WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน

Gov 38

รายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานของส่วนราชการ ประจำเดือนเมษายน – กันยายน 2566 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ 

          สาระสำคัญ

          สปน. ได้รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงานโครงการจิตอาสาพระราชทานโดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญประจำเดือนเมษายน-กันยายน 2566 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566) โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว 7,080,217 คน จำแนกตามพื้นที่ (ภูมิลำเนา) เป็นกรุงเทพมหานคร 466,202 คน และส่วนภูมิภาค 6,614,015 คน โดยแบ่งออกเป็น เพศชาย 3,184,695 คน เพศหญิง 3,895,522 คน

          2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่างๆ (20 หน่วยงาน) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 4,022,309 คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา 904 สรุปได้ ดังนี้

 

การดำนินการ/กิจกรรม

 

ส่วนราชการ

จำนวน (ครั้ง)

(1) จิตอาสาพัฒนา เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์และทำความสะอาดศาสนสถาน โรงเรียน ชุมชน สถานที่สาธารณะ การบริจาคโลหิตและหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ การมอบสิ่งของให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง คนพิการ และผู้สูงอายุ การพัฒนาแหล่งน้ำปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ การรณรงค์ให้ความรู้และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน และบริการประชาชน

 

กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.)

55,424

(2) จิตอาสาภัยพิบัติ เช่น การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยและวาตภัย (มอบถุงยังชีพบริจาคสิ่งของ น้ำดื่ม ติดตั้งเครื่อง สูบน้ำและทำความสะอาดพื้นที่) การทำฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าต้นไม้

 

กห. พม. ทส. มท. วธ. สธ. และ ตช.

7,599

(3) จิตอาสาเฉพาะกิจ เช่น การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จ พระบรมว่งศานุวงศ์ การจัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญ การทำกิจกรรมถวายเป็นพระราชกุศล

 

กห. กต. กก. กษ. ทส. มท. ยธ. รง. และ วธ.

1,809

(4) วิทยากรจิตอาสา 904 โดยเป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และกิจกรรมจิตอาสา สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจ

 

กห. พม. ทส. ยธ. วธ. ศธ. สธ. อก. ตช. และ กปส.

72

 

          3. สปน. ได้ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) โดยการลงพื้นที่และรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

              3.1 เข้าร่วมการประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับ ศอญ. จอส. พระราชทาน พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 17 ครั้ง ประกอบด้วย (1) รับทราบสถานการณ์ในภาพรวม เช่น สภาพอากาศ สาธารณภัยที่สำคัญ สถานการณ์แผ่นดินไหวสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 เหตุระเบิดภายในโรงเก็บประทัดพื้นที่บ้าน มูโนะ การเตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือประชาชนที่เกิดเหตุอุทกภัย การดำเนินงานโครงการที่สำคัญ และกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ภารกิจจิตอาสาผ่านช่องทางต่างๆ และ (2) รายงานผลการดำเนินการกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การลงพื้นที่ การจัดกิจกรรมและการประสานหน่วยงานสนับสนุนข้าราชการปฏิบัติงาน ณ ศอญ. จอส. พระราชทานและขอความร่วมมือหน่วยงานจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมงานจิตอาสาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย (TIKTOK) 

              3.2 ลงพื้นที่ติดตามความต่อเนื่องของโครงการจิตอาสาพระราชทาน เช่น

                    (1) การพัฒนาพื้นที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ในประเด็นสำคัญ เช่น โครงการ โซล่าร์ฟาร์ม โครงการพัฒนาบ่อน้ำบาดาล โครงการก่อสร้างธนาคารน้ำ และโครงการพัฒนาน้ำอุปโภคและบริโภค โดยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐบูรณาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำจากภาคเอกชน การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การจัดทำแผนบำรุงรักษาอาคารสถานที่ ตลอดจนอุปกรณ์ที่จำเป็นในพื้นที่เกาะสีชัง เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกันในทุกภาคส่วน

                    (2) การพัฒนาคลองแสนแสบ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน (งานติดตั้งโคมไฟริมคลองแสนแสบแล้วเสร็จ จำนวน 151 โคม งานปรับเชิงลาดสะพานแล้วเสร็จ จำนวน 8 แห่ง) การจัดกิจกรรมพัฒนาฟื้นฟูคลองแสนแสบ (จัดการขยะอย่างเร่งด่วน ปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลอง ซ่อมแซมทางเดินเท้า และปลูกต้นไม้ริมคลอง) การแก้ไขปัญหามลภาวะและคุณภาพน้ำ (ติดตั้งถังดักไขมันระดับครัวเรือน จำนวน 1,502 ถัง) โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์และพื้นฟูสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนกำหนดเส้นทางท่องเที่ยว เชื่อมต่อระหว่างคลองโอ่งอ่าง คลองบางลำพู คลองหลอด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน

                    (3) โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 105,120 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และส่งน้ำผ่านระบบท่อกระจายน้ำครอบคลุมพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเกาะแกง บ้านบางพลอย และบ้านเกาะนางทอง ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 529 ครัวเรือน (1,828 คน)

                    (4) โครงการพัฒนาคลองเปรมประชากรตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร กรุงเทพมหานคร ดำเนินการได้ จำนวน 1,318 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 20.64 โดยรังวัดที่ดินจัดให้เช่าแล้ว 17 สหกรณ์ (20 ชุมชน) รื้อย้ายบ้านและปรับระบบสาธารณูปโภค จำนวน 1,121 หลัง และก่อสร้างบ้าน จำนวน 1,317 ครัวเรือน

                    (5) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร และโครงการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ การจัดทำแก้มลิงรับน้ำและการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายในบึงและการประสานความร่วมมือภาคเอกชนในการพัฒนา

                    (6) การพัฒนาสระบ่อดินขาว ณ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมกันบูรณาการพัฒนาพื้นที่โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและปรับปรุงข้อมูลพื้นฐาน แผนการพัฒนาผลการดำเนินการโครงการให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งให้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ Bio Circular Green Economy และส่งเสริมการประกอบอาชีพอื่นๆ นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม

              3.3 จัดกิจกรรมและสนับสนุนการดำเนินงานจิตอาสา เช่น บรรยายให้ความรู้และ ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) กิจกรรมศูนย์อาชีวะช่วยประชาชน (Fix it Center) ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงสู่ทะเล จำนวน 200,000 ตัว การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนการติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 จำนวน 20 กระทรวง 3 กรม เข้าร่วมโครงการเพื่อซักซ้อมและทำความเข้าใจ การรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมจิตอาสาผ่านระบบ OPM e-form ให้แก่ส่วนราชการเพื่อนำมาพัฒนาระบบการรายงานผลกิจกรรมจิตอาสาต่อไป

              ทั้งนี้ สปน. จะได้ประสานการดำเนินการในการจัดกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมซน สังคม และประเทศชาติโดยรวมอย่างต่อเนื่องต่อไป 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 9 มกราคม 2567

 

 

1186

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!