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่างประกาศฉบับนี้ด้วยแล้ว

          3. มอบหมายให้หน่วยงานความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกำกับติดตามและประเมินผลจากการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ ทั้งนี้ หากมีผลกระทบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ หน่วยงานความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวต่อไปได้

          สาระสำคัญ 

          1. ฝ่ายไทยได้ยกเว้นการตรวจลงตราให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการท่องเที่ยวเป็นเวลา 30 วัน (ผ.30) โดยเป็นการให้ฝ่ายเดียว ตั้งแต่ปี 2538 ดังนั้น ในทางปฏิบัตินักธุรกิจญี่ปุ่นสามารถใช้มาตรการ ผ.30 เดินทางเข้าไทย โดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา แต่กรณีนักธุรกิจญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อติดต่อธุรกิจระยะสั้น จะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ ผ.30 ดังนั้น เมื่อปี 2565 สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ขอให้ไทยยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่นักธุรกิจญี่ปุ่นที่จะเดินทางเข้าราชอาณาจักรเพื่อติดต่อธุรกิจระยะสั้นด้วย ส่วนญี่ปุ่นได้ยกเว้นการตรวจลงตราให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางไทย ซึ่งเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อการท่องเที่ยวและ/หรือติดต่อธุรกิจเป็นเวลา 15 วัน ตั้งแต่ปี 2556 โดยเป็นมาตรการที่ให้แก่ไทยฝ่ายเดียวแบบชั่วคราว คราวละ 3 ปี ซึ่งล่าสุดมีการต่ออายุจนถึงปี 2568

          2. ฝ่ายญี่ปุ่นได้หยิบยกเรื่องนี้ในการหารือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยทุกระดับ อาทิ ในการหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ที่กรุงเทพฯ และในการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่นครซานฟรานซิสโก ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่ามีประโยชน์ในภาพรวม โดยญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนต่างชาติที่มียอดลงทุนสะสมเป็นอันดับ 1 หลายทศวรรษ และปัจจุบันเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทย

          3. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ในส่วนของการสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่และยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจึงเห็นควรเสนอให้รัฐบาลไทยออกมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้น โดยให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน เป็นการชั่วคราว โดยมีผลบังคับใช้ 3 ปี ตั้งแต่เดือน วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรัฐบาลไทยที่ต้องการกระตุ้นและพื้นฟูเศรษฐกิจของไทยโดยเร็ว

          ประโยชน์และผลกระทบ

          การกำหนดให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้นได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ จะช่วยส่งเสริมให้นักธุรกิจญี่ปุ่นเดินทางมาขยายความร่วมมือและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไทยได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีศักยภาพในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลมุ่งเป้าจะส่งเสริม ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมสีเขียว (2) ยานยนต์ไฟฟ้า (3) การแพทย์ (4) ชีวภาพ (5) เศรษฐกิจดิจิทัล (6) โครงสร้างพื้นฐาน (7) การพัฒนาการเกษตร และ (8) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 12 ธันวาคม 2566

 

 

12328

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!