WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

Gov 04

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2566 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้ 

          สาระสำคัญ

          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของสินค้าส่งออกในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เครื่องปรับอากาศ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลแช่เย็น รองลงมาเป็นกลุ่มสินค้ารถยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า อาหารสัตว์สำเร็จรูป บรรจุภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนตุลาคม 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ 

          1. รถยนต์ หดตัวร้อยละ 7.43 จากรถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดเล็กเป็นหลัก ตามการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ผลจากความเปราะบางด้านรายได้และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์เนื่องจากรอโปรโมชั่นและส่วนลดในงาน Motor Expo 2023 ในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 11 ธันวาคม 2566 

          2. ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 17.48 จากทิศทางของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่องชะลอคำสั่งซื้อหรือปรับแผนการลงทุน 

          3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง หดตัวร้อยละ 32.89 จาก Hard Disk Drive และ Printer ตามความต้องการใช้งานที่ลดลงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนตุลาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 

          1. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 22.48 จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แก๊สโซฮอล์ 95 แก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันเครื่องบินเป็นหลัก เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นของผู้ผลิตบางราย และจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง 

          2. พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น ขยายตัวร้อยละ 12.49 จาก Polyethylene resin, Ethylene, Propylene และ Toluene เป็นหลัก เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดซ่อมบำรุงต่อเนื่องและความต้องการของลูกค้าลดลง 

          สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ปี 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) คาดว่าจะลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานในวงกว้าง ตลอดจนราคาพลังงานและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงทำให้การบริโภคและการลงทุนลดลง ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ชะลอตัวในปี 2566 อาทิ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ภาวะการผลิตปรับตัวลดลงในสินค้า Hard Disk Drive และ Printer เป็นหลัก จากการที่ผู้ผลิตปรับลดแผนการผลิตจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ด้วยผลกระทบจาก ภาวะเศรษฐกิจโลก ส่วน Printer ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากได้รับคำสั่งให้ผลิตสินค้าแทนสาขาเวียดนามที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ เฟอร์นิเจอร์ ภาวะการผลิตลดลงจากสินค้าเครื่องเรือนทำด้วยไม้และเครื่องเรือนทำด้วยโลหะ เป็นหลัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้หลายบริษัทได้รับคำสั่งซื้อลดลง เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ภาวะการผลิตลดลงจากเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่นรีดเย็น และ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เป็นหลัก โดยลูกค้าปรับลดคำสั่งซื้อเพื่อรอดูทิศทางราคาเหล็ก ตลอดจนมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศมากขึ้น สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในปี 2566 อาทิ ยานยนต์ ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากรถยนต์นั่งขนาดเล็ก และรถยนต์นั่งขนาดกลาง เป็นหลัก ตามตลาดส่งออกที่ขยายตัว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันเครื่องบิน เป็นหลัก เป็นผลจากกิจกรรมการเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้น น้ำตาล เพิ่มขึ้นจากน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เป็นหลัก เป็นไปตามความต้องการบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก 

          แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2567 ประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.0 – 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุน (1) การค้าระหว่างประเทศของไทยกับคู่ค้าหลักมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว (2) ประเทศเศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (3) ภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการยังคงมีทิศทางขยายตัว (4) การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง (5) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาค่าครองชีพของภาครัฐ ที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจัยเฝ้าระวัง โดยที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวยาวนานและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเป็นวงกว้าง อีกทั้ง ต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพ หนี้สินภาคธุรกิจและครัวเรือนอยู่ในระดับสูง เนื่องจากระดับราคาพลังงาน อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงอาจเป็นปัจจัยกดดันภาคการผลิตและกำลังซื้อผู้บริโภค นอกจากนี้ ความผันผวนของค่าเงินและปรากฏการณ์เอลนีโญ ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามในระยะต่อไปได้ 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 9 มกราคม 2567

 

 

1185

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

SME 720x100 66

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!