WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

การยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD)

Gov 11

การยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบต่อร่างหนังสือแสดงเจตจำนงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD) (ร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขออนุมัติให้ สศช. และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก

          2. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ

          3. มอบหมายให้ สศช. และ กต. เป็นหน่วยงานประสานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย และมอบหมายหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบตามตารางห่วงโซ่คุณค่าเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก OECD ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน Framework for the Consideration of Prospective Members รวมถึงการดำเนินการอื่นใดที่จะช่วยขจัดอุปสรรคและสนับสนุนกระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทยในอนาคต

          เรื่องเดิม

          คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 กุมภาพันธ์ 2565) เห็นชอบให้ กต. ศึกษาถึงความพร้อมและความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก OECD ตลอดจนประโยชน์ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก OECD ที่ไทยจะได้รับ เนื่องด้วยการมีส่วนร่วมกับ OECD จะช่วยให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ในการยกระดับมาตรฐานนโยบายและมาตรการต่างๆ ของไทยให้ทัดเทียมสากล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถและปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น ตามที่ สศช. เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สศช. รายงานว่า

          1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติข้างต้น (15 กุมภาพันธ์ 2565) กต. ได้จ้างมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาและวิจัยความเหมาะสมในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย โดยเมื่อเดือนกันยายน 2565 TDRI ได้เสนอรายงานผลการศึกษาดังกล่าว ซึ่งสรุปได้ว่า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิก OECD แบบเต็มรูปแบบ (full member) อาทิ การปฏิรูปโครงสร้างหลายมิติและมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและโอกาสเข้าถึงตลาดประเทศสมาชิกมากกว่าเข้าร่วมในคณะกรรมการต่างๆ ในฐานะของประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก (non - member)

          2. ต่อมาเมื่อวันที่ 24 - 27 เมษายน 2566 สศช. และ กต. ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทน OECD เกี่ยวกับกระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิกของไทย โดยผลการหารือได้ข้อสรุปว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิก OECD เนื่องจากมีการพัฒนามาตรฐานภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และมีความร่วมมือกับ OECD หลายด้าน โดยเฉพาะโครงการ Country Programme (โครงการ CP) ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง1 ซึ่ง OECD มีท่าทีเชิงบวกต่อการเข้าเป็นสมาชิกของไทย

          3. สศช. ร่วมกับ กต. จัดการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [จำนวน 41 หน่วยงาน เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)] เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เกี่ยวกับประเด็นความพร้อมและความเหมาะสมของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD เพื่อชี้แจงแนวทางในการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก พร้อมทั้งขอรับข้อมูลการประเมินความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกรอบการพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิก OECD (Framework for the Consideration of Prospective Members) ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อมูล ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะที่จำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยเฉพาะประเด็นการสร้างความร่วมมือกับประเทศสมาชิก OECD และการพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐาน OECD 

          4. สศช. แจ้งว่า กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน (1) ขั้นตอนการสมัครเข้าเป็นสมาชิก (5 ขั้นตอน) (2) กระบวนการภาคยานุวัติ

          5. กต. ได้จัดทำร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ซึ่งมีสาระสำคัญที่แสดงถึงเจตนาฝ่ายเดียวอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในการขอเข้าสู่กระบวนการภาคยานุวัติเพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยมิได้มีเนื้อหาเป็นการทำความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับ OECD แต่อย่างใด ทั้งนี้เอกสารดังกล่าวระบุรายละเอียดในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 

              1) ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ OECD ที่มีมาอย่างยาวนาน เช่น (1) การเรียนรู้และปรับตัวของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD (2) การเข้าเป็นภาคีตราสารทางกฎหมายของ OECD หลายฉบับ และ (3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ OECD ในหลายภาคส่วน ทั้งนี้ โครงการ Thailand - OECD Country Programme ระยะที่ 2 ที่ได้เริ่มดำเนินโครงการเมื่อเดือนมีนาคม 2566 จะเป็นการรักษาแรงขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกันนี้ให้คงระดับต่อไป

              2) การดำเนินการของประเทศไทยเพื่อเข้าเป็นสมาชิก

              ประเทศไทยจะเร่งกระบวนการปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD ปรับปรุงนโยบายประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดีขึ้นด้วยการแข่งขันที่เท่าเทียมและโปร่งใส ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นและมีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยสมบูรณ์

              3) ผลประโยชน์ที่ OECD จะได้รับจากการที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก

              ประเทศไทยสามารถผยแพร่การดำเนินงานระดับโลกของ OECD เพื่อสร้างผลกระทบและเพิ่มการมีบทบาทของ OECD ในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการกำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของ OECD ต่อภูมิภาคนี้

          6. แผนการขับเคลื่อนการดำเนินการของประเทศไทย

          สศช. ได้จัดทำห่วงโซ่คุณค่าเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก OECD เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย โดยยึดหลักเกณฑ์จาก Framework for the Consideration of Prospective Members2 รวมทั้งได้ระบุหน่วยงานหลักที่มีภารกิจสอดคล้องกับเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับมาตรฐานและการดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน Framework for the Consideration of Prospective Members ให้ได้มากที่สุด ดังนี้ 

 

เงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก OECD

หน่วยงานหลัก

(1) ความพร้อมด้านกฎหมายและกฎระเบียบตามมาตรฐาน OECD อาทิ การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับตราสาร ทางกฎหมายของ OECD

สคก.

(2) ความมุ่งมั่นของประเทศในการปฏิบัติตามค่านิยม วิสัยทัศน์ และภารกิจของ OECD อาทิ ความพร้อมในการเปิดเสรีการลงทุนโดยตรง สิทธิแรงงาน เสรีภาพของสื่อมวลชน ภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ยธ.

(3) กลไกเชิงสถาบัน อาทิ ความพร้อมด้านการบริหารราชการแผ่นดินระบบราชการ การบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า

สำนักงาน ...

(4) ข้อมูลเศรษฐกิจหลักของประเทศ อาทิ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ การส่งออกและการนำเข้าสินค้าและบริการ อัตราการว่างงาน มูลค่าการลงทุนโดยตรงสะสม เป็นต้น

สศช.

(5) ความสัมพันธ์กับ OECD อาทิ การเข้าไปมีสถานะใน OECD Committee การเข้าเป็นภาคีตราสารทางกฎหมาย การมีส่วนร่วมในกลไกความร่วมมือต่างๆ ของ OECD

กต.

________________________________________

1 ปัจจุบันได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการต่ออายุโครงการ CP ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ OECD เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวแล้ว] เห็นชอบเพื่อดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 2 ใน 4 สาขาความร่วมมือ ได้แก่ (1) หลักธรรมาภิบาล (2) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน (3) ความครอบคลุมทางสังคมและการพัฒนาทุนมนุษย์ และ (4) การฟื้นฟูสีเขียว ผ่านรูปแบบความร่วมมือที่สำคัญ เช่น การจัดทำรายงานการศึกษาวิจัยร่วม การทบทวนนโยบายและบทวิเคราะห์อื่นๆ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูลทางสถิติในการวิเคราะห์ เป็นต้น

[โครงการ CP ระยะที่ 1 สิ้นสุดลงแล้วเมื่อปี 2564 โดยได้มีการดำเนินโครงการรวมทั้งสิ้น 16 โครงการ เช่น โครงการ Improving Integrity and Governance in the Public Sector Designing Effective Anti - corruption Policies รับผิดชอบโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) โครงการ Implementing Regulatory Reform and Mainstreaming Good Regulatory Practice รับผิดชอบโดย สคก. โครงการ Supporting the Digital Economy รับผิดชอบโดย ดศ. และโครงการ Strategic Co-ordination and Monitoring รับผิดชอบโดย สศช. และ กต. เป็นต้น ทั้งนี้ สศช. เห็นว่า การดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 1 กับ OECD ได้ช่วยยกระดับมาตรฐานภายในประเทศของไทยให้ทัดเทียมสากล พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และการปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น]

2 Framework for the Consideration of Prospective Members เป็นหลักเกณฑ์ที่ OECD จัดทำขึ้นเพื่อให้ประเทศที่สนใจจะเข้าเป็นสมาชิกใช้ประเมินความพร้อมในเบื้องต้น ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (2) สถานะความพร้อมของประเทศในการปรับมาตรฐานให้สอดคล้องกับ OECD (State of Readiness) (2) ความมุ่งมั่นของประเทศในการปฏิบัติตามคำนิยมและผลผูกพันประเทศสมาชิก OECD (County’s Commitment to OECD Values and Membership Obligations) (3) กรอบการบริหารภาครัฐและโครงสร้างเชิงสถาบัน (Institutional Framework) (4) ตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ (Key Economic Indicators) และ (5) การมีส่วนร่วมกับ OECD (Relations with OECO)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 26 ธันวาคม 2566

 

 

12838

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!