WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10

Gov 06

การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 [เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small and Medium Enterprises: SMEs) ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 10 (โครงการ PGS ระยะที่ 10)] ในส่วนของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อจากเดิมวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 50,000 ล้านบาท เป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 53,250 ล้านบาท (เพิ่มอีก 3,250 ล้านบาท) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการ PGS ระยะที่ 10 ตามที่ กค. เสนอโดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมชนาดย่อม (บสย.)1 ให้แก่สถาบันการเงินในการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยมีวงเงินค้ำประกันสินเชื่อรวม 50,000 ล้านบาท2 และรัฐบาลรับภาระจ่ายชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และค่าค้ำประกันชดเชยตลอดทั้งโครงการรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 7,125 ล้านบาท 

          2. โดยข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2566 บสย. ได้มีการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อตามโครงการ PGS ระยะที่ 10 ไปแล้วจำนวน 46,712 ล้านบาท สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากระบบสถาบันการเงินได้จำนวน 73,964 รายและคาดว่าจะมียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อเต็มวงเงินโครงการภายในปี 2566 โดยวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการ PGS ระยะที่ 10 จำนวน 7,125 ล้านบาท ใช้ดำเนินโครงการไปแล้วรวม 6,597.50 ล้านบาท ทำให้ยังมีงบประมาณคงเหลือจำนวน 527.50 ล้านบาท (7,125 - 6,597.50) ซึ่ง บสย. เห็นว่า สามารถนำงบประมาณคงเหลือนี้มาขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อตามโครงการได้อีกจำนวน 3,250 ล้านบาท3

          3. โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ได้ส่งผลกระทบมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้ยังมีผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ประกอบกับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ยังมีแนวโน้มผันผวน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าทั่วไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการ SMEs มีกำไรลดลงและประสบกับปัญหาด้านสภาพคล่องและยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากสถาบันการเงินเห็นว่าผู้ประกอบการ SMEs มีความเสี่ยงในการชำระหนี้คืนและมีหลักประกันไม่เพียงพอกับความเสี่ยงดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น กค. จึงเห็นควรขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อโครงการ PGS ระยะที่ 10 เพิ่มอีก 3,250 ล้านบาท

          4. กค. แจ้งว่า การเพิ่มวงเงินค้ำประกันสินเชื่อดังกล่าวไม่เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากเป็นการแก้ไขรายละเอียดโครงการโดยใช้งบประมาณคงเหลือภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณเดิมที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไว้ (ตามข้อ 1.)

____________________

1 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนามย่อม (บสย.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของ กค. ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534 โดยรับโอนทรัพย์สิน หนี้สิน และความรับผิดชอบของกองทุนประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (กสย.) เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อให้กับสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกัน หรือหลักประกันไม่เพียงพอได้รับวงเงินที่เพียงพอกับความต้องการ

2 วงเงินค้ำประกันรวม 50,000 ล้านบาท คำนวณมาจากงบประมาณจากรัฐบาลสำหรับชดเชยค่าธรรมเนียมการ ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาล จำนวน 7,125 ล้านบาท โดยคำนวณจากร้อยละ 14.25 x 50,000 ล้านบาท 

3 การขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อตามโครงการอีกจำนวน 3,250 ล้านบาท คำนวณมาจากร้อยละ 16 x 3,250 ล้านบาท = 527.36 ล้านบาท (ปรับค่างบประมาณคงเหลือดังกล่าว ≈ 527.50 ล้านบาท) โดย กค. แจ้งว่า การปรับการคำนวณเป็นร้อยละ 16 เพื่อให้สามารถใช้งบประมาณที่คงเหลืออยู่ได้เต็มวงเงินสำหรับการค้ำประกันได้มากขึ้น (หากใช้ฐานการคำนวณเดิม คือ ร้อยละ 14.25 x 3,250 = 463.13 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ใช้งบประมาณคงเหลือ แค่เพียง 463.13 ล้านบาท ไม่เต็มวงเงินจำนวน 527.50 ล้านบาท) 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 26 ธันวาคม 2566

 

 

12841

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!