WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค)

Gov 29

รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค)

           คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ

           สาระสำคัญ

           สธ.รายงานว่า

           1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อยกระดับการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค) โดยด่วนเพื่อพิจารณาการดำเนินการปรับปรุงระบบสาธารณสุขของประเทศไทยให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น นั้น โดยที่การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วนตามนโยบายด้านการสาธารณสุขของรัฐบาลที่ประชาชนให้ความสนใจและรอคอยการดำเนินการอยู่จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเร่งรัด ติดตาม และรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ทั้งในส่วนที่สามารถดำเนินการได้ในระยะต้นและในส่วนที่จะดำเนินการในระยะต่อไป ต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์ (ภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2566) ทั้งนี้ ให้ประชาสัมพันธ์ให้สื่อมวลชนและประชาชนได้ทราบโดยทั่วกันตามความจำเป็นเหมาะสมด้วย

           2. ความคืบหน้าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ในส่วนของการดำเนินการยกระดับ “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนา กิจกรรมตัวขี้วัดระยะ 100 วัน (ในระยะต้น) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ระยะต่อไป) โดยมีผลการดำเนินงาน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2566) สรุปสาระสำคัญ เช่น

 

หัวข้อ

 

สาระสำคัญ

(1) เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้นประชาชนไม่ต้องลำบากเดินทางไกล

 

1) ด้านดิจิทัลสุขภาพ

    1.1) บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

4 จังหวัด นำร่อง ได้แก่ แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส

 

ประชาชนขึ้นทะเบียนแล้ว

583,159 คน

ระยะต่อไป

ร้อยละ 100 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เชื่อมโยงข้อมูลระเบียนสุขภาพส่วนบุคคลและส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยแบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 12 เขตสุขภาพ

 

-

 

    1.2) โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

โรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. ผ่านเกณฑ์การประเมิน smart hospital ระดับเงิน จำนวน 200 แห่ง

 

อยู่ระหว่างการประเมิน

ระยะต่อไป

โรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. ผ่านเกณฑ์การประเมิน smart hospital ระดับเงินร้อยละ 50 จำนวน 450 แห่ง

 

-

 

2) การพัฒนาการแพทย์ปฐมภูมิ

    2.1) การนัดหมอจากบ้าน นัดคิวออนไลน์ และบริการ Telehealth

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

นัดหมายพบแพทย์ ตรวจเลือด รับยาใกล้บ้าน 1 จังหวัด 1 โรงพยาบาล

 

ดำเนินการแล้ว

ทั้ง 76 จังหวัด

ระยะต่อไป

ผู้รับบริการตามนโยบายบริการปฐมภูมิไปที่ไหนก็ได้ (OP anywhere) จำนวน 5,854,015 ครั้ง

 

-

 

    2.2) Smart อสม.

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

ปรับปรุงแอปพลิเคชัน Smart อสม.

 

ดำเนินการแล้ว

ระยะต่อไป

อสม. มีศักยภาพจัดบริการปฐมภูมิขั้นพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ร้อยละ 65

 

-

 

(2) เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และคุณภาพ

 

1) พัฒนาศักยภาพการวินิจฉัยด้วย CT Scan และ MRI

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

โรงพยาบาลระดับ A (โรงพยาบาลขนาด 500 เตียงขึ้นไป ที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน) อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างเหมาบริการ CT Scan 12 เครื่อง

 

ดำเนินการแล้ว 9 เครื่อง

ระยะต่อไป

โรงพยาบาลระดับ A จะอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างเหมาบริการ CT Scan ร้อยละ 100

 

-

 

2) การสร้างขวัญและกำลังใจ

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

บรรจุตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 3,000 อัตรา

 

บรรจุแล้ว 2,210 อัตรา

ระยะต่อไป

ลดขั้นตอน/ภาระงาน บุคลากรทางการแพทย์

 

-

 

3) การจัดตั้งโรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาลและปริมณฑล

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

จัดตั้งโรงพยาบาล 120 เตียงในเขตดอนเมือง/อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

 

- ยกระดับโรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) เป็นโรงพยาบาลเขตดอนเมือง ขนาด 120 เตียง

- ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร เป็นโรงพยาบาลผู้ป่วยนอกเฉพาะทาง โดยมีโรงพยาบาลราชวิถี 2 เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อ

- เปิดบริการ OPD ในโรงพยาบาลราชวิถีนครพิงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ระยะต่อไป

โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ

- กทม. รับผู้ป่วยได้ 25 เตียง

- อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รับผู้ป่วยใน อายุรกรรม/ศัลยกรรมทั่วไป เปิดบริการ OPD เวชศาสตร์ฟื้นฟู

 

-

 

4) การพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้ต้องขัง ในโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

เครือข่ายราชทัณฑ์ปันสุขฯ ต้นแบบครบทั้ง 12 เขตสุขภาพ

 

ดำเนินการแล้ว

ระยะต่อไป

- ผู้ต้องขังได้รับบริการสุขภาพตามมาตรฐานตามสิทธิประโยชน์ จำนวน 307,800 ครั้ง

- ร้อยละ 90 ของเรือนจำ มีระบบรักษาพยาบาลตามมาตรฐานขั้นต่ำ

 

-

 

(3) เป้าหมายการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูและการดูแลระยะสุดท้าย

 

1) สถานชีวาภิบาล

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

จัดตั้งสถานชีวาบาลจังหวัดละ 1 แห่ง รวม 76 จังหวัด เป้าหมายร้อยละ 80

 

เปิดดำเนินการแล้ว

44 จังหวัด (ร้อยละ 58)

ระยะต่อไป

จัดตั้ง Hospital at Home/Home Ward จังหวัดละ 1 แห่ง และมีคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลทุกระดับ

 

-

 

2) สุขภาพจิตและยาเสพติด

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

- จัดตั้งศูนย์มินิธัญญารักษ์ ทุกจังหวัด

 

ดำเนินการแล้ว 42 จังหวัด

- มีหอผู้ป่วยจิตเวชทุกจังหวัดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ทั้งหมด 127 แห่ง ดำเนินการแล้ว 69 แห่ง
- มีกลุ่มงานจิตเวชทุกอำเภอในโรงพยาบาลชุมชน 776 แห่ง ดำเนินการแล้ว 626 แห่ง

ระยะต่อไป

ร้อยละ 100 ของมินิธัญญารักษ์ได้รับการติดตาม ประเมิน รับรองคุณภาพมาตรฐานตามที่ สธ. กำหนด

 

-

 

3) เศรษฐกิจสุขภาพ

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

มี Blue Zone ต้นแบบเมืองสุขภาพดี วิถีชุมชน คนอายุยืน จำนวน 19 แห่ง

 

ดำเนินการแล้ว 1 แห่ง

ระยะต่อไป

มี Healthy Cities MODELs จังหวัดละ 1 แห่ง

 

-

 

4) วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี

ระยะ

ผลการดำเนินการ

ระยะสั้น

ฉีดวัคซีน HPV ในหญิงอายุ 11 - 20 ปี 1 ล้านโดส

 

ฉีดแล้ว 807,604 โดส

ระยะต่อไป

หญิงอายุ 11 - 20 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1,747,000 โดส

 

-

 

 

           3. สธ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 258/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2566 โดยในคราวประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมมีมติให้เร่งขยายพื้นที่การดำเนินการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ เพิ่มจาก 4 จังหวัดนำร่อง [ตามตารางในข้อ 2 (1) 1)] ให้เร็วที่สุด และหากจังหวัดใดมีความพร้อมเพียงพอให้เริ่มดำเนินการระยะที่ 2 ทันที โดยต้องเชื่อมโยงข้อมูลระบบเข้าด้วยกัน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 2 มกราคม 2567

 

 

1022

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!