WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550

Gov 22

รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง อำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดเพื่อสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป 

          เรื่องเดิม

          1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1 (ผู้ถูกร้อง) ได้ทำร้ายร่างกายผู้ร้องขณะจับกุมและควบคุมตัวในคดียาเสพติด โดยผู้ถูกร้องในฐานะเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 11/6 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ควบคุมตัวผู้ร้องไว้เพื่อสืบสวนสอบสวนได้ไม่เกิน 3 วัน แล้วส่งตัวให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดำเนินการต่อไป (อีกไม่เกิน 48 ชั่วโมง) เมื่อผู้ร้องถูกส่งตัวไปฝากขังที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลางได้ตรวจร่างกายก่อนรับตัวพบว่า ร่างกายของผู้ร้องมีร่องรอยการบาดเจ็บ

          2. กสม. เห็นว่า แม้จะไม่ปรากฏพยานหรือหลักฐานที่ชี้ว่าผู้ถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ร้อง แต่เมื่ออาการบาดเจ็บเกิดขึ้นก่อนถูกควบคุมตัวไปที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ประกอบกับจากการชี้แจงของผู้ถูกร้องไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องมีพฤติการณ์ขัดขืนหรือหลบหนีการจับกุม จึงน่าเชื่อว่าผู้ร้องได้รับบาดเจ็บจากการควบคุมตัวของผู้ถูกร้องอันเป็นการกระทำที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของผู้ร้องเกินสมควรแก่กรณี จึงเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และเพื่อเป็นการแก้ไขหรือป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กสม. จึงมีข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามอบหมายให้ ยธ. โดยคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) ดำเนินการต่อไป

          3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. ว่า เมื่อได้รับข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว ให้รายงานรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาสั่งการให้มีหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของ กสม. ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้รายงานสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) กพยช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ ยธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้ สลค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          ยธ. รายงานว่า ยธ. โดยสำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพยช. ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะของ กสม. ตามข้อ 3. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กห. พม. มท. สคก. ตช. ศย. อส. สำนักงาน ป.ป.ส. และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของ กสม.

 

สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม

       ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้ ยธ. โดย กพยช. ดำเนินการ ดังนี้

       1. หารือกับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด .. 2550 เพื่อยกเลิกมาตรา 11/6 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด .. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) .. 2564 โดยให้ใช้วิธีสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากมีความจำเป็นที่จะต้องสอบสวนขยายผลในคดียาเสพติด หรือมีเหตุจำเป็นอื่นที่ต้องขยายระยะเวลาการควบคุมตัวให้ผู้จับกุมหรือควบคุมตัวต้องร้องขอต่อศาลเพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เพื่อการสอบสวนหรือดำเนินการอื่น

       2. หารือกับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาพุทธศักราช 2477 เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสาม1 เป็นในกรณีที่ผู้ถูกจับไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวและมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนหรือการฟ้องคดีให้นำตัวผู้ถูกจับไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้นั้นถูกจับ ...” (ตัดข้อความต่อไปนี้ออกถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83” คงเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ... หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ไว้)

       3. หารือกับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว .. 2553 เพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว .. 2553 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง เป็นในกรณีที่พนักงานสอบสวนได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ ให้พนักงานสอบสวนนำตัวเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมทันทีภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับและให้ตัดข้อความต่อไปนี้ออกแต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนมาศาลเข้าในกำหนดเวลายี่สิบสีชั่วโมงนั้นด้วย

 

 

 

       1. ประเด็นที่ 1 (ข้อเสนอแนะของ กสม. ตามข้อ 1) การยกเลิกอำนาจการควบคุมตัวผู้ถูกจับในคดียาเสพติดไว้เพื่อสืบสวนสอบสวนได้เป็นเวลาไม่เกิน 3 วัน ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด .. 2550 โดยยกเลิกมาตรา 11/6 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด .. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) .. 2564 โดยให้ใช้วิธีสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

       2. ประเด็นที่ 2 (ข้อเสนอแนะของ กสม. ตามข้อ 2 และ 3) การแก้ไขการเริ่มนับระยะเวลาที่จะต้องนำตัวผู้ถูกจับกุมไปพบศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับกุมที่จะได้พบศาลโดยพลัน โดยแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสาม และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว .. 2553 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง

       หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องยกเลิกมาตราดังกล่าวในประเด็นที่ 1 และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวในประเด็นที่ 2 โดยมีข้อเสนอแนะว่า

       1. ควรให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตระหนักและให้ความสำคัญกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย .. 2565 ซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

       2. ควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวนโดยเปลี่ยนจากการสอบสวนที่ใช้การพิมพ์ไปสู่ระบบการบันทึกภาพและเสียงเพื่อช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจส่งผลให้มีการปรับลดระยะเวลาในการควบคุมตัวในอนาคตต่อไป

       3. ควรให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย .. 2562 เพื่อพิจารณาว่ามาตราดังกล่าวยังคงมีความจำเป็นอยู่หรือไม่

______________________

1 มาตรา 87 วรรคสาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติให้ในกรณีที่ผู้ถูกจับไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว และมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนหรือการฟ้องคดี ให้นำตัวผู้ถูกจับไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับถูกนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ โดยให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้ ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ และศาลอาจเรียกพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมาชี้แจงเหตุจำเป็น หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 2 มกราคม 2567

 

 

1025

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!