WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างปฏิญญาร่วมแสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการศึกษาและวิจัยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

Gov ภูมิธรรม01

ร่างปฏิญญาร่วมแสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการศึกษาและวิจัยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอดังนี้

          1. เห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมแสดงเจตจำนงระหว่าง อว. แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการศึกษาและวิจัยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ร่างปฏิญญาร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ อว. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้นๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้ลงนามในร่างปฏิญญาร่วมฯ

(จะมีการลงนามปฏิญญาร่วมฯ ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2567)

          สาระสำคัญของเรื่อง

          อว. รายงานว่า

          1. อว. และกระทรวงศึกษาและวิจัยแห่งเยอรมนีได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการจัดทำร่างปฏิญญาร่วมฯ เพื่อเป็นการยกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระหว่างกันให้มีทิศทางและความสอดคล้องกับประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย โดยได้มีการประสานงานระหว่างกันอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับแก้ร่างปฏิญญาร่วมฯ จนได้ข้อสรุปร่วมกัน และจะมีการลงนามปฏิญญาร่วมฯ ในช่วงการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีเยอรมนี ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2567

          2. ร่างปฏิญญาร่วมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

(1) วัตถุประสงค์

 

เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงร่วมกันในการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในฐานะกลไลสำคัญสำหรับการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และเป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระหว่างกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เสรีภาพทางวิชาการและผลประโยชน์ร่วมกัน

(2) สาขาความร่วมมือ

 

ไม่จำกัดสาขาความร่วมมือ โดยหัวข้อในแต่ละสาขาความร่วมมือจะเป็นไปตามความสนใจร่วมกันของทั้งสองฝ่ายซึ่งจะกำหนดผ่านการประชุมและข้อตกลงในภายหลัง

(3) กิจกรรมความร่วมมือ

 

ครอบคลุมใน 10 กิจกรรม ได้แก่

1) การประกาศรับข้อเสนอร่วมกันสำหรับโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

2) การส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ โดยฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่าย

3) การจัดประชุม สัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ ประชุมวิชาการและนิทรรศการร่วมด้านวิทยาศาสตร์

4) การส่งเสริมให้นักวิจัยจากสถาบันวิจัยในสองประเทศดำเนินความร่วมมือในโครงการวิจัยร่วม

5) การแลกเปลี่ยนข้อมูล วัสดุ และเอกสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6) การส่งเสริมให้นักศึกษาและสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาใช้ประโยชน์จากโครงการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือที่มีอยู่ รวมถึงใช้ประโยชน์จากโครงการแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนของนักศึกษาระหว่างไทยและเยอรมนีอย่างต่อเนื่อง

7) การสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยและเยอรมนี

8) การกำหนดรูปแบบอื่นๆ ของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกัน

9) การแลกเปลี่ยนข้อมูลกิจกรรม นโยบาย วิธีปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา

10) การสนับสนุนกิจกรรมขององค์การแลกเปลี่ยนวิชาการเยอรมัน1 (Deutscher Akademischer Austauschdienst: DAAD) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในฐานะสถาบันทางวิทยาศาสตร์ตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม .. 1983 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเยอรมนี

(4) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

 

ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมให้นักวิจัยที่เข้าร่วมของทั้งสองประเทศทำสัญญาเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปกป้องและการแบ่งสรรสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากกิจกรรมภายใต้ปฏิญญาร่วมฯ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสัญญาดังกล่าวควรสอดคล้องกับกฎหมายและวิธีปฏิบัติของแต่ละประเทศ

(5) การดำเนินการและงบประมาณ

 

ทั้งสองฝ่ายจะถ่ายทอดการสนับสนุนและการสร้างมาตรการในแต่ละสาขาความร่วมมือแก่ภาคีที่สาม เช่น หน่วยงานที่บริหารโครงการ องค์กรทางวิทยาศาสตร์หรือองค์กรสนับสนุนงบประมาณ ทั้งนี้ สามารถจัดทำร่างความตกลงว่าด้วยการดำเนินโครงการ โดยกำหนดสาขาความร่วมมือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตาม รวมถึงข้อตกลงด้านงบประมาณ และเรื่องอื่นๆ ที่เหมาะสมโดยการสนับสนุนงบประมาณของกิจกรรมตามปฏิญญาร่วมฯ อาจจะสร้างเป็นข้อตกลงแยกต่างหากหรือการประกาศทุนสนับสนุน ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะแก้ไขข้อขัดแย้งใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามปฏิญญาร่วมฯ ฉบับนี้โดยการปรึกษาหารือกันฉันมิตร

(6) การแก้ไข

 

แก้ไขเมื่อใดก็ได้โดยความยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรของทั้งสองฝ่าย

(7) การยุติความร่วมมือ

 

อาจยุติลงเมื่อใดก็ได้โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หากเป็นไปได้ควรแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหกเดือนเกี่ยวกับการยุติดังกล่าว และหารือกันเพื่อจัดการกับเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

(8) ระยะเวลาและวันที่มีผลใช้บังคับ

 

มีผลใช้บังคับในวันที่ลงนาม

 

_____________________

1 องค์การแลกเปลี่ยนวิชาการเยอรมัน (DAAD) หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า German Academic Exchange Service คือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านทุนการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและวิจัย และการส่งสริมโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างไทยและเยอรมนี

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย (รองนายกรัฐมนตรี) 16 มกราคม 2567

 

 

1375

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!